วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ประชาธิปไตยแบบดิจิตอลคืออะไร? What is Digital Democracy?


ประชาธิปไตยแบบดิจิตอลคืออะไร?
What is Digital Democracy?
            จุดมุ่งหมายของหนังสือเล่มนี้ก็คือพูดถึงว่า ทำไม อินเทอร์เน็ต เวิร์ลไวด์เว็บ และการสื่อสารการเมืองผ่านทางสื่อคอมพิวเตอร์นั้น  ส่งผลกระทบต่อประชาธิปไตยอย่างไร  มุ่งเน้นในหลากหลายทฤษฎีและปัญหาข้อมูลที่เกิดขึ้นจริง  ที่เกี่ยวข้องกับประชาธิปไตยแบบดิจิตอล
            ประชาธิปไตยแบบดิจิตอล ก็คือการใช้ข้อมูลหรือการสื่อสารสนเทศทางเทคโนโลยี(
ICT)และการสื่อสารทางคอมพิวเตอร์(CMC)  เพื่อเพิ่มความมีส่วนร่วมในการสื่อสารด้านประชาธิปไตยของประชาชน  โดยในหนังสือเล่มนี้จะพบกับการสื่อสารมากมายของนักวิทยาศาสตร์ที่พุ่งตรงไปในปัญหาเรื่องทฤษฎี  ประชาธิปไตยดิจิตอล  การฝึกปฏิบัติและความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารทางคอมพิวเตอร์และการสื่อสารสนเทศทางเทคโนโลยี  ที่เกี่ยวข้องกับประชาธิปไตย
            เราใช้คำว่า ประชาธิปไตยดิจิตอลเพื่อจะได้สัมพันธ์กับการสื่อสารสนเทศทางเทคโนโลยีและการสื่อสารทางคอมพิวเตอร์  โดยได้ให้ความหมายของประชาธิปไตยดิจิตอล คือชุดสะสมของความตั้งใจที่จะฝึกปฏิบัติทางประชาธิปไตย  โดยไม่มีกำหนดเวลา  สถานที่  และสภาพทางร่างกายต่างๆ โดยใช้การสื่อสารสนเทศทางเทคโนโลยีและการสื่อสารทางคอมพิวเตอร์แทน  แต่ก็ยังไม่ถึงกับเป็นการแทนที่ระบบประชาธิปไตยอนาล็อกโดยสิ้นเชิง
            แนวคิดของประชาธิปไตยดิจิตอล  ทำให้ทิ้งแนวความคิดเดิม(ประชาธิปไตยอนาล็อก)  คำว่า “ประชาธิปไตยแท้จริง” บอกถึงว่าประชาธิปไตยแบบการสื่อสารทางคอมพิวเตอร์นั้นเป็นสื่อที่รวมหลากหลายรูปแบบของประชาธิปไตย  เพื่อเป็นการเปรียบเทียบกัน  ในหนังสือเล่มนี้จะมีการพิสูจน์ให้เห็นถึงผลลัพธ์ของการฝึกปฏิบัติประชาธิปไตย  ผ่านทางประชาธิปไตยแบบดิจิตอล  ซึ่งผสมผสานโดยผ่านสื่อการสื่อสารสนเทศทางเทคโนโลยีและการสื่อสารทางคอมพิวเตอร์  สื่อสารกันโดยเห็นหน้าตากัน  คำว่า “เทเลดิโมเครซี่” การสื่อสารโดยการพูดคุย ซึ่งได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับประชาธิปไตยโดยการสนับสนุนของ  รอส เพอร์รอท  , อัลวิน ท็อฟเฟอร์ และคนอื่นๆ  โดยในหนังสือเล่มนี้จะได้เห็นความผสมผสานระหว่างประชาธิปไตยโดยตรงหรือโดยผู้แทน
            คำว่า “อิเล็กทรอนิก ดิโมเครซี่” นั้นเป็นการใช้คำที่กว้างไป  เพราะยังมีโปรแกรมอื่นๆ ที่เผยแพร่และพูดคุยอีกมากมาย  ที่เป็นอิเล็กทรอนิกเช่นเดียวกัน  ส่วนคำว่า “ไซเบอร์ ดิโมเครซี่”เป็นสื่อที่หละหลวมและคลุมเครือมากที่สุด
            แน่นอนว่ามีการคาดหมายและการเรียกร้องในสื่อใหม่ๆ  ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา ในปี ค.ศ.
1992 โธมัส เอดิสัน  กล่าวว่า รูปภาพการเคลื่อนไหวนั้นจะมาแทนที่หนังสือเรียนในโรงเรียนต่างๆ  ต่อมา แซมอล มอร์ส  ผู้คิดค้นโทรเลขได้คาดเดาไว้ว่า  ความสันติสุขของโลก จะเป็นผลมาจากการคิดค้นของเขา  เจ.ลิคไลเดอร์ผู้ออกแบบ คีย์ เอพีอาร์ เอเน็ต  ทำนายล่วงหน้าว่าอะไรที่กลายมาเป็นอินเทอร์เน็ตนั้น  จะเป็นเครื่องมือสู่สันติสุขของโลก  ผู้ท่องอินเทอร์เน็ตบางคนก็กล่าวว่า วิทยุ จะเป็นเหมือนกับมหาวิทยาลัยที่ไม่มีกำแพงในช่วงยุค1970-1980 เคเบิ้ล ทีวีนั้นได้กล่าวถึงการปฏิวัติทางการศึกษาหลายครั้งโดยใช้ระบบของพวกเขา  ซึ่งที่กล่าวมาเล่านี้เป็นการพูดซึ่งไม่สนใจกับความเป็นจริง  ที่ว่าเทคโนโลยีนั้นจะหมายถึงการสื่อสารมากกว่าการแทนที่  ซึ่งต้องดำเนินต่อไปเรื่อยๆ
            เราจะพูดถึงการหลอกลวงและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้กับประชาธิปไตย  ซึ่งอาจจะตามมาด้วยการยกระดับประชาธิปไตยโดยไม่ต้องอาศัยแรงมาก  โดยสัมพันธ์กับประชาธิปไตยแบบดิจิตอล  ซึ่งเรียกว่า “ประชาธิปไตยออร์แกนิค”  ถึงอย่างไรก็ตามก็ยังบ่งชี้โดยชัดเจนถึงการสื่อสารสนเทศทางเทคโนโลยีและการสื่อสารทางคอมพิวเตอร์นั้นสามารถช่วยโปรโมทประชาธิปไตยได้ที่ไหนและมีรูปแบบและขั้นตอนของประชาธิปไตยแบบดิจิตอลอย่างไร  เช่น จอร์น คีน  ถกเถียงว่า สื่อสารทางการเมืองในรูปแบบกลุ่มส่วนน้อยมีผลที่ดีต่อระบบการเมืองประชาธิปไตย
            เทรีซา  แอร์ริสัน , ทิโมธี สตีเฟ่น และลิซ่า ฟัลวี(ค.ศ.
1999) ได้ทำการสำรวจที่น่าสนใจอย่างหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวกับนักวิทยาศาสตร์ด้านการสื่อสาร  ได้ทำการสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีการสื่อสารกับประชาธิปไตยด้วยวิธีอะไร  และได้ถกเถียงกันว่ามีการเรียกร้องมากกว่าการทำวิจัย  รวมไปถึงการประเมินค่าความต้องการของประชาธิปไตยแบบดิจิตอล  ซึ่งนักทฤษฎีเน้นถึงการออกแบบและขั้นตอนของการสื่อสารสนเทศทางเทคโนโลยีให้มีส่วนร่วมกับประชาธิปไตยเช่นเดียวกับการแสดงถึงการฝึกปฏิบัติทางการสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับประชาธิปไตย
            ริชาร์ด เดวิสและไดอาน่า โอเว่น(ค.ศ.
1998) ให้ความเห็นว่าผลกระทบของการเมืองของสื่อการสื่อสารสนเทศทางเทคโนโลยีและรูปแบบใหม่ต่างๆนั้น ไปรวมเข้ากับผลกำไรและอุปสรรคต่างๆ  ผู้ใช้การสื่อสารสนเทศทางเทคโนโลยี  สามารถรวบรวมข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวกับการเมืองและรัฐบาลได้ง่ายขึ้น  อีกทั้งยังสามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มการสนทนาเกี่ยวกับกิจกรรมการเมืองต่างๆ  กับผู้คนอื่นๆ  ประชาชนสามารถติดตามการบัญญัติกฎหมายโดยเข้าผ่านtrascriptของคณะกรรมการ  วิจัยเกี่ยวกับสถิติของการเลือกตั้ง  การหาเสียงและนโยบาย  ซึ่งง่ายกว่าการสืบค้นเอง  เดวิดและโอเว่น เห็นตรงกันว่าวิธีนี้เป็นวิธีที่ดี  แต่มันอาจจะไม่เป็นประชาธิปไตยโดยตรงหรือเปล่า  เพราะระบอบประชาธิปไตยแบบดิจิตอลอาจเข้าใจอยากและละเอียดซับซ้อนในวิธีการนำเสนอ  ทั้งคู่กลัวการสนับสนุน เทเลดิโมเครซี่  กล่าวว่า เพียงกดแป้นคีย์บอร์ดความคิดเห็น  สามารถแสดงและสื่อสารได้ทั่วโลก  แต่การตอบสนองอย่างต่อเนื่องแบบนี้ไม่น่าเป็นทางออกของนโยบายสาธารณะ  ในขณะที่ความคิดเห็นมาจากผู้แต่งของเรา  ซึ่งก็มีความแตกต่างทางด้านความคิดทางประชาธิปไตย
            เราสามารถพบเจอกับปัญหาที่มีประโยชน์  วิธีและความหลากหลายของการสื่อสารสนเทศทางเทคโนโลยีและการสื่อสารทางคอมพิวเตอร์  ส่งผลต่อประชาธิปไตยอย่างไร  เราสามารถถาม คำถามสำคัญๆ  อย่างเช่น การเข้าถึงเอกสารของราชการอย่างอิสระนั้น  สามารถเพิ่มความมีอำนาจของประชาชนได้หรือเปล่า  แล้วมันเกิดขึ้นได้อย่างไร  แต่ก็เป็นที่ถกเถียงกันว่า ถ้าอินเทอร์เน็ตกลายมาเป็นอีกช่องทางหนึ่งของคนที่มีประสบการณ์หรือความรู้มากในเรื่องการเมืองอยู่แล้ว จะทำให้เพิ่มความเป็นประชาธิปไตยเพียงนิดเดียว
            มีการเพิ่มความสนใจมากขึ้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีการสื่อสารทางการเมือง  เช่น อินเทอร์เน็ตและเวิร์ลไวด์เว็บ  ไม่ว่าจะเห็นเป็นเทคโนโลยีรูปแบบใหม่ในการทำงานหรือใช้ทั่วไปที่ต่อต้านประชาธิปไตย  นักวิชาการส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกันว่า  การสื่อสารและการสื่อสารทางการเมืองนั้นกำลังเปลี่ยนไป  ซึ่งสัมพันธ์กับการสื่อสารรูปแบบใหม่ๆ  ที่ออกมาทุกวันนี้  ผู้ใช้บางคนเชื่อว่าการสื่อสารในรูปแบบใหม่นี้เป็นประชาธิปไตยที่ฟื้นฟูขึ้นมาและคนอื่นๆมองว่าเป็นความอันตราย
            ผลกระทบของการสื่อสารสนเทศทางเทคโนโลยี(
ICT)และสื่อสารทางคอมพิวเตอร์(CMC)ต่อประชาธิปไตย  การสื่อสารสนเทศทางเทคโนโลยี(ICT)เพิ่มมาตราส่วนและความเร็วในการจัดหาข้อมูล  สิ่งนี้ช่วยให้ประชาชนรู้มากขึ้น  การมีส่วนร่วมทางการเมืองนั้นง่ายขึ้นและลดการมีอุปสรรค  ความไม่สนใจ  ความอาย พิการ(ไร้ความสามารถ)  เวลาและอีกมากมาย  การสื่อสารทางคอมพิวเตอร์(CMC)สร้างสรรค์วิธีการต่างๆ  ในการจัดการหัวข้อเรื่องโดยเฉพาะเจาะจง  เป็นกลุ่มสำหรับปรึกษาหารือ  การจัดจำหน่ายในราคาถูก  อินเทอร์เน็ตทำให้สามารถเข้าไปใช้การสื่อสารทางการเมืองโดยไม่เสียเงินจากการแทรกแซงของรัฐ  เพิ่มการเผยแพร่การสื่อสารทางการเมือง  ประชาชนมีส่วนในการผลักดันร่างหรือการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติของรัฐบาล  เป็นสื่อที่ได้รับข้อมูลข่าวสารโดยตรงไม่บิดเบือน  จากความเป็นจริง  การเมืองจะได้รับการโต้ตอบอย่างโดยตรงจากประชาชนโดยผ่านสื่อการสื่อสารสนเทศทางเทคโนโลยี(ICT)และสื่อสารทางคอมพิวเตอร์(CMC)  ทำให้เกิดการวิจัยการตลาดที่สัมพันธ์เชื่อมโยงกับการเมืองรูปแบบใหม่  โปรแกรมการสื่อสารสนเทศทางเทคโนโลยี(ICT)และสื่อสารทางคอมพิวเตอร์(CMC)นั้น  ช่วยแก้ไขปัญหาของผู้แทนทางด้านประชาธิปไตยได้จริงหรือไม่  เช่น อาณาเขตของแต่ละเขตเลือกตั้ง
ด้วยสมมติฐาน
2 ข้อคือ
           
1.ทางด้านทฤษฎี
           
2.ทางด้านการฝึกปฏิบัติ
โดยเฉพาะปัญหาทางด้านทฤษฎีนั้นคือ ความคิดเห็นและคำจำกัดความของประชาธิปไตยอิเล็กทรอนิก
            หลักทฤษฎีของประชาธิปไตยดิจิตอลรูปแบบไหนที่เป็นที่ต้องการมากที่สุดและทำไม  จะเน้นไหมว่าประชาธิปไตยโดยตรงจะขัดแย้งกับพวกผู้ใหญ่ทางการเมืองหรือเปล่า  ระบบประชาธิปไตยโดยตรงนั้นจะมองเห็นภาพได้ชัดขึ้นไหมหรือว่าจะทำงานได้  เราจะมีสิทธิเท่าเทียมกับคนอื่นๆไหม  เมื่อเปรียบเทียบกับการเมืองแบบเก่า  การสื่อสารทางการเมืองทุกรูปแบบนั้นจะเป็นประชาธิปไตยหมดหรือไม่  เป้าหมายทางด้านผลประโยชน์การค้าจะมีผลกระทบต่อการส่งเสริมประชาธิปไตย  วิธีปัจจุบันทางอินเทอร์เน็ตในเรื่องของการขยายทางด้านความสนใจทางเศรษฐกิจและการตลาดควบคู่ไปกับการกระจายข้อมูลของรัฐบาลจะสนับสนุนหรือขัดแย้งกันจากข้อมูลที่มาจากทางรัฐบาลโดยตรงและเป็นไปในรูปแบบใด  ความไม่เท่าเทียมกันในสังคมจะมีผลต่อประชาธิปไตยในรูปแบบนี้อย่างไร  จะออกมาดีขึ้นหรือแย่ลง  จะยอมให้มันเป็นไปอย่างช้าๆหรือจะต้องใช้ความพยายามมากขึ้นจากรัฐบาลเพื่อให้มันขยายวงกว้างออกไปในอนาคต  จะมีวิธีทำอย่างไรที่ข้อมูลของรัฐบาลจะไปถึงประชาชนได้เร็วที่สุดที่เกี่ยวกับประชาธิปไตย  จะทำอย่างไรถ้าผู้คนไม่สนใจ  จะทำอย่างไรให้กรอบของการสนทนาเรื่องเกี่ยวกับการเมือง  เกี่ยวข้องกับประชาธิปไตยแบบดิจิตอลคนจะได้รู้กันมาก  ระบบนี้ประชาชนจะแน่ใจได้หรือไม่ว่าตนจะไม่ถูกละเมิดความเป็นส่วนตัวหรือไม่ทำผิดกับคนอื่น  จะทำอย่างไรที่จะลดความได้เปรียบเสียเปรียบของแต่ละคนที่ไม่เคยเข้าร่วมมาก่อน  คนที่มีฐานะต่างกันในสังคมจะทำอย่างไรถึงจะให้ได้รับประโยชน์หรือเสียประโยชน์เท่ากันได้  สิ่งที่สำคัญที่สุดคือจะทำอย่างไร  ดิจิตอลไม่ใช่การแสดงความคิดเห็นกัน  แต่จะทำอย่างไรให้รัฐบาลเอาไปใช้ตัดสินใจได้  แน่นอนเลยว่า  นี่เป็นรายการคำถามที่ยาวมาก  ซึ่งคุณจะไม่พบคำตอบของคำถามเหล่านี้  ในหนังสือเล่มนี้  แต่คุณจะได้ความคิดและรายงานเกี่ยวกับวิจัย  ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจมากขึ้น
            บทนำและประวัติ-ทฤษฎีและสรุป
คำอธิบายถึงประวัติของวิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต  ซึ่งเปรียบเหมือนกับระบบการสื่อสารที่มีขนาดใหญ่  อีกทั้งยังเน้นถึงวิสัยทัศน์และการค้นพบโดยบังเอิญของผู้ที่ริเริ่มอินเทอร์เน็ต  ความสัมพันธ์เกิดขึ้นระหว่างการค้นพบเหล่านี้กับการสื่อสารทางประชาธิปไตยในรูปแบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพ
            ภาพแรกของการใช้อินเทอร์เน็ตคือช่วยในการสื่อสารระหว่างผู้นำของแต่ละชาติในทางที่จะทำให้รูปแบบทางความคิด  ในการแก้ไขวิกฤติต่างๆนั้นง่ายขึ้น
           
เจน แวน ดิส อธิบายถึงคำจำกัดความของประชาธิปไตยดิจิตอลที่ได้กล่าวถึงไปแล้ว  โอกาสและขีดจำกัดของประชาธิปไตยดิจิตอล  ซึ่งหลายคนและพรรคการเมืองในสังคมตีความกันนั้นขึ้นอยู่กับความคิดเห็นหรือกรอบของประชาธิปไตย  แวน ดิส ได้แบ่งประชาธิปไตยออกเป็น 6 ประการส่วนใหญ่ก็ขึ้นมาจากนักรัฐศาสตร์ชาวอังกฤษ  เดวิด เฮล์ด  นักกฎหมาย,การแข่งขัน,นักพหุนิยม,ประชามติ,การมีส่วนร่วม และนักเสรีนิยมทางประชาธิปไตย  เขาแสดงให้เห็นถึงว่า ผู้สนับสนุนความคิดเห็นเหล่านี้  เน้นถึงข้อดีและข้อเสียของการใช้สื่อใหม่ทางด้านการเมืองและเลือกโปรแกรมโปรดของพวกเขาอย่างไร  ซึ่งข้อความของโปรแกรมเหล่านี้คือระบบการเมืองที่จะบันทึกลงในระบบของรูปแบบทางการเมืองที่สร้างสรรค์  ในทางสังคมตะวันตกและตะวันออก  บทบาทหลักสำคัญก็คือรัฐบาล,รัฐประศาสนศาสตร์การบริหารรัฐกิจ,พรรคการเมือง,สถาบันสาธารณะ,องค์กรประชาชน,บริษัทเอกชน,สถาบันทางกฎหมายและองค์กรระหว่างประเทศ  ซึ่งเส้นทางการสื่อสารระหว่างบทบาทเหล่านี้  จะถูกปรับเปลี่ยนโดยการใช้การสื่อสารสนเทศทางเทคโนโลยี(ICT)และสื่อสารทางคอมพิวเตอร์(CMC)
            ภายหลังต่อมารูปแบบของการสื่อสารระหว่างความสัมพันธ์ของบทบาทที่กล่าวมานั้น จะเปลี่ยนแปลงไปด้วยการใช้การสื่อสารสนเทศทางเทคโนโลยี(
ICT)และสื่อสารทางคอมพิวเตอร์(CMC)  คนส่วนใหญ่คิดว่า ประชาธิปไตยดิจิตอล หมายถึงการพูดคุยทางการเมือง ซึ่งก็ถูก  แต่อย่างไรก็ตามจริงๆแล้ว การพูดคุยสื่อสารทางการเมืองนั้นหมายถึงอะไรกันแน่ แวน ดิส แบ่งการสื่อสารออกเป็น 4 รูปแบบ ซึ่งมีความหมายแตกต่างกัน  สื่อสารแบบการกระจายเสียง,การปรึกษาหารือ,ลงทะเบียนและบทสนทนา
            การสื่อสารประเภทไหนที่จะยังคงมีอยู่ในอนาคต  การโฆษณาทางการเมืองผ่านการพูดคุยทางทีวี  ข้อมูลความคืบหน้าทางการเมืองผ่านอินเทอร์เน็ต  ระบบการโหวตทางสายโทรศัพท์หรือการโต้วาทีสาธารณะผ่านทางอินเทอร์เน็ตหรือสื่อใหม่อื่นๆ
           
โดย มาร์ติน ฮาเกน เน้นปัญหาของประชาธิปไตยดิจิตอล  จากการเปรียบเทียบมุมมองความคิดเห็น  นำเสนอบทวิเคราะห์ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประชาธิปไตยดิจิตอลนั้น  ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมทางการเมืองอย่างมาก  ซึ่งวัฒนธรรมทางการเมืองและสถาบันเฉพาะการเมืองของเยอรมัน  อังกฤษ  และอเมริกัน  ได้สร้างพื้นฐานสำคัญที่ต่างกันและโปรแกรมที่นิยมของประชาธิปไตยดิจิตอลขึ้น  ความแตกต่างกันของวัฒนธรรมทางการเมืองและระบบต้องการการดูแลพิเศษในการคิดค้น  ประชาธิปไตยดิจิตอล  สำหรับแบบการปกครองที่เฉพาะเจาะจงลงไป  ซึ่งเป็นความจริงเมื่อมีความพยายามที่จะยืมกรอบทางประชาธิปไตยดิจิตอลของอเมริกันมาใช้ในประเทศอื่นๆ  ในบทของ เฮเกน ได้ชี้เอาความแตกต่างที่เห็นได้ชัด  ในวิธีการของแต่ละชาติและสามารถเรียนรู้ถึงประชาธิปไตยดิจิตอลได้มากขึ้น  โดยการเปรียบเทียบการศึกษาได้อย่างไร
           
โดย จอร์น  คีน เขาพูดว่าชีวิตสาธารณะในทุกวันนี้  ปรากฏในพื้นที่สาธารณะที่เชื่อมต่อกัน เช่น อินเทอร์เน็ต  เขายังพูดถึงอีกว่าพื้นที่สาธารณะหนึ่งเดียวกันนั้นล้าสมัย เพราะการสื่อสารผ่านทางไทเบอร์ สเปซ  หรือระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ติดต่อสื่อสารกัน  ไม่มีจำกัดในทางอาณาเขตทางธรรมชาติหรือของรัฐและเขาก็มองว่าการสื่อสารทางคอมพิวเตอร์(CMC) เป็นเหมือนกับยุคใหม่  ซึ่งอิทธิพลอำนาจของสื่อส่วนใหญ่อย่างทีวีและวิทยุนั้นจะหมดลง  ซึ่งในบทนี้อธิบายถึงระดับของพื้นที่สาธารณะเป็น 3 ระดับคือ เล็ก  กลาง  ใหญ่  ซึ่งอธิบายอีกว่าพื้นที่สาธารณะขนาดเล็ก  ประสานกับการสื่อสารทางการเมืองสามารถเกิดขึ้นได้ไม่ว่าจะเป็นใน ร้านกาแฟ  การพบปะในเมือง  และพื้นที่อื่นๆ  เขาอธิบายว่าสังคมและการเมืองนั้น  ใช้การสื่อสารเป็นตัวขยายอำนาจและจำกัดพื้นที่ของตัวมันเอง  มากกว่าการกำหนดหลักการทางประชาธิปไตยขึ้นมา  เขาคาดว่าประชาธิปไตยดิจิตอลจะทำงานได้ดี  เมื่อฝ่ายค้านอนุญาตและส่งเสริมหรือกระตุ้นการสื่อสารทางประชาธิปไตยดิจิตอล
           
ซินิคคา แซสซี  ถกถึงกรอบของพื้นที่สาธารณะว่าเป็นเทคโนโลยีใหม่และการสนทนาในอนาคตที่ครอบคลุมการปกครองแบบประชาธิปไตยและสภาพความเป็นอยู่ของสังคมประชาชน  นักวิชาการหญิงมีเจตนาวิจารณ์ดารา  ส่วนที่ว่าการรวม  การแบ่งแยกระหว่างเรื่องสาธารณะและเรื่องส่วนตัวเข้าด้วยกัน  ซึ่งตอนหลังได้กำหนดใหม่ว่าพื้นที่สาธารณะนั้น  ประกอบไปด้วยพื้นที่สาธารณะหลากหลาย  ซึ่งรวมถึงแนวคิดที่น่าเชื่อถือและการประเมินค่าความแตกต่างในพื้นที่เหล่านี้
            แซสซี  คิดว่าความคิดเป็นคู่และไต่ถามถึงว่าความสัมพันธ์ระหว่างเครือข่าย  เธอต้องการที่จะรวมสองลักษณะและจุดประสงค์ของเครือข่ายนี้  ที่มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงเข้าด้วยกัน  แนวคิดหลักก็คือภาวะวิกฤติของความเป็นหนึ่งเดียว  กับการแบ่งแยก  ความเปลี่ยนแปลงขอบข่ายของความเป็นส่วนตัวและสาธารณะและการส่งผลต่อการเมือง
           
เคนเนธ แอล แฮคเกอร์  ผู้ซึ่งมองว่าสถานที่ตั้งของประชาธิปไตยดิจิตอลมีความสัมพันธ์กับการเมืองของอเมริกา  การบริหารงานของคลินตัน  “ข้อมูลเร่งด่วน”ว่าเป็นส่วนที่เพิ่มการมีส่วนร่วมทางการเมือง  ดังนั้นการประสบความสำเร็จและความล้มเหลวของพวกเขา  จึงเป็นเรื่องสำคัญในการไต่สวน  เมื่อพิจารณาถึงเรื่องของศักยภาพและความเสี่ยงของประชาธิปไตย
            ข้อมูลทางสังคมสงเคราะห์เกี่ยวกับเครือข่ายประชาธิปไตย อินเทอร์เน็ต  เวิร์ลไวด์เว็บ และระบบการสื่อสารทางคอมพิวเตอร์(
CMC)ของทำเนียบขาว  ได้มีออกมาตั้งแต่1993  ซึ่งเป็นข้อมูลที่ทันสมัย  แฮคเกอร์ พูดถึงข้อเสนอทั่วไป  ของการสนทนาระหว่างประชาชนกับผู้นำระดับชาติ  ซึ่งนำการทำงานเก่าๆ ของการสนทนาและทฤษฎีปัจจุบันเกี่ยวกับการพึ่งพาอาศัยกัน
           
อนิตา เอลเบิร์ส , แมทธิว เฮลและวิลเลี่ยม เอช ดัทตัน  พูดถึงประสบการณ์แรกๆของเครือข่ายประชาธิปไตย  คู่มือการโหวตแบบอิเล็กทรอนิกส์สามารถใช้ศึกษาว่า เวิร์ลไวด์เว็บ  สามารถใช้ในการแก้ปัญหาและเปิดทางสู่การหาเสียงทางการเมือง  ที่สามารถเป็นที่รู้แจ้งกันมากขึ้น แต่ก็ยังประสบกับปัญหาอื่นๆ  ผู้เขียนจึงแสดงตัวอย่างว่าเทคโนโลยีอย่างเดียวไม่เพียงพอ  ที่รับรองประชาธิปไตยดิจิตอลและคำถามอีกมากมายเกี่ยวกับโครงการนี้
           
นิโคลัส เจนคาวสกีและมาร์ติน  แวนเซลเลม  ตรวจสอบและประเมินค่าถึงคุณภาพของข้อมูลและการสื่อสารประชาธิปไตยดิจิตอล  ซึ่งเป็นคำถามที่ถูกถามกันเป็นอย่างมาก  เกี่ยวโยงกับประวัติของอินเทอร์เน็ต  ปัญหาทั้งหมดของบทก่อนหน้านี้และความคิดเห็นเกี่ยวกับการสนทนาทางการเมือง  ตลอดจนการพึ่งพาอาศัยกันในบทของแฮคเกอร์
           
เจน แวน ดิส เกี่ยวกับช่องว่างของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับประชาธิปไตยดิจิตอล  ปัญหาในการมีส่วนร่วมทางการเมือง  ประชาธิปไตยและสังคมก็คือ ความไม่เท่าเทียมกันของข้อมูล  ซึ่งอาจแบ่งแยกได้ไปตามฐานะจนกับรวย  ซึ่งมีอย่างแพร่หลายในประเทศทางตะวันตก

ข่าวร้ายหรือจะเป็นข่าวดี: การเมืองเรื่องสิ่งแวดล้อมและสื่อมวลชน


ข่าวร้ายหรือจะเป็นข่าวดี:
การเมืองเรื่องสิ่งแวดล้อมและสื่อมวลชน
สิ่งแวดล้อมเป็นผลผลิตของสื่อมวลชนในรอบสองทศวรรษที่ผ่านมา จากการศึกษาสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆทั้งในประเทศอเมริกา แคนาดา ญี่ปุ่นและอังกฤษพบว่ามีความคล้ายคลึงในการนำเสนอประเด็นปัญหานี้ ซึ่งสื่อให้ความสนใจตั้งแต่ราวปี 1960 จนถึงปี 1970 แม้ว่าประเด็นอื่นๆเช่นเงินเฟ้อ ประเด็นการตกงาน ได้เข้ามาแทนที่ประเด็นสิ่งแวดล้อมแต่ความเป็นจริงแล้วสิ่งแวดล้อมไม่เคยหายไปไหนและเป็นประเด็นปัญหาที่มีความสำคัญอยู่ไม่น้อย
เคยมีความพยายามที่จะกลบเกลื่อนประเด็นนี้อยู่บ้างเช่นในการศึกษาประเด็นปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมในประเทศแคนาดาแล้วมีคนพบว่าไม่มีหลักฐานที่จะมาสนับสนุนความเชื่อที่ว่าประชาชนเป็นห่วงในประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อม เหมือนการกล่าวอ้างของหนังสือพิมพ์ แต่ความจริงแล้วประชาชนรู้และเข้าใจปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างดีแต่อาจจะเป็นในบริบทที่แคบเช่น ปัญหาในท้องถิ่นเป็นต้น แต่สิ่งที่สื่อพยายามนำเสนอนั้นเป็นเรื่องของการชี้ให้เห็นถึงปัญหาในวงกว้างและทำให้กลายเป็นประเด็นปัญหาที่ต้องให้ความสนใจ
มีการจัดตั้งกลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อแก้ปัญหาสภาพแวดล้อมในสังคม ซึ่งเป็นกลุ่มนักอนุรักษ์นิยมที่มีเป้าหมายเพื่อวิพากษ์วิจารณ์การเติบโตของเศรษฐกิจและการครอบงำสังคมของระบบทุนนิยม ในขณะที่ในประเทศอังกฤษเองก็มีการจัดตั้งกลุ่มต่างๆเพื่อต่อต้านการทำลายสิ่งแวดล้อม เช่นFriends of The Earth,Conservative Society เป็นต้น ทั้งสองกลุ่มที่ปฎิเสธนโยบายทางสังคมในขณะนั้นเช่น ประสิทธิภาพของตลาด (Efficacy of the market) ความเสี่ยง และรางวัลจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ กลุ่มคนส่วนใหญ่เป็นคนชนชั้นกลางในสังคมทำให้กลายเป็นว่า การจุดประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมนี้เป็นการทิ่มแทงไปที่คุณค่าและความเชื่อในเรื่องอุตสาหกรรมในยุคทุนนิยม มันเป็นการท้าทายเทคโนโลยี และสังคมอุตสาหกรรมสมัยใหม่และบทบาทของวิทยาศาสตร์ในรูปแบบของวัฒนธรรม Habermas ได้อธิบายไว้ว่า การพัฒนาสังคมดูเหมือนว่าจะขึ้นอยู่กับตรรกะของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทำให้เห็นได้ว่าบทบาทที่สื่อกำลังเล่นอยู่นั้นเป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นท่ามกลางพัฒนาการของระบบทุนนิยม  

กรณีศึกษา:สิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมที่สร้างความหายนะให้เกิดขึ้นมักเป็นเรื่องที่สื่อให้ความสนใจเป็นพิเศษ และข่าวที่นำเสนอนั้นส่วนใหญ่ไม่เคยมีข่าวที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในทางบวกเลย มันจะเป็นเรื่องของความเสื่อมถอยมากกว่าเป็นเรื่องของการพัฒนา เช่น ความใสสะอาดของแม่น้ำเธม (Thames)ทำให้ฝูงปลาแซลมอนกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้งหนึ่ง เรื่องในทางบวกมักจะควบคู่ไปกับการเปรียบเทียบในเชิงลบ นั่นคือครั้งหนึ่งเมื่อแม่น้ำเธมใสสะอาดเช่นนี้ ในน้ำเต็มไปด้วยฝูงปลาแซลมอนแต่ก็ถูกจับโดยมนุษย์ ทำให้แม่น้ำสายหลักในสังคมอุตสาหกรรมกำลังจะถูกทำลายลงอีก ปลาแซลมอนเหล่านั้นก็จะเข้าไปอยู่ในกระป๋องเตรียมตัวเป็นอาหารไป จะเห็นได้ว่าข่าวสารโดยรวมมีแนวโน้มไปทางลบอยู่ดี
กลุ่มนิเวศวิทยาได้เข้ามามีบทบาทในเครือข่ายของสื่อมวลชนไปแล้ว สิ่งแวดล้อมดูจะเป็นเรื่องของการเมือง เมื่อนักสื่อสารมวลชนที่ถูกมอบหมายงานให้ดูแลเรื่องสาเหตุของการเกิดสิ่งแวดล้อม  แต่งานที่ได้รับมอบหมายนั้นอาจจะทำให้เกิดการโต้แย้งในบางกรณี เป้าหมายของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างสมดุลให้เกิดแก่เศรษฐกิจและพัฒนาการทางเทคโนโลยี
นักนิเวศน์วิทยาต้องหลีกเลี่ยงการมีความสัมพันธ์กับพรรคการเมือง เนื่องจากผลประโยชน์ของนักนิเวศน์วิทยานั้นเพียงเพื่อรักษาหรืออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเมืองใดๆ ส่วนพรรคอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเองที่ก่อตั้งขึ้นมาเป็นพรรคการเมืองนั้นเพื่อถ่วงดุลในระบบ 

การเผยแพร่ข่าวสาร
ความสัมพันธ์ที่ดีกับสื่อมวลชนเป็นเรื่องที่ดีถ้ากลุ่มผลประโยชน์หรือกลุ่มกดดันต้องการเสียงสนับสนุนเพราะถ้าสื่อให้ความสำคัญมันจะเป็นแรงกดดันอย่างดีต่อกลุ่มข้าราชการ นักการเมืองและในวงการอุตสาหกรรม จากผลการสำรวจของนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจาก 77 ประเทศนั้นให้ความเห็นว่าสื่อเป็นประโยชน์อย่างมากในการเป็นกระบอกเสียงที่สำคัญ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการนำเสนอกิจกรรมต่อเนื่องหรืออย่างน้อยมีการนำเสนอ 2-3 ครั้งต่อเดือน  สำหรับสื่อสิ่งพิมพ์ ในส่วนของวิทยุและโทรทัศน์จะมีการนำเสนอน้อยกว่า การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านโทรทัศน์และวิทยุนั้นส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นหลังจากการนำเสนอผ่านสื่อหนังสือพิมพ์ ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถเข้าถึงผู้มีอำนาจในการตัดสินใจได้ดีกว่าการนำเสนอผ่านสื่อทีวี เพราะว่าหนังสือพิมพ์สามารถให้รายละเอียดได้มากกว่าและอาจมีการวิเคราะห์ถึงสาเหตุปัญหาได้มากกว่า แต่ก็มีบางกลุ่มที่เชื่อว่าการนำเสนอผ่านทีวีจะเป็นโอกาสที่จะเพิ่มเสียงสนับสนุนในเรื่องสิ่งแวดล้อมได้ดีกว่า
การเข้ามามีบทบาทอย่างจริงจังของสื่อทำให้กลายเป็นเรื่องของการเมืองไป เนื่องจากว่าอิทธิพลของสื่อในการกำหนดวาระต่างๆเกี่ยวข้องหรือคล้องจองกับเป้าหมายที่กลุ่มนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมต้องการเผยแพร่ เพื่อที่จะปรับปรุงบรรยากาศต่างๆในความคิดเห็นในประเด็นสิ่งแวดล้อมโดยเน้นการศึกษาในระยะยาวและการรณรงค์ปลูกฝังต่างๆ ที่เราเห็นการณรงค์จากกลุ่มอนุรักษ์ต่างๆที่ต่างกลุ่มต่างทำนั้น เป็นการสร้างการรับรู้ในเรื่องของปัญหาของสิ่งแวดล้อมที่กำลังเป็นปัญหาในสังคมอยู่ โดยใช้บริบทที่ซึ่งความพึงพอใจของประชาชนและการตัดสินใจขององค์กรต่างๆเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ 

ฝ่ายค้านและการตอบสนองของสาธารณะ
            เราคงจำได้ว่าเคยมีการต่อสู้การใช้สารตะกั่วในน้ำมันของนักอนุรักษ์นิยมโดยใช้สื่อเป็นเครื่องมือและประสบผลสำเร็จเป็นฝ่ายเอาชนะโรงงานอุตสาหกรรมและผลประโยชน์ทางธุรกิจต่างๆ โดยสื่อมวลชนที่ให้การสนับสนุนอย่างจริงจังนั้นเป็นเรื่องของความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างแท้จริง การประท้วงเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมนั้นไม่เกี่ยวกับการขัดขวางระบบทุนนิยม แต่เป็นความไม่พอใจต่อการกระทำของแหล่งทุนและเป็นจุดเริ่มต้นในการต่อต้านระบบทุนนิยมการเคลื่อนไหวของกลุ่มรักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นด่านหน้าของความคิดในเรื่องการพัฒนามานุษยวิทยาที่คัดค้านการครอบงำจากความคิดและตรรกของกระบวนการอุตสาหกรรมขั้นสูง
            สื่อมวลชนให้ความสนใจกับเรื่องสิ่งแวดล้อมเนื่องจากสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องการเมืองที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพของชีวิตมากกว่าเรื่องของโครงสร้างหรือองค์กร รายงานสิ่งแวดล้อมตั้งคำถามถึงความสำเร็จของวิทยาศาสตร์ โดยตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับโครงสร้างอุตสาหกรรมตามหลักวิทยาศาสตร์ แต่เรื่องราวเกี่ยวกับระบบนิเวศวิทยาที่ถูกทำลาย เป็นเรื่องความหายนะของวิทยาศาสตร์ ซึ่งขึ้นอยู่กับการตีความ สุดท้ายรายงานสิ่งแวดล้อมทั้งหลายที่ปรากฏเป็นข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์นั้นเป็นการตรวจสอบในเรื่องที่คนส่วนใหญ่สิ้นหวัง เป็นการตีแผ่ข้อมูลต่างๆแนวทางปฏิบัติของภาคส่วนอุตสาหกรรมและเป็นการลดคุณค่าของตรรกะของระบบทุนนิยมในสังคมของเรา