วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555

ญาณวิทยาทางสังคมศาสตร์กับความรู้ด้านสื่อสารการเมือง โดย รหัส แสงผ่อง



ญาณวิทยาทางสังคมศาสตร์กับความรู้ด้านสื่อสารการเมือง โดย รหัส  แสงผ่อง
ญาณวิทยา(Epistemology)
               ญาณวิทยาคือทฤษฎีความรู้(theory of knowedge)  ที่ศึกษาว่าเรารู้ความจริงได้อย่างไร ดังนั้น ญาณวิทยา จึงสัมพันธ์กับอภิปรัชญา ญาณวิทยาตอบปัญหาว่าด้วยบ่อเกิดความรู้และมาตรการสำหรับตัดสินความถูกผิดของความรู้
                นักปรัชญาตะวันตกกล่าวถึงที่มาและบ่อเกิดของความรู้ไว้ ทางคือ
               1.ผัสสาการ(Sensation)  คือความรู้ที่เกิดจากประสาทสัมผัสทั้งห้า  คือ  การเห็น  การได้ยิน  การได้กลิ่น  การรู้รส  การสัมผัส
                2.เหตุผล(Reason)  คือความรู้ที่เกิดจากการคิดตามหลักเหตุผลในใจ
                3.อัชฌัตติกญาณ(Intuition)  คือความรู้ผุดขึ้นในใจโดยตรง  ถ้าเป็นความรู้จากญาณวิเศษเรียกว่า  การตรัสรู้(Enlightenment)  ถ้าเป็นความรู้ที่ได้จากการดลใจของพระเจ้าเรียกว่า  วิวรณ์  (Revelation)
               ปัญหาที่ตามมาก็คือว่า บ่อเกิดของความรู้ทางไหนเล่าจึงให้ความรู้ที่ถูกต้องตามความเป็นจริง   ในเรื่องนี้  นักปรัชญามีความเห็นแตกกันเป็น  กลุ่มใหญ่ๆ
               1.ลัทธิประสบการณ์นิยม( Empiricism) ถือว่าประสาทสัมผัสเป็นมาตรการการตัดสินใจ
               2.ลัทธิเหตุผลนิยม(Rationalism)ถือว่าเหตุผลเป็นมาตรการตัดสินใจความจริง
               3.ลัทธิอัชฌัตติกญาณนิยม(Intuitionism) ถือว่าอัชฌัตติกญาณเป็นมาตรการตัดสินใจ(http://sambydee.blogspot.com/2011/11/epistemology.html, 18 พฤศจิกายน 2554)
            ทฤษฎีความรู้หรือญาณวิทยา (Epistemology) เป็นสาขาหนึ่งในปรัชญาที่มุ่งศึกษาเกี่ยวกับลักษณะของความรู้ การได้มาซึ่งความรู้ ศึกษาว่าเราสามารถรู้ความจริงได้หรือไม่ ฉะนั้นญาณวิทยาจึงเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับความจริง กล่าวคือ สิ่งไหนที่จัดเป็นความรู้ สิ่งนั้นก็ต้องเกี่ยวข้องกับความจริง และสิ่งไหนที่เป็นความจริง สิ่งนั้นก็ต้องเป็นความรู้ที่แท้จริงเช่นกัน การรู้ความจริงจึงเรียกว่าความรู้ หัวข้อหลักๆในขอบเขตของญาณวิทยาคือ ญาณวิทยาจะศึกษาถึงบ่อเกิดหรือกำเนิดของความรู้ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร เราจะยืนยันว่ารู้ได้อย่างไร และหนทางที่เราจะเรียนรู้ได้ มีนักปรัชญาให้ทรรศนะเกี่ยวกับบ่อเกิดของความรู้แตกต่างกันออกไปมากมาย ในที่นี้จะได้กล่าวถึง 4 ทฤษฎีหลักๆ คือ
            1.ทฤษฎีเหตุผลนิยม (Rationalism)เป็นทฤษฎีที่ยอมรับว่า มนุษย์สามารถรู้ความจริงได้โดยการใช้เหตุผล ไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์ กล่าวคือ เชื่อความรู้ก่อนประสบการณ์ (Apriori Knowledge) เป็นความจริงที่แน่นอนตายตัวโดยไม่ต้องผ่านประสบการณ์ เป็นความจริงชนิดที่จำเป็น (Necessary Truth) เช่น สองบวกสองเท่ากับสี่ ทฤษฎีนี้ถือว่าทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นล้วนมีสาเหตุ ต่างกับความรู้แบบหลังประสบการณ์ (A Posteriori) ที่ต้องอาศัยประสบการณ์เป็นเครื่องตัดสิน ซึ่งความรู้ที่ได้ อาจจะไม่เป็นจริงเสมอไป เช่น กรุงเทพฯ มีประชากรอยู่ประมาณ ๑๐ ล้านคน แต่พรุ่งนี้อาจจะเพิ่มหรือลดลงอีกก็ได้ ต้องอาศัยประสบการณ์ตัดสินจึงเป็นความรู้ที่เปลี่ยนแปลงได้ (Contingent Truth)
            2.ทฤษฎีประสบการณ์นิยม (Empiricism) ทฤษฎีนี้ยอมรับความรู้ที่ผ่านประสบการณ์ (Experience) กล่าวคือ ความรู้เกิดขึ้นได้โดยอาศัยผัสสะหรือประสาทสัมผัส แนวคิดนี้จึงไม่ยอมรับความรู้ก่อนประสบการณ์ ยอมรับแต่ความรู้หลังประสบการณ์เท่านั้น ตัวอย่างของผู้ที่ยึดถือทฤษฎีประสบการณ์นิยมเป็นแบบแผนคือ นักวิทยาศาสตร์และนักปฏิบัตินิยม (Pragmatism)
            3.ทฤษฎีอัชฌัตติกญาณนิยม (Intuitionism)  เป็นทฤษฎีที่ถือว่า การรู้เองเป็นบ่อเกิดที่สำคัญของความรู้ เป็นกิจกรรมของจิตโดยตรง เป็นการหยั่งรู้เข้าไปภายในสิ่งนั้นทำให้เกิดการรู้สิ่งนั้นทั้งหมด แนวคิดนี้ถือว่าการรู้สิ่งใดก็ตามทางประสาทสัมผัส เป็นเพียงความรู้ภายนอกเท่านั้น ไม่เหมือนการหยั่งรู้เข้าไปถึงจิต โดยมีความรู้ดังกล่าวมี ๒ ระดับ คือ ความรู้แบบสามัญที่เรียกว่า สามัญสำนึก (Common Sense) และความรู้แบบพิเศษที่เกิดจากการบรรลุ (Transcendental Intuition)
            4.ทฤษฎีความรู้วิวรณ์ (Revelation) ทฤษฎีนี้ถือว่าความรู้ที่เกิดจากการเปิดเผยของสิ่งเหนือธรรมชาติ (Supernatural Manifestation) เป็นความรู้ที่ไม่ต้องผ่านกระบวนการแบบทั่วๆไปแต่เป็นเรื่องที่อยู่เหนือ ธรรมชาติ เป็นความรู้ทางศาสนาประเภทเทวนิยม (Theism) ที่ตั้งอยู่บนความเชื่อเป็นหลัก ความรู้ดังกล่าวจึงเป็นความรู้ที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ เพราะอาศัยความเชื่อสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติ เหนือประสาทสัมผัส และการคิด(http://www.buddhabucha.net/general-epistemology-and-buddhist-epistemology/, 24 กันยายน 2555)
            ญาณวิทยาศาสนามุ่งการพิจารณาปัญหาเกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนาในประเด็นทาง ญาณวิทยา โดยเฉพาะในศาสนาแบบเทวนิยม (ยูดาย คริสต์ อิสลาม) อาทิเช่น ปัญหาเกี่ยวกับสถานะของความรู้ทางศาสนา เช่น ความรู้ในเชิงรหัสยะ (mystical knowledge) ถือเป็นความรู้หรือไม่ ความรู้ที่ได้จากการเผยแสดง (revelation) หรือวิธีการแบบเทววิทยาธรรมชาติ (natural theology) สามารถยอมรับได้หรือไม่  การมีประสบการณ์ทางศาสนา การมีอยู่ของพระเจ้า การรับรู้คุณสมบัติต่างๆ ของพระเจ้า (เช่น การหยั่งรู้ทุกอย่าง (omniscience) การมีอำนาจสูงสุด (omnipotence) หรือการดำรงอยู่ไม่จำกัด (omnipresence) เป็นต้น)  อย่างไรก็ดีปัญหาหลักที่ญาณวิทยาศาสนาให้ความสนใจคือ ปัญหาเรื่องความมีเหตุมีผล (rationality) ของความเชื่อทางศาสนา  การรับประกัน (warrant) หรือการให้หลักการ (justification) กับความเชื่อทางศาสนา ที่เป็นการพิจารณาการมีอยู่ของพระเจ้าในฐานะที่เป็นความเชื่อหนึ่ง หรือเป็นการพิจารณาถึงปัญหาเรื่องการมีอยู่ของพระเจ้าในเชิงญาณวิทยา
            การ อธิบายเนื้อหาญาณวิทยาศาสนาในที่นี้จะเป็นการอธิบายในประเด็นปัญหาหลัก คือ การพิจารณาเรื่องการให้หลักการกับความเชื่อเรื่องการมีอยู่ของพระเจ้า หรือประเด็นคำถามว่า ความเชื่อเรื่องการมีอยู่ของพระเจ้าเป็นความเชื่อที่สามารถทำให้ถูกหลักการ ได้หรือไม่  แนวคิดและทฤษฎีต่างๆ ที่เกี่ยวกับการให้หลักการกับความเชื่อทางศาสนา รวมถึงข้อโต้แย้งของแต่ละแนวคิดโดยสังเขป  อาทิเช่น แนวคิดแบบหลักฐานนิยม (evidentialism) แนวคิดแบบฟิเดอีสม์ของวิตเกนไตน์ (Wittgenstein Fideism) และแนวคิดที่พยายามปฏิรูปหลักการทางญาณวิทยาเพื่อใช้แก้ปัญหาการให้หลักการ กับความเชื่อทางศาสนาที่เรียกว่าแนวคิดเรื่อง การปฏิรูปทางญาณวิทยา” (reformed epistemology) เช่น แนวคิดของ อัลวิน แพลนติงก้า และวิลเลี่ยม พี อัลสตัน เป็นต้น 
            ในการกล่าวถึงญาณวิทยาทางศาสนาในที่นี้ จะเป็นการกล่าวถึงลักษณะของความเชื่อศาสนาในบริบทของศาสนาคริสต์
  ซึ่งเป็นลักษณะของความเชื่อทางศาสนาที่มีผู้ศึกษาในเชิงญาณวิทยา หรือกล่าวได้ว่ามีลักษณะเป็นการศึกษาญาณวิทยาในศาสนาคริสต์เป็นหลัก โดยทั่วไปความเชื่อทางศาสนาจะมีสถานะแตกต่างจากความเชื่ออื่น คือเป็นความเชื่อที่ถือว่าจริงโดยไม่ต้องมีการอ้างหลักฐานสนับสนุน หรือเป็นความเชื่อที่ไม่สามารถพิจารณาด้วยเหตุผล  ในทางศาสนาสิ่งที่ใช้รับประกันว่าความเชื่อชนิดนี้ว่าเป็นความจริงคือการมีศรัทธาต่อความเชื่อ  ด้วยทัศนะเช่นนี้จึงทำให้ความเชื่อเรื่องการมีอยู่ของพระเจ้ามีสถานะพิเศษ กว่าความเชื่ออื่น(วรเทพ  ว่องสรรพการ, 2546)  ทฤษฎีต่างๆ ที่เราได้เรียนรู้มานั้น มันมาจาก "ประสบการณ์" เริ่มต้นจาก "การสังเกต" "การทดลอง" หรือตามกระบวนการพิสูจน์ตรวจสอบเพื่อ "หาความจริง" ก่อนที่นักคิด นักวิทยาศาสตร์จะทำการสรุปทฤษฎีของตน เค้าก็ต้องใช้ "ผัสสะ" ที่เค้ามีเพื่อพิจารณาธรรมชาติตรงนั้น บางเรื่องก็ยากที่จะเข้าใจได้ มันไม่สามารถเห็นได้เป็นรูปธรรม  "ความรู้" "ทฤษฎี" มันอาจจะไม่ใช่ "ความจริง" ทั้งหมดร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่อย่าลืมว่า สิ่งเหล่านี้มันมาจากกระบวนการ "พิสูจน์และหาความจริง" และไม่มีใครที่จะมาบอกได้ว่า "สิ่งนี้คือเรื่องจริง" "สมองคือตัวกำหนดความคิดจริงแท้แน่นอน" หรือ ฯลฯ เพราะเรายังไม่รู้จัก "ความจริง" -- การศึกษาทฤษฎี นี่แหละคือพื้นฐานองค์ความรู้ ที่จะนำคุณไปพบกับ "ความจริง"!!! หรือพยายามใกล้เคียงกับความจริงให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และถึงแม้จะเป็น "ความรู้" ภายใต้กรอบของ "ความน่าจะเป็น" และ "โอกาสที่จะเกิด" (http://quetoindies.exteen.com/20120526/entry, 24 กันยายน 2555)
            ญาณวิทยาแบบไทย ๆ ถือ ความจริงคือ สิ่งที่มีอยู่ (ไม่ได้ถูกสร้างขึ้น) มนุษย์จะเข้าใจความจริงนั้น

ด้วยการได้รับการบอกเล่าจากผู้ถึงความจริง อาจเรียกครู  หรือ อื่น ๆ ก็ได้  กระบวนการเรียนรู้  ในญาณวิทยานั้น ก็คือ การท่องจำความจริงของครู ผู้บรรลุนั้นให้เป็นของตน ญาณวิทยาแบบฝรั่ง ความรู้คือการที่มนุษย์จำลองความจริงขึ้นมานั้น หากมีแบบจำลองอันอื่น  ที่มีเหตุผลกว่า ที่ท้าทายกว่า ด้วยการสังเกตุการณ์และเหตุผล  กระบวนการเรียนรู้  ญาณวิทยาแบบฝรั่งคือ ฝึกสังเกตุการณ์และเหตุผล  ไม่มีความจริงให้ท่องจำ(http://www.oknation.net/blog/print.php?id=267775, 24 กันยายน 2555)
            ญาณวิทยาของไทยนับแต่โบราณกาลมาก็คือ ความจริงนั้นมีอยู่ (ไม่ใช่ถูกสร้างขึ้น) และมนุษย์สามารถเข้าถึงความจริงนั้นได้ โดยได้รับการบอกเล่าจากคนที่ได้เข้าถึงความจริงนั้นแล้ว (ซึ่งเรียกว่าครู, ผู้รู้, นักปราชญ์, ทิศาปาโมกข์, พระมนู ฯลฯ) ฉะนั้น การเรียนรู้คือกระบวนการที่จะทำให้เราสามารถจดจำความจริงที่มีผู้บรรลุแล้วเหล่านั้นไว้ ให้กลายเป็นสมบัติของเราเอง และนั่นคือที่มาของการให้ความสำคัญแก่การท่องจำ ขอให้สังเกตนะครับว่า ในญาณวิทยาแบบนี้ ความจริงย่อมสถิต คือไม่เปลี่ยนแปลง แต่คงที่อยู่อย่างนั้นเสมอไป จึงไม่จำเป็นต้องไปตรวจสอบความจริงนั้นอีก และด้วยเหตุดังนั้น กระบวนการที่จะแสดงหลักฐานและเหตุผลว่า เราอาจบรรลุความจริงดังกล่าวได้อย่างไร (โดยอาศัยการใช้เหตุผล, โดยอาศัยการสังเกตการณ์, โดยอาศัยการใช้ความรู้สึก ฯลฯ) จึงไม่เกี่ยวหรือไม่สำคัญเลย ความรู้ฝรั่งที่เราให้ความเคารพนับถือนับตั้งแต่ ร.4 ลงมานั้น ไม่ได้เกิดจากญาณวิทยาแบบนี้ ฝรั่งสมัยนั้นยอมรับว่าความจริงมีอยู่ เราอาจจำลองความจริงซึ่งมีอยู่เป็นอิสระจากความคิดของเราได้ โดยอาศัยการสังเกตุการณ์และเหตุผล แต่การจำลองของเราอาจถูกขัดแย้งได้ เมื่อคนอื่นได้พบอะไรใหม่ในการสังเกตการณ์และใช้เหตุผลคนละชุดกับของเรา ฉะนั้น ความจริงของฝรั่งจึงไม่สถิต อาจเปลี่ยนแปลงไปได้ตามการสังเกตการณ์และการคิดของมนุษย์ การเรียนรู้ที่เหมาะสมในญาณวิทยาแบบนี้ก็คือ การฝึกสังเกตการณ์และใช้เหตุผล ไม่มีความจริงให้ท่องจำ มีแต่กระบวนการบรรลุภาพจำลองความจริงที่ดีที่สุด ซึ่งเราต้องทำความเข้าใจกระบวนการนั้นๆ ให้กระจ่าง แน่นอนว่า จะประกาศว่าเป็นผู้รู้อยู่คนเดียว โดยไม่แสดงพยานหลักฐานหรือกระบวนการคิดเหตุคิดผลของตัวให้คนอื่นรู้เลยญาณวิทยาแบบไทยที่ถือว่า มีคนบางคนเข้าถึงความจริงสูงสุดนั้น ยังเป็นญาณวิทยาของคนส่วนใหญ่ในประเทศอยู่ ไม่ว่าเราจะรับวัฒนธรรมฝรั่งมามากเพียงใดก็ตาม และญาณวิทยาแบบนี้ยังเป็นฐานของระบบการศึกษาไทย และการเมืองไทยสืบมาจนปัจจุบัน ไม่ว่าเราจะเรียกระบบปกครองของเราว่าประชาธิปไตยหรือไม่ก็ตาม อันที่จริง ถ้าพูดกันด้วยญาณวิทยาแบบนี้ จะเป็นประชาธิปไตยกันจริงๆ คนไม่รู้นั่นแหละควรพูดมากกว่าคนรู้ ก็คนรู้มีอยู่ไม่กี่คนเท่านั้นนี่ครับ เจ้าของประเทศล้วนเป็นคนไม่รู้เสียเป็นส่วนใหญ่ ถ้าไม่ให้เขาพูดก็ยกประเทศให้ผู้รู้ไม่กี่คนนั้นไปเลยก็แล้วกัน ผมเชื่อว่า คงมีคนจำนวนไม่น้อยแย้งว่า ถ้าปล่อยให้คนไม่รู้พูดมาก บ้านเมืองก็เละเทะไปหมดสิ เพราะเมื่อไม่รู้แล้วจะเข้าไปมีส่วนร่วมในการปกครองบ้านเมืองได้อย่างไร ต้องปล่อยให้คนรู้เขาจัดการไปนั่นแหละถูกแล้ว ถ้าประชาธิปไตยหมายถึงการปกครองของคนไม่รู้ ก็อย่าเป็นมันเลยประชาธิปไตยหรือปไตย ใช่เลยครับ เพราะประชาธิปไตยสมัยใหม่ที่เรารู้จักนั้น เป็นระบบที่วางอยู่บนญาณวิทยาแบบใหม่ของฝรั่ง (ใหม่กว่าสมัยกลาง) นั่นก็คือความรู้ทุกอย่าง ไม่ว่าจะอยู่ในมือใครก็ตาม ย่อมอาจถูกตรวจสอบได้เสมอ มี "ศักดิ์และสิทธิ์" เท่าๆ กันหมด เพราะจะเป็นที่ยอมรับได้ก็ต้องแสดงหลักฐานและเหตุผลวิธีคิดมาให้เป็นที่ยอมรับ จะมาประกาศปาวๆ เพราะถือว่าเป็นนายกฯ หรือเป็นผู้มีสถานะสูงอย่างเดียวไม่ได้ พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ ประชาธิปไตยเป็นระบอบปกครองของคนไม่รู้ด้วยกัน ที่ใครอ้างว่ารู้นั้น คนอื่นอาจเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าเขาแสดงกระบวนการคิดของเขาให้เป็นที่เชื่อถือได้หรือไม่ต่างหาก (http://www.gotoknow.org/blogs/books/view/epist, 24 กันยายน 2555)
            ระบบปัญญาและความรู้ของคนในสังคม อ่อนด้อยลงทุกขณะอีกทั้งระบบศีลธรรมของศาสนาที่เคยค้ำชูสังคมก็ดูเหมือนจะ เข้าตาจนเช่นกัน เหตุใดจึงว่าทั้งระบบปัญญาความรู้ในทางโลก และปัญญาในทางธรรมของสังคมไทยกำลังย่ำแย่ นั้นคงพิจารณาได้จากความล้มเหลวโดยสิ้นเชิงในการจัดการศึกษาในระบบโรงเรียน ที่นอกจากได้เข้าไปทำลาย เบียดขับบรรดาความรู้ดั้งเดิมของคน/ชุมชนให้
ด้อยค่า”  “ไร้ค่า”  “ไร้เหตุผลเชื่อถือไม่ได้ แล้วยังทำให้ผู้คนต้องหันมาเสพ รับ ลอกเลียนความรู้จากภายนอกชุมชน ภายนอกวัฒนธรรมวิถีชีวิต ในลักษณะรับเละแบบไม่เลือก กลายเป็นว่าอะไรที่เป็นความรู้จากข้างนอกดีไปหมด ของเดิมที่ปู่ย่าสั่งสมไว้คือของโบราณ เมื่อเป็นเช่นนี้ภาวะชะงักงันทางปัญญาก็สะดุดลง ประกอบกับการที่เราหันไปเชื่อในระบบเหตุผลที่แยกตัวออกมาโดดเดี่ยวจากระบบ คุณค่าทางศาสนาบรรดาปัญญาอันจะก่อกำเนิดจากการเรียนรู้วิถีชีวิตทางวัตถุ อย่างเป็นเนื้อเดียวกับชีวิตทางจิตวิญญาณ ก็ถูกลดทอนให้เป็นความเชื่อ ความงมงาย  ญาณวิทยาใหม่สำหรับการศึกษาไทยจึงควรเป็นญาณวิทยาของการมองสรรพสิ่งอย่าง เป็นองค์รวมหนึ่งเดียวกัน ไม่แยกส่วนในการมองสรรพสิ่ง มนุษย์และสรรพสิ่งเป็นเพื่อนร่วมชีวิตกัน ซึ่งเสน่มีความเชื่อมั่นว่า ความรู้ อิสรภาพ การศึกษา และคุณค่าทางศาสนาควรจะเป็นองค์รวมของญาณวิทยาใหม่สำหรับการศึกษาไทยที่จะ เปิดมิติใหม่ของการเชื่อมโยงจิตใจมนุษย์เข้ากับระบบนิเวศ ในอีกนัยหนึ่งญาณวิทยาเช่นที่ว่านี้จะฟื้นฟูภูมิปัญญาของท้องถิ่นที่เคยถูก ละเลยทอดทิ้งให้กลับมามีคุณค่าเพื่อเป็นฐานสำหรับการก้าวย่างต่อไปของสังคม ไทยนั่นเอง (http://www.gotoknow.org/blogs/posts/362801, 19 มิถุนายน 2555)  ทั้งปรัชญาตะวันตกและตะวันออกจะมีอัตลักษณ์เฉพาะของตน อย่างไรก็ตามปัญหาเรื่องความจริง (Truth) หรือทฤษฏีทางญาณวิทยา เป็นประเด็นปัญหาสำคัญที่นักปรัชญาตะวันตกและตะวันออกสนใจ เพื่อแยกแยะว่าอะไรเป็นความจริง (The truth) อะไรเป็นความเท็จ (The falsity) ทั้ง ปรัชญาตะวันตกและตะวันออกต่างยืนยันว่ากระบวนการหาความจริงของมนุษย์มี ลักษณะพิเศษที่ต่างจากสัตว์ทั่วไป เนื่องจากมนุษย์มีสติปัญญา ดังนั้น การรู้ความจริงของมนุษย์จึงมีลักษณะเป็นการรู้ตัว (รู้ว่าตนรู้) หรือที่นักปรัชญาตะวันตกมักใช้คำว่า "ความสำนึกรู้" (Consciousness) หรือ "การตระหนักรู้" (Awareness) อัน เป็นลักษณะพื้นฐานของกระบวนการรู้ความจริงของมนุษย์ อย่างไรก็ตาม ปัญหาเกี่ยวกับความจริงของปรัชญาตะวันตกและตะวันออกต่างมีลักษณะเฉพาะที่สอด คล้องกับจุดเน้นของตน กล่าวคือ
            1.คุณลักษณะของทฤษฏีความรู้ตามแนวปรัชญาตะวันตก คือ การรู้ความจริงเพื่อตอบปัญหาที่สงสัยคุณลักษณะ ที่สำคัญประการหนึ่งของทฤษฏีความรู้ (ปัญหาเรื่องความจริง) ตามแนวปรัชญาตะวันตก คือ การรู้ความจริงเพื่อตอบสนองความสงสัย ดังที่ สุนทร ณ รังษี (2521: 2) ได้วิเคราะห์ลักษณะของปรัชญาตะวันตกเรื่องการแสวงหาความจริง (ทฤษฏีทางญาณวิทยา) ไว้น่าสนใจว่า "ปรัชญา ตะวันตกมุ่งแสวงหาความจริงหรือข้อเท็จจริงเพียงอย่างเดียวโดยไม่ พยายามที่จะปฏิบัติตนเพื่อให้เข้าถึงความจริงที่ได้แสวงหาพบแล้ว" และ "ปรัชญาตะวันตกส่วนใหญ่ไม่เกี่ยวกับศาสนาหรือแยกเป็นคนละส่วนกับศาสนา" เพราะ ฉะนั้น นักปรัชญาตะวันตก (ส่วนใหญ่) จึงดำเนินชีวิตไปในทางที่ตรงข้ามกับแนวความคิดทางปรัชญาของตนก็ได้ นั่นหมายความว่าประเด็นปัญหาเกี่ยวกับความจริงของปรัชญาตะวันตก คือ การมุ่งสู่การรู้ความจริงเพื่อตอบสนองความสงสัยในประเด็นปัญหาเกี่ยวกับความ เป็นจริง แม้ว่าความจริงนั้นจะไม่ได้ช่วยให้บรรลุถึงความเป็นจริงเลยก็ตาม หมายความว่า นักปรัชญาตะวันตกมีแนวโน้มในการศึกษาความจริงในประเด็นที่ตนสงสัย เมื่อได้แนวคำตอบที่ถูกใจ (แม้ไม่ถูกใจทั้งหมด) ก็หยุดเพียงแค่นั้น นักปรัชญาตะวันตกไม่พยายามนำแนวคำตอบที่ตนได้รับมาพัฒนาเป็นคำสอนให้ปฏิบัติ เพราะถือว่าศาสนากับปรัชญาเป็นคนละส่วนที่แยกจากกัน
            2.คุณลักษณะของทฤษฏีความรู้ตามแนวปรัชญาตะวันออก คือ การรู้ความจริงเพื่อการบรรลุถึงความเป็นจริงแม้ ว่าลักษณะแนวคิดของปรัชญาตะวันออก (โดยเฉพาะปรัชญาอินเดีย) จะมุ่งปัญหาเกี่ยวกับความเป็นจริงและการรู้ความจริง (เกี่ยว กับความเป็นจริง) แต่จุดเน้นของปรัชญาตะวันออกมีลักษณะพิเศษต่างจากปรัชญาตะวันตก กล่าวคือ ปรัชญาตะวันออก (โดยเฉพาะปรัชญาอินเดีย) สนใจปัญหาความเป็นจริง และรู้ความจริง (เกี่ยวกับความเป็นจริง) เพื่อการบรรลุถึงความเป็นจริง ดังที่ สนั่น ไชยานุกูล (2519) ได้วิเคราะห์ปรัชญาอินเดียว่ามีจุดเน้นในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับศีลธรรมและ การพัฒนาจิตใจ "ทุก ๆ ลัทธิถือว่าปรัชญานั้น เป็นสิ่งจำเป็นในการดำเนินชีวิต และทุก ๆ ลัทธิเพาะปลูกปรัชญาขึ้นมาก็เพื่อให้เราเข้าใจ เราควรจะดำเนินชีวิตของเราให้ดีที่สุดได้อย่างไร" และ "ปรัชญานั้นใช้ให้เป็นประโยชน์แก่คนเราได้อย่างไร" (สนั่น, 2519: 21-22) กล่าวคือ ปรัชญาตะวันออก (โดยเฉพาะปรัชญาอินเดีย) มีลักษณะเป็น "คำสอนให้ปฏิบัติ" ปรัชญา อินเดียไม่ใช่เน้นความรู้อย่างเดียว หากเพื่อส่งเสริมให้รู้เพื่อนำไปปฏิบัติ เน้นหลักปฏิบัติ เพราะจุดหมายสูงสุดของปรัชญา คือ การรู้แจ้งตน (Self - realization) ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่าปรัชญาตะวันออก (โดยเฉพาะปรัชญาอินเดีย)มีลักษณะเป็นปรัชญาชีวิตนั่นเอง(http://www.phucvu.net/2009/04/4_7476.html, 24 กันยายน 2555
            แนวคิดเกี่ยวกับความรู้
  ญาณวิทยา (epistemology) หมายถึง ศาสตร์หรือทฤษฎีเกี่ยวกับความรู้แท้ หรือความรู้ที่มีระบบ ในทางปรัชญา ความรู้ต้องเป็นความรู้ในความจริง เพราะฉะนั้นปัญหาญาณวิทยา จึงไม่ใช่เพียงว่า ความรู้คืออะไร แต่ยังเกี่ยวพันกับความจริงด้วย เช่น อะไรคือสิ่งที่เรารู้ มนุษย์รู้ความจริงได้หรือไม่ โดยวิธีใด ความจริงเป็นสิ่งสัมพัทธ์ (Relative) หรือเป็นสิ่งสัมบูรณ์ (Absolute) เป็นต้นโสคราตีส เชื่อว่าความรู้เป็นสิ่งสัมบูรณ์ คือ เป็นสากล เที่ยงแท้แน่นอน เป็นความรู้ในความจริง และมีความรู้ชนิดเดียวคือ ความรู้ชนิดที่ทำให้ผู้รู้รักความจริง เทิดทูนคุณธรรม สามารถคิดและทำได้อย่างถูกต้อง
            โสคราตีสเชื่อว่า ผู้มีความรู้จะไม่เป็นคนเลวโดยเด็ดขาด ส่วนผู้ที่ยังทำผิด ก็เพราะเขาไม่มีความรู้ มีแต่เพียงความเห็น จึงอาจผิดพลาดได้เป็นธรรมดา ผู้มีความรู้ทุกคนสามารถเข้าถึงความจริงได้ตรงกัน เพราะความรู้หรือความจริงเป็นสิ่งที่มีอยู่ในตัวมนุษย์อยู่แล้ว เรียกว่าเป็นความรู้ก่อนประสบการณ์
(Apriori Knowledge) ดังนั้นสิ่งที่ถูกรู้คือ ตัวเรา มิใช่โลกภายนอก คนเราต้องศึกษาตนเอง (Know Thyself) ให้เข้าใจแล้วจะพบความจริง
            วิธีการที่โสคราตีสใช้ในการศึกษาตนเองก็คือ การคิดตรึกตรองในขณะจิตสงบ และอีกวิธีหนึ่งคือ การถาม-ตอบ หรือที่เรียกว่า วิธีการของโสคราตีส
(Socratic Method) ประกอบด้วย
            1. สงสัยลังเล (skeptical) โสคราตีสจะเริ่มต้นด้วยการยกย่องคนอื่น พร้อมกับขอร้องให้ช่วยอธิบายเรื่องที่ยังไม่กระจ่างให้ฟัง เช่น ความรัก ความงาม คุณธรรม ความยุติธรรม ความรู้ เป็นต้น

            2. สนทนา (conversation) โสคราตีสจะเป็นผู้ตั้งคำถามให้คู่สนทนาเป็นผู้ตอบ เขาเชื่อว่าวิธีการนี้จะทำให้คู่สนทนาเปิดเผยความจริงที่มีอยู่ในตัวเองออกมา โดยมีเขาเป็นเพียงผู้ช่วย ไม่ใช่ผู้นำความรู้ไปให้ เพราะความรู้ไม่ใช่สิ่งใหม่ ขอเพียงนำออกมาให้ถูกวิธี
            3. หาคำจำกัดความ (conceptional หรือ definitional ) โสคราตีส เชื่อว่าความจริงมาตรฐานจะแฝงอยู่ในคำจำกัดความ หรือคำนิยาม ที่สมบูรณ์ เช่น ความยุติธรรม หากเรายังไม่รู้ว่า ความยุติธรรมคืออะไร เราก็ยังไม่เข้าใจและไม่รู้จักว่าการกระทำใดยุติธรรมหรือไม่ยุติธรรม เป็นต้น ดังนั้นการสนทนาจึงเป็นการเสนอคำนิยามศัพท์ และพยายามขัดเกลาคำนิยามนั้นให้บกพร่องน้อยที่สุด
            4. ทดสอบด้วยการลงมือปฏิบัติ โดยใช้วิธีการยกตัวอย่างที่มีสภาพแวดล้อมต่างกันมาช่วยโต้แย้งเพื่อขัดเกลาคำนิยาม คำนิยามใดที่ยังโต้แย้งได้ก็แสดงว่ายังไม่สมบูรณ์ จะต้องหาคำจำกัดความที่ทุกคนยอมรับโดยไม่มีข้อแย้ง
            5. สรุปกฎเกณฑ์ไว้เป็นมาตรฐาน เพื่อนำไปใช้อ้างอิงต่อไป รวมถึงการพิสูจน์คำนิยามดังกล่าวด้วย
(
http://www.baanjomyut.com/10000sword/poem/07.html, 24 กันยายน 2555)
            การศึกษา หมายถึง การถ่ายทอดความรู้ ทักษะและทัศนคติของคนรุ่นก่อนให้กับอนุชนรุ่นหลังของสังคม ทั้งนี้เพราะ อนุชนรุ่นหลังคงไม่อาจเติบโตไปสู่ความเป็นผู้ใหญ่ ถ้าไม่ได้ดูดซับความเชื่อเกี่ยวกับโลกทัศน์ และทักษะในการดำรงชีวิตและแก้ปัญหาของผู้ใหญ่ ก่อนที่การศึกษาจะกลายมาเป็นกระบวนการสำคัญที่ต้องกระทำด้วยความตั้งใจและ เป็นทางการ และเป็นระบบ โดยมีกลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่ง คือ พระหรือนักปราชญ์ หรือนักวิชาการเป็นผู้รับผิดชอบนั้น(
http://www.sahavicha.com/?name=article&file=readarticle&id=320, 3 มิถุนายน 2552)
            คนในสมัยโบราณก็มีการให้การศึกษาแก่เด็กในสังคมของเขาเหมือนกัน แต่การให้การศึกษาของคนสมัยก่อนเป็นไปในลักษณะของการถ่ายทอดให้เกิดการเรียน รู้ในชีวิตประจำวันโดยอัตโนมัติ เช่น การสอนการดำรงชีพ โดยการสอนการจับปลาและการเพาะปลูก
            รวมทั้งการถ่ายทอดวัฒนธรรมทางสังคม เช่น พิธีศพ การศึกษาในลักษณะดังกล่าวไม่ใช่การศึกษาแบบเป็นทางการ ไม่ใช่การศึกษาที่เป็นระบบ และไม่ใช่กระบวนการที่จงใจกระทำขึ้นเพื่อการเรียนรู้
  จึงไม่มีกลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่งซึ่งทำหน้าที่รับผิดชอบต่อเรื่องการศึกษา  
            ดังนั้น การศึกษา คือ ปรัชญาในส่วนที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับปัญหา เป้าหมายของการศึกษาของสังคม
  โดยพยายามตอบคำถามที่ว่า เป้าหมายหรือผลที่พึงประสงค์ที่จะก่อให้เกิดกับผู้เรียนนั้นควรจะเป็นอะไร ? และเป้าหมายดังกล่าวเหมาะสมหรือไม่ ? เมื่อตอบคำถามถึงเป้าหมายของการศึกษาเสียแล้ว ก็สามารถตอบคำถาม ต่อไปได้ว่า ความรู้ใด ทัศนคติใด ทักษะใด ควรได้รับการถ่ายทอดให้แก่เขาเหล่านั้น
            การตัดสินใจร่วมกันระหว่างองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่น กับหน่วยงานทางการศึกษา ควรเป็นการตัดสินใจ ในระดับระนาบความพะวงหรือความเป็นห่วงในฐานะแห่งตนนั้นน่าจะกระจ่างได้ โดยองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่น
 จะเป็นผู้บริหารจัดการในส่วนของงบประมาณ  การติดต่อประสานงานต่าง ๆในขณะเดียวกัน  การจัดการศึกษา  จะเป็นหน้าที่โดยหน่วยงานทางการศึกษา ซึ่งก็จะมีผู้บริหารการศึกษาที่เป็นบุคลากรทางด้านการศึกษาโดยเฉพาะ  เป็นผู้บริหารงานด้านการศึกษาอย่างเป็นเอกภาพ  ไม่ถูกครอบงำโดยผู้บริหารขององค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่น  ภายใต้ความเชื่อที่ว่า
            ไม่ควรนำการเมืองมาเปื้อนปนการศึกษา แต่การเมืองต้องสนับสนุนการจัดการศึกษาอย่างเต็มที่  
            เหตุผลเชิงญาณวิทยา   ที่ว่าคนส่วนใหญ่ไม่มีความรู้เพียงพอที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในทางการเมืองได้ อย่างมีคุณภาพเเละมีประสิทธิภาพ   เหตุ-ผล คือ ถึงเเม้จะมีผู้รู้เกี่ยวกับการปกครองที่สามารถนำความรู้ไปใช้ให้ได้ผลดี มีประสิทธิภาพ เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม  จำนวนหนึ่งในสังคม  เเต่เราจะรู้ได้อย่างไร   ว่าคนกลุ่มไหนในสังคม(เป็นผู้รู้)ที่มี(คุณสมบัติเช่นนี้)   ถ้า คนส่วนใหญ่ที่ไม่ใช่ผู้รู้  ไม่สามารถ(ดูออก) ว่าใครเป็นผู้รู้  เขาเหล่านั้นก็จะไม่ยอมให้กลุ่มผู้รู้เเละผู้ที่มีความสามารถในการปกครอง  เข้าไปมีอำนาจปกครองตน   ตรงนี้จึงมาดูเรื่องของ "คุณสมบัติ" ของผู้รู้วิธีการปกครองที่ดี    นอกเหนือจากการศึกษาเเละประสบการณ์  เพราะปัญหาสังคมจะเปลี่ยนไป ตามความสัมพันธ์ระหว่างปัญหาที่เกิดขึ้นใน สังคม เเละความก้าวหน้าทาง วิทยาการต่างๆ

วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2555

การสื่อสารเปรียบเทียบ การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี:กรณีเลือกตั้งวันที่18 มีนาคม 2555 โดย..นายรหัส แสงผ่อง



การสื่อสารเปรียบเทียบ การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี:กรณีเลือกตั้งวันที่18 มีนาคม 2555
บทความโดย..นายรหัส  แสงผ่อง
บทนำ
            การเลือกตั้งในแง่มุมของกฎหมาย ก็สามารถพิจารณาออกได้เป็น
3 ประการเช่นเดียวกัน ได้แก่   ประการแรก การเลือกตั้งในฐานะที่เป็นสิทธิ(rights) หมายความว่า ความสามารถที่แต่ละบุคคลกระทำได้ภายใต้การยอมรับของกฎหมาย สิทธิจึงเป็นสิ่งที่มีอยู่ในปัจเจกบุคคลแต่ละคน และกฎหมายให้การรับรอง หากถูกละเมิด กฎหมายจะให้การคุ้มครอง การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งถือเป็นสิทธิที่สำคัญประการหนึ่งที่รัฐจะให้การ คุ้มครอง
            ประการที่สอง
การเลือกตั้งในฐานะที่เป็นเอกสิทธิ์(priviledge) หมายความว่า การที่บุคคลได้มาซึ่งเสรีภาพที่จะไม่ให้บุคคลอื่นแทรกสอดเข้ามาเกี่ยวข้อง ได้ การออกเสียงลงคะแนนจึงถือเป็นเอกสิทธิ์ที่ผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งมีความ เป็นอิสระที่จะเลือกกระทำการอย่างใดก็ได้ที่ได้รับการยอมรับจากกฎหมาย ปราศจากการแทรกแซงหรือเกี่ยวข้องของบุคคลอื่นเป็นสำคัญ
            ประการที่สาม
การเลือกตั้งในฐานะที่เป็นหน้าที่(duty) หมายความว่า การที่บุคคลจำเป็นต้องกระทำหรืองดเว้นการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งมีสภาพเป็นหน้าที่ก็ต่อเมื่อกฎหมายได้ระบุหรือ บังคับให้ผู้ออกเสียงลงคะแนนไปใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง กฎหมายได้ระบุหรือบังคับว่าการใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งถือเป็นหน้าที่ อย่างหนึ่งที่ต้องกระทำ การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งจึงเป็นหน้าที่อย่างหนึ่งในทางการเมืองที่บังคับ โดยกฎหมาย
            รูปแบบของโครงสร้างและอุปสรรคต่างๆ ในการพัฒนา  ซึ่งมักจะลงเอยด้วยการอ้างสาเหตุใหญ่ๆ ดังต่อไปนี้คือ
           
1.ท้องถิ่นไม่มีอิสระมากพอที่จะปกครองตนเอง  รัฐบาลกลางโดยเฉพาะกระทรวงมหาดไทยยังพยายามควบคุมการบริหารส่วนภูมิภาค  ทำให้การพัฒนาการปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินไปได้อย่างเชื่องช้า
           
2.รายได้ของท้องถิ่นมีไม่เพียงพอกับรายจ่าย  ทำให้จำต้องอาศัยเงินงบประมาณจากส่วนกลาง  ทำให้ขาดความอิสระและความคล่องตัว
           
3.ผู้นำส่วนท้องถิ่นยังมีทัศนคติแบบจารีตนิยม  กล่าวคือ  ยังมีความกลัวข้าราชการฝ่ายบ้านเมืองไม่กล้าแสดงออกอย่างเต็มที่  โดยเฉพาะสมาชิกสภาตำบลที่ห่างไกลความเจริญ
           
4.องค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่นยังขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถทางเทคนิคในการบริหาร  การทำงบประมาณ  การวางแผน  การร่างโครงการ ฯลฯ
           
5.องค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่นกลายเป็นที่แสวงหาประโยชน์ของคนบางกลุ่ม  จนมีคำกล่าวว่า “สภาผู้รับเหมา” เป็นต้น(ลิขิต  ธีรเวคิน,2553:286) 
            สิ่งที่เห็นว่าสำคัญและสะท้อนถึงความเป็นประชาธิปไตยในบ้านเรา คือ สื่อมวลชนทุกแขนงต้องมีสิทธิเสรีภาพอย่างแท้จริง ควบคู่ไปกับความรับผิดชอบ เสรีภาพของสื่อมวลชนคือความสามารถในการนำเสนอข่าวสารทุกด้าน ไม่ใช่ด้านรัฐบาลอย่างเดียว ต้องนำข่าวสารของประชาชน ฝ่ายค้าน และทุกๆ ฝ่ายให้ประชาชนได้ใช้วิจารญาณ ในการตัดสินใจบนพื้นฐานของความมีอิสระของสื่อ
            การ รณรงค์หาเสียงเลือกตั้งเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารทาง การเมืองของนักการเมืองและเปิดโอกาสให้ประชาชนร่วมตัดสินว่าใครจะมาเป็นผู้ ปกครองของตน นอกจากนี้การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งยังเป็นการให้สิทธิกับประชาชนในการกำหนด แนวโน้มของนโยบายที่จะมีผลต่อทั้งชีวิตส่วนตัวและส่วนรวมของประชาชน 
              การเลือกตั้งท้องถิ่น ถือเป็นรากเหง้าของระบอบประชาธิปไตย  ชาวบ้านรู้สึกว่า สามารถเลือกผู้นำของเขาเองได้ ไม่ใช่ได้คนที่เจ้านายส่งมา
 แต่ปัญหาด้านหนึ่งที่เป็นข้อเสีย คือ มีการแข่งขันสูง ใช้ความรุนแรง และหลายพื้นที่ ก็มีการสืบทอดอำนาจกันโดยผู้มีอิทธิพลในจังหวัด แต่โดยรวมการเลือกตั้งท้องถิ่นที่มีขึ้นมา 10 ปีมันค่อยๆ พัฒนาขึ้น หลายพื้นที่มีการสร้างผู้นำรุ่นใหม่ ช่วยทลายการผูกขาดของกลุ่มผู้มีอิทธิพลได้ สิ่งที่ต้องติดตามในการเลือกตั้งท้องถิ่นครั้งนี้ คือ จะแข่งกันด้วยอะไร การรณรงค์หาเสียง นโยบาย ข้อเสนอที่จะตอบแทนประชาชนอย่างไร เช่น ปรับปรุงระบบการศึกษาในพื้นที่  แต่งานวิจัยพบว่า
            การหาเสียงโดยรวม เน้นข้อเสนอในระยะสั้นมากกว่าระยะยาว และส่วนใหญ่ยังเป็นตระกูลนักการเมืองเป็นคุมฐานเสียงในจังหวัด ขณะที่กลุ่มใหม่มักจะขายความคิดใหม่ในเรื่องการดูแลประชาชน       องค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือ อบจ. เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีจังหวัดละ
1 แห่ง ยกเว้น กรุงเทพมหานคร องค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือ อบจ. มีเขตรับผิดชอบครอบคลุมทั้งจังหวัด มีงบประมาณในการพัฒนาท้องถิ่นแห่งละไม่ต่ำกว่า ร้อยล้านบาท โดย อบจ. บางแห่ง ได้รับงบประมาณถึง 400 ล้านบาท
            กาญจนบุรีอยู่ห่างจากกรุงเทพฯประมาณ 129 กิโลเมตร  พื้นที่ติดต่อกับประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ตลอดแนวระยะทาง 370 กิโลเมตร 
            โดยมีเทือกเขาตะนาวศรีเป็นเส้นแบ่งเขต  มีพื้นที่
19,483 ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ 12,176,968 ไร่ มีพื้นที่มากเป็นลำดับที่ 3 ของประเทศรองจากจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดเชียงใหม่         พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าไม้ประมาณ 7,445,151 ล้านไร่ และพื้นที่ถือครองทางการเกษตรประมาณ 3,024,548 ล้านไร่  ลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขา กลุ่มเขา หุบเขา ป่าไม้และที่ราบลุ่มสำหรับรองรับน้ำไหลลงสู่ที่ต่ำ
            ประกอบด้วยเทือกเขาถนนธงชัย  เทือกเขาตะนาวศรี และทุ่งใหญ่นเรศวร  แม่น้ำแควใหญ่ แควน้อย และแม่น้ำแม่กลอง  ภูมิอากาศแบบฝนเมืองร้อน 

            แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 13 อำเภอ 95 ตำบล 959 หมู่บ้าน  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 122 แห่ง ประชากรจำนวน 841,633 คน
 
เปรียบเทียบการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี
            การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2555 ได้พบกรณีศึกษาที่น่าสนใจโดยสรุปได้ดังนี้
การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของ นายรังสรรค์ รัศมีฤกษ์เศรษฐ์
            นายรังสรรค์
 รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ หรือเสี่ยสรรค์ คืออดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.)กาญจนบุรี บ้านเกิดอยู่ที่จังหวัดสมุทรปราการ แต่อยู่และมีธุรกิจอยู่ในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรีมาโดยตลอด ผันตัวเองจากสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดฯ
            ซึ่งเคยเป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี เขตอำเภอสังขละบุรีหลายสมัยติดต่อกัน ลงเล่นการเมืองระดับท้องถิ่นในระดับอำเภอ ลงสมัครเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลสังขละบุรี และครองเก้าอี้นายกเทศมนตรีฯ ถึง 3 สมัย เป็นบุตรชายคนโตของ นายสุนทร รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ หรือที่รู้จักกันในชื่อเสี่ยฮุก นักธุรกิจค้าไม้ชื่อดังระดับประเทศ ซึ่งมีทั้งบารมี อำนาจและทรัพย์สินเหลือล้น  ประกอบกับ มี นางศรีสมร รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ ส.ส.กาญจนบุรี เขต 5 พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นภรรยาและ นายฉัตรพันธ์ เดชกิจสุนทร ส.ส.กาญจนบุรี เขต 2 พรรคประชาธิปัตย์ ผนึกกำลังลงพื้นที่หาเสียงด้วย การหาเสียงเริ่มด้วยการใช้รถแห่โชว์ตัว ตั้งแต่ก่อนการรับสมัครเลือกตั้ง และต่อเนื่องจนวันสุดท้ายก่อนการลงคะแนนเสียง เน้นเดินหาเสียงในเขตพื้นที่ชุมชน เช่น อ.ท่าม่วง ท่ามะกา และ อ.เมือง ที่ถือว่ามีคะแนนมาก
            โดยนายรังสรรค์ รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ ได้เปรียบในส่วนของผู้สมัคร สมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ส.อบจ.) เป็นคนเก่าจำนวนมากกว่าและมีฐานเสียงที่รวมระหว่างประชาธิปัตย์กับการเมืองท้องถิ่นที่มีการสนับสนุนในขณะดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรีสมัยที่แล้ว
            โดยเน้นขายนโยบายสานงานต่อเพื่อพัฒนากาญจนบุรีสู่เวทีโลก โดยนโยบาย 4 หลัก 5 แนวทาง 9 ยุทธศาสตร์  พัฒนาจังหวัดกาญจนบุรีเป็นศูนย์กลางแห่งการท่องเที่ยวเศรษฐกิจ ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ในอีก 5 ปีข้างหน้า โดยนายรังสรรค์ รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ ได้ดำเนินกลยุทธ์การรณรงค์(strategies) หาเสียงเลือกตั้ง   ลำดับได้ดังนี้
 
การตลาดทางการเมือง 
            “ช่วงชิงที่มั่นคู่ต่อสู้ให้มากที่สุด ในเขตพื้นที่นอกฐานเสียง นายรังสรรค์ รัศมีฤกษ์เศรษฐ์  ได้ใช้กลยุทธ์การแบ่งส่วนการตลาด (segmentation strategies) นั้นคือการเจาะเข้าไปในฐานคะแนนเสียงเดิมของคู่แข่งขันโดยใช้การโจมตี จากจุดด้อย(weakness) ของคู่แข่งขันและความล้มเหลว
            ในการบริหารประเทศของพรรครัฐบาลที่คู่แข่งสังกัดอยู่คือพรรคเพื่อไทยในนโยบายที่ไม่อาจทำให้เห็นได้เป็นรูปธรรม ถึงแม้การใช้ระบบหัวคะแนนอาจดูไม่ได้ผลในฐานเสียงนี้ก็ตาม แต่ใช้การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย(target group) โดยตรง ได้แก่ชนชั้นปัญญาชน กับกลุ่มเกษตรกรรม ด้วยตัวเอง         ประกอบกับการ รุกคืบด้วยการช่วยรณรงค์จากพรรคการเมืองโดยการนำของอดีตนายกรัฐมนตรีอย่างนายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ ทำให้สามารถดึงคะแนนจากฐานเสียงคู่ต่อสู่มาได้พอสมควรเพียงพอที่จะชนะคู่แข่งได้อย่างทิ้งห่าง
            ซึ่งนายรังสรรค์ รัศมีฤกษ์เศรษฐ์  ได้เลือกใช้กลยุทธ์ส่วนผสมทางการตลาด 4P’s มาใช้ในการรณรงค์หาเสียงในเขตฐานเสียงของคู่ต่อสู้นั้นคือ คือผลิตภัณฑ์ทางการเมือง (product) P ตัวที่สองคือ การตลาดแบบผลักดัน (push marketing) P ตัวที่สามคือ การตลาดแบบดึงดูด (pull marketing) และ P ตัวที่สี่คือ การหยั่งเสียง (polling) (นันทนา นันทวโรภาส, 2548:168)
ผลิตภัณฑ์ทางการเมือง (product) คือ
            ปัจจัยส่วนบุคคลของนายรังสรรค์ รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ มีการวางตำแหน่ง ( positioning) ให้นายรังสรรค์ รัศมีฤกษ์เศรษฐ์  เป็นผู้นำด้านการพัฒนาที่ไม่แบ่งแยกฝ่าย และใกล้ชิดเคียงข้างประชาชน
            ดังคำขวัญที่ใช้หาเสียงที่ว่า
ไม่แบ่งแยกร้อยใจเป็นหนึ่งเดียว พบง่าย  พึ่งได้ คนเดิม  คนดี มีผลงานซึ่งการตลาดแบบผลักดันที่ นายรังสรรค์ รัศมีฤกษ์เศรษฐ์  เลือกใช้
            คือ การนำเสนอผลงานของต้นเองที่โดดเด่น และเป็นรูปธรรม ในทิศทางบวกของตนควบคู่ไปกับ การดำเนินงานร่วมกับรัฐบาลสมัยที่ผ่านมา มีการสร้างภาพลักษณ์ (image) ที่โดดเด่นให้เห็นความแตกต่างที่ชัดเจนนั้นของ 
            นายรังสรรค์ รัศมีฤกษ์เศรษฐ์  คือผู้ที่เหมาะกับการรับใช้ประชาชนในท้องถิ่น มากกว่าคู่แข่งที่มิได้มีความรู้ประสบการณ์เกี่ยวกับท้องถิ่นมากกว่า
            นายรังสรรค์ รัศมีฤกษ์เศรษฐ์  ผู้วิจัยพบว่า ข้อได้เปรียบจากการเป็นนักการเมืองท้องถิ่นมายาวนานของนายรังสรรค์ รัศมีฤกษ์เศรษฐ์  ถือเป็นจุดขายที่เหนือ(streng)กว่าคู่แข่ง ประกอบกับมีผลงานที่เป็นรูปธรรมสามารถจับต้องได้ มาโดยตลอด
            การสร้างภาพลักษณ์ หรือ การสร้างภาพพจน์เป็นกลยุทธ์ที่สำคัญที่จะแสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างผู้สมัครและคู่แข่งทางการเมือง เช่นระดับการศึกษา และประสบการณ์ที่แสดงให้เห็นความเหนือกว่าคู่แข่ง และการแสดงภาพลักษณ์ที่ดีของผู้สมัคร
            นโยบายที่ใช้ในการหาเสียงนั้นคือ 4หลัก 5แนวทาง 9 ยุทธศาสตร์ ซึ่งมองเห็นได้เป็นรูปธรรมมาก่อนแต่เดิม สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่ได้อย่างตรงเป้าหมายที่สุด 

            และสร้างการเปรียบเทียบผลงานที่แตกต่างโจมตีคู่แข่งจากฐานนโยบายที่ไม่อาจสร้างเป็นรูปธรรมได้อย่างจริงจัง รวมไปถึงความรู้ความเข้าใจในท้องถิ่นของคู่แข่ง เนื่องจากมิเคยเป็นผู้แทนทางการเมืองในท้องถิ่นมาแต่เดิม
การตลาดแบบผลักดัน
(push marketing)
            ได้แก่การเข้าถึงประชาชนกลุ่มเป้าหมาย (target  voters) โดยการสื่อสารทางตรง แบบประชิดตัวถึงผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งหรือเรียกว่า ground war ไม่ผ่านสื่อมวลชนใดๆ  โดยใช้ช่องทางเครือข่ายของผู้สมัครในระดับรากหญ้า  ได้แก่ อาสาสมัคร  อาทิเช่น  รถแห่  การเคาะประตูบ้าน  การส่งจดหมาย  การปรากฏตัวตามงานสังคมต่างๆ  การเปิดปราศัยเข้าไปในกลุ่มย่อยๆ และกลุ่มใหญ่สลับกันไป
            มีการกำหนดปฏิทินการหาเสียงที่สามารถยืดหยุ่นได้ตามสถานการณ์ การออกเดินหาเสียงอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย แทบกล่าวได้ว่าทุกเวลาคือการหาเสียงเท่านั้น
            การได้พักผ่อนจากการหลับนั้นถือว่าน้อยมาก  ไม่เปิดโอกาสให้คู่แข่งสามารถเข้ามาสร้างฐานคะแนนได้ในเขตพื้นที่ของตน

การตลาดแบบดึงดูด
(pull marketing)
            พบว่านายรังสรรค์ รัศมีฤกษ์เศรษฐ์  ดึงดูดฐานคะแนนคู่ต่อสู้โดยการ วางแผนผลิตสื่อต่างๆกับทีมงาน พบว่า
มีการใช้  Air War ในการรณรงค์หาเสียง อาทิเช่น สื่อสิ่งพิมพ์ท้องถิ่นทุกฉบับต้องมีการรณรงค์ของตนลงทุกฉบับทุกวัน การใช้สื่อทีวีเคเบิ้ล วิทยุ ซึ่งผู้วิจัยพบว่า เป็นการรณรงค์หาเสียงที่ต่อเนืองมากในการหาเสียงเลือกตั้งในครั้งนี้
            ส่วนพื้นที่ฐานของตนจะใช้สื่อสารผ่าน ป้ายรณรงค์ แผ่นพลับใบปลิว  เข้าไปสำทับซ้ำอีกในเวลาถัดมาอย่างต่อเนื่อง
            โดยอาศัยระบบอุปถัมภ์อันได้แก่อาศัยหัวคะแนนที่มีอิทธิพลเหนี่ยวนำจิตใจ และเป็นที่น่าเคารพนับถือมาเป็นแรงเสริมในการหาเสียง ญาติ แนวร่วมทางธุรกิจ นักการเมืองท้องถิ่น ที่สำคัญจากหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และบรรดา ส.ส.ในพื้นที่ ที่สามารถเรียกคะแนนเสียงหลักๆ ให้แก่นายรังสรรค์ รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ 
            โดยหวังว่าแม้เพียงแค่หนึ่งคะแนนเสียงของฐานคะแนนของคู่ต่อสู้ ก็ถือว่าคุ้มค่าสำหรับการรณรงค์แล้ว หากได้มากกว่าย่อมทำให้ชัยชนะอยู่ใกล้แค่เอื้อม
            ควบคู่ไปกับการรณรงค์โดย  รถกระจายเสียง ป้ายรณรงค์ แผ่นพับใบปลิว และทั้งยังมีการรณรงค์ผ่านสื่อมวลชน อันได้แก่ หนังสือพิมพ์ วิทยุและโทรทัศน์ ประจำท้องถิ่นท้องถิ่น
การหยั่งเสียง
(polling)
            เป็นการสำรวจความคิดเห็นเพื่อใช้ในการตัดสินใจปรับปรุงกลยุทธ์ โดยนายรังสรรค์ รัศมีฤกษ์เศรษฐ์  ก็ได้ดำเนินการร่วมกับทีมงาน สำรวจโดยการสอบถามความคิดเห็นและการสังเกตจากความสนใจของผู้เข้าร่วมในการฟังปราศรัย
            ซึ่งเห็นได้ว่า มีจำนวนมากทุกครั้งที่เข้ารับฟังการปราศรัย โดยมิได้เป็นการบังคับกะเกณฑ์แต่อย่างใด จากนั้นก็ได้มีการนำข้อมูลเหล่านั้นมาประเมินใน ศูนย์ปฏิบัติการ (war room) และศูนย์การสื่อสารข้อมูลในแทบทุกพื้นที่ของจังหวัดกาญจนบุรี ของนายรังสรรค์ รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ 
            เพื่อประเมินคะแนนเสียงที่คาดว่าจะได้ทั้งจากพื้นที่และนอกพื้นที่ฐานคะแนนของตน และการสอดส่องการทุจริตของฝ่ายตรงข้าม 

            ที่สำคัญเพื่อตรวจสอบผลการดำเนินการที่ผ่านมาในทุกพื้นที่และนำมาปรับปรุงแก้ไขกลยุทธ์     เพื่อให้สอดคล้องเหมาะสมกับพื้นที่มากที่สุด ซึ่งในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน   ซึ่งเบื้องต้นจะสามารถระบุได้  ไม่ชัดเจนนัก แต่เมื่อมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
            ทำให้ทราบว่าตนเองมีคะแนนโพลนำ คู่ต่อสู้  ยิ่งต้องทำให้โหมรักษาความมั่นคงของฐานคะแนนมิให้ถูกชิงคืนไปได้
            ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี  เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2555  ปรากฏว่านายรังสรรค์  รัศมีฤกษ์เศรษฐ์  ผู้สมัครหมายเลข 1 ได้คะแนน  183,513  คะแนน  และพลโท มะ  โพธิ์งาม  ผู้สมัครหมายเลข 2 ได้คะแนน  141,831  คะแนน (คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดกาญจนบุรี, 18 มีนาคม 2555)

การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของ พล.ท.มะ โพธิ์งาม

            พล.ท.มะ โพธิ์งาม
บ้านเกิด อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี อดีตข้าราชการทหารผู้เป็นที่รู้จักกันในจังหวัดกาญจนบุรี 
            เป็นอดีต
รองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงคมนาคม อดีต ส.ส.กาญจนบุรี และเพื่อนร่วมรุ่น ตท.10 ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีต นายกรัฐมนตรี  ได้เดินลงพื้นที่หาเสียงแบบเคาะบ้านเช่นกัน ใช้บุคลิกส่วนตัวที่ติดดิน  เข้าคนง่าย  เดินเจาะฐานชุมชนต่างๆ ด้วยตัวเองเช่นกัน ส่วนทีมงานใช้ตัวแทนลงพื้นที่ แบบดาวกระจายในทุก อำเภอ ฐานเสียงเป็นฐานของพรรคเพื่อไทย
            และกลุ่มคนเสื้อแดงกาญจนบุรี ออกมาช่วยอย่างชัดเจน เป็นทหารเก่าและอยู่ในส่วนของฝ่ายบริหาร จึงเป็นจุดที่ทำให้ชื่อของ
พล.ท.มะ โพธิ์งาม  ติดปากชาวบ้านได้อย่างรวดเร็ว 
โดยพล.ท.มะ โพธิ์งาม  ได้ดำเนินกลยุทธ์การรณรงค์(strategies) หาเสียงเลือกตั้ง   ลำดับได้ดังนี้  การตลาดทางการเมือง  เป็นผู้ประสานงานกับรัฐบาลเพื่อ ผลักดันโครงการของรัฐบาลให้เกิดรูปธรรมและนำไปสู่การพัฒนากาญจนบุรี ที่จะต้องเป็นศูนย์กลางทางการค้าในอนาคต  โดยเน้นการพัฒนาจังหวัดกาญจนบุรี โดยวางแผนให้เป็นเมืองแห่งสังคมพัฒนาใน 8 ด้านได้แก่ 
1
.ด้านการศึกษา
2.การผลักดันให้เกิดหนึ่งทีมฟุตบอลในฝัน
3. อุทยานท่องเที่ยวกาญจนบุรี
4. เปิดประตูการค้าชายแดน (ตลาดโรงเกลือ 2)
5. 50 ล้านเพื่อพี่น้องเกษตรกร
6. ฟื้นฟูและส่งเสริมสินค้าหนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล
7. เอส เอ็ม แอล สู่ชุมชน และ
8. เชื่อมโยงนโยบายรัฐบาล
            โดยเน้น การเปลี่ยนแปลงกว่าสี่ปีที่ผ่านมา ด้วยคำขวัญที่ว่า
4 ปีที่พี่น้องประชาชนรอคอยการเปลี่ยนแปลง  ความสามัคคีและเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
            ที่จะทำให้เมืองกาญจน์บ้านเรา เจริญก้าวหน้าต่อไปได้ จากนโยบายงบประมาณและความร่วมมือระดับประเทศ สู่ระดับจังหวัด สู่ท้องถิ่นกระจายถึงพี่น้องประชาชนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกันและคำว่าคิดดี ทำดี เพื่อกาญจนบุรีบ้านเรา 
             จากการศึกษาพบว่า
พล.ท.มะ โพธิ์งาม ได้มีนโยบายการรณรงค์หาเสียงที่คล้ายคลึงกัน กับนายรังสรรค์ รัศมีฤกษ์เศรษฐ์  โดยรูปแบบกลยุทธ์ส่วนผสมทางการตลาด 4 P ‘s มาใช้เช่นกันกล่าวคือ  
ผลิตภัณฑ์ทางการเมือง (product)
คือ ปัจจัยส่วนบุคคลของพล.ท.มะ โพธิ์งาม ด้วยภาพลักษณ์ (image)  ความเป็นทหารมีความรู้ความสามารถ ซื่อสัตย์ภักดี ต่อสถาบันพระมหากษัตริย์  มีประสบการณ์บริหารงาน และตำแหน่งทางการเมืองระดับชาติ
พบว่า ข้อได้เปรียบจากการเป็นนักการเมืองระดับบริหารในพรรคเพื่อไทย ผู้กุ่มอำนาจบริหารประเทศ  ถือเป็นจุดขายที่เหนือ(strength)กว่าคู่แข่ง
นโยบายที่ใช้ในการหาเสียงนั้นคือ เป็นผู้ประสานงานกับรัฐบาล  เพื่อผลักดันโครงการของรัฐบาล  ให้เกิดรูปธรรมและนำไปสู่การพัฒนากาญจนบุรี  และ 8 ภารกิจ คือ
1
.ด้านการศึกษา
2.การผลักดันให้เกิดหนึ่งทีมฟุตบอลในฝัน

3. อุทยานท่องเที่ยวกาญจนบุรี
4. เปิดประตูการค้าชายแดน (ตลาดโรงเกลือ 2)
5. 50 ล้านเพื่อพี่น้องเกษตรกร
6. ฟื้นฟูและส่งเสริมสินค้าหนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล
7. เอส เอ็ม แอล สู่ชุมชน และ
8. เชื่อมโยงนโยบายรัฐบาล
เน้น การเปลี่ยนแปลงจากการบริหารงานของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดคนเดิม คือนายรังสรรค์ รัศมีฤกษ์เศรษฐ์  จากฐานแห่งความเป็นนักธุรกิจที่มาเล่นการเมือง
ซึ่งอาจมีการบริหารงานอย่างไม่โปร่งใส ในโครงการต่างๆที่ได้ดำเนินการมาแล้ว และนำเสนอตัวเอง ในรูปของนักการเมืองที่ซื่อสัตย์โปร่งใส และเป็นข้าราชการทหาร ที่ปราศจากมลทิน  ซึ่งพล.ท.มะ โพธิ์งาม ได้กล่าวปราศรัยในทุกเวทีมาโดยตลอด
การตลาดแบบผลักดัน
(push marketing)
           ซึ่งมีความคล้ายกันกับ
นายรังสรรค์ รัศมีฤกษ์เศรษฐ์  ได้แก่การเข้าถึงประชาชนกลุ่มเป้าหมาย (target  voters) โดยการสื่อสารทางตรง  ซึ่งผู้วิจัยพบว่า เป็นการรณรงค์หาเสียงที่ต่อเนืองมากในการหาเสียงเลือกตั้ง ในครั้งนี้ และใช้ ground war อาทิเช่น รถแห่  การเคาะประตูบ้าน  การส่งจดหมาย  การปรากฏตัวตามงานสังคมต่างๆ  การเปิดปราศัยเข้าไป  ในกลุ่มย่อยๆ และกลุ่มใหญ่สลับกันไป
มีการกำหนดปฏิทินการหาเสียง  ที่สามารถยืดหยุ่นได้ ตามสถานการณ์ การออกเดินหาเสียงอย่างต่อเนื่อง
การตลาดแบบดึงดูด (pull marketing)
            พบว่าพล.ท.มะ โพธิ์งาม ดึงดูดฐานคะแนนโดยลงพื้นที่ โดยการวางแผนผลิตสื่อต่างๆกับทีมงาน ทั้งจากกลุ่มหัวคะแนน, ตัวแทนพรรคการเมืองระดับท้องถิ่นและระดับชาติ  Air War อาทิเช่น สื่อสิ่งพิมพ์ท้องถิ่นทุกฉบับ  ต้องมีการรณรงค์ของตน  ลงทุกฉบับทุกวัน การใช้สื่อทีวีเคเบิ้ล วิทยุ
            เป็นที่สังเกตได้ว่าได้รับการสนับสนุนจากแนวร่วมคนเสื้อแดงอย่างชัดเจน  ชูนโยบายอ้างอิงไปถึงรัฐบาล,การเพิ่มงบประมาณจากรัฐบาล ในการพัฒนาจังหวัด
            และผลงานที่สร้างความเจริญรุ่งเรือง  ครั้งสมัยเป็นพรรคไทยรักไทย มีการกระจายปราศรัยในกลุ่มย่อยๆ และซ้ำๆ อย่างต่อเนื่อง
            อาศัยระบบอุปถัมภ์อันได้แก่ อาศัยหัวคะแนนกลุ่มเดิม และกลุ่มคนเสื้อแดงที่มีอิทธิพลเหนี่ยวนำจิตใจ และเป็นที่น่าเคารพนับถือมาเป็นแรงเสริมในการหาเสียง
            โดยหวังว่าฐานเสียงและกระแสของรัฐบาลและคนเสื้อแดงจะส่งเสริมให้ได้รับชัยชนะ คะแนนอุปถัมภ์ สายข้าราชการทหาร นักการเมืองท้องถิ่น
            ที่สำคัญจากนายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรีและบรรดา ส.ส.ในพื้นที่ ที่สามารถเรียกคะแนนเสียงหลักๆ ให้แก่พล.ท.มะ โพธิ์งาม โดยหวังว่าการเป็นตัวแทนจากพรรครัฐบาลจะได้คะแนนเสียงของฐานคะแนนคู่ต่อสู้ได้เป็นอย่างมาก
            ควบคู่ไปกับการรณรงค์โดย ป้ายรณรงค์ แผ่นพับใบปลิว และทั้งยังมีการรณรงค์ผ่านสื่อมวลชน
            อันได้แก่ หนังสือพิมพ์ วิทยุและโทรทัศน์ ประจำท้องถิ่นท้องถิ่น โดยต่อเนื่องไม่แพ้กัน
การหยั่งเสียง (polling)
            เป็นการสำรวจความคิดเห็น  เพื่อใช้ในการตัดสินใจปรับปรุงกลยุทธ์ โดยพล.ท.มะ โพธิ์งาม ก็ได้ดำเนินการร่วมกับทีมงาน สำรวจโดยการสอบถามความคิดเห็นและการสังเกตจากความสนใจของผู้เข้าร่วมในการฟังปราศรัย
            และจากบรรดาหัวคะแนน  ที่คาดว่าจะได้จากกลุ่มหัวคะแนน หรือผู้อุปถัมภ์อื่นๆ โดยเฉพาะการลงมาช่วยของหัวหน้าพรรคและบรรดา ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลหลายๆ คน
            โดยการนำของ นายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร  โดยมิได้เป็นการบังคับกะเกณฑ์แต่อย่างใด  ซึ่งสร้างความมั่นใจว่าจะชนะการเลือกตั้ง
            จากนั้นก็ได้มีการนำข้อมูลเหล่านั้นมาประเมินใน ศูนย์ปฏิบัติการ (war room) ของพล.ท.มะ โพธิ์งาม เพื่อประเมินคะแนนเสียงที่คาดว่าจะได้ทั้งจากพื้นที่ และนอกพื้นที่ฐานคะแนนของตน
            ซึ่งก็มีผลออกมาโดยตลอดว่าตนเองมีคะแนนเสียงที่ใกล้เคียงกับคู่แข่งขัน ถึงแม้ในช่วงตอนต้น จะได้รับคำ วิพากษ์วิจารณ์ว่า เป็นรองนายรังสรรค์ รัศมีฤกษ์เศรษฐ์  อยู่ก็ตาม

วิเคราะห์เปรียบเทียบนโยบายการรณรงค์หาเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้งนายก อบจ.กาญจนบุรี   
           บรรยากาศการหาเสียงโค้งสุดท้ายเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วน จังหวัด (นายก อบจ.) กาญจนบุรี และสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ส.อบจ.) กาญจนบุรี ที่มีการเลือกตั้งในวันอาทิตย์ที่ 18 มี.ค.55 นี้
            โดยมีผู้สมัครรับเลือกตั้งนายก อบจ.กาญจนบุรี 2 ราย คือ นายรังสรรค์ รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ อดีตนายก อบจ.กาญจนบุรี เบอร์ 1 และพลโทมะ โพธิ์งาม ผู้อดีต ส.ส.กาญจนบุรี และอดีต ผช.รมว.คมนาคม เบอร์ 2
       โดยนายรังสรรค์ รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ เบอร์ 1 ใช้การหาเสียงโดยใช้ รถแห่โชว์ตัว เน้นเดินหาเสียง ในเขตพื้นที่ชุมชน เช่น อ.ท่าม่วง ท่ามะกา และ อ.เมือง ที่ถือว่ามีคะแนนมาก
           
โดยนาย รังสรรค์ ได้เปรียบในส่วนของผู้สมัคร ส.อบจ.เป็นคนเก่าจำนวนมากกว่าและมีฐานเสียงที่รวมระหว่างประชาธิปัตย์กับการเมืองท้องถิ่น ที่มีการสนับสนุนในขณะดำรงตำแหน่งนายก อบจ.กาญจนบุรีสมัยที่แล้ว
            โดยเน้นขายนโยบายสานงานต่อ  เพื่อพัฒนากาญจนบุรีสู่เวทีโลก
  โดยนโยบาย 9 แนวทาง พัฒนาจังหวัดกาญจนบุรีเป็นศูนย์กลางแห่งการท่องเที่ยวเศรษฐกิจ ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ในอีก 5 ปีข้างหน้า ยึดหลัก 4 ประการ คือ
1.หลักธรรมมาภิบาล หลักนิติธรรม
2.หลักการจัดการความรู้
3.หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน
4.หลักความรับผิดชอบต่อส่วนรวม   
และเสนอ 5 แนวทางในการปฏิบัติ คือ
1.แนวแนวยึดประโยชน์สูงสุดของประชาชน
2.แนวทางผสมผสานการจัดการนวัตกรรม
3.แนวทางบูรณาการกับทุกภาคส่วนอย่างมีประสิทธิภาพ
4 .แนวทางการสร้างคุณค่ามูลค่าทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
5.แนวทางการพัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพ   
ภายใต้ 9 ยุทธศาสตร์ที่ได้จัดวางเพื่อนำไปสู่การพัฒนาคือ
1.พัฒนาและยกระดับการศึกษาให้เป็นมาตรฐานสากล
2.ส่งเสริมการท่องเที่ยวและประชาสัมพันธ์
3.ส่งเสริมอุตสาหกรรมเศรษฐกิจ การค้าชายแดนทวายโปรเจ็คต์ เวสเทริ์นซีบอร์ดเป็นศูนย์การค้าภาคตะวันตก
4.พัฒนาสาธารณูปโภค คมนาคมและโครงสร้างพื้นฐาน
5.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
6.ส่งเสริมกีฬา และนันทนาการ
7.ส่งเสริมคุณค่าทางสังคมศีลธรรม จริยธรรม วัฒนธรรม และประเพณีท้องถิ่น
8.การสาธารณสุขสิ่งแวดล้อม และจัดตั้งศูนย์การเตือนภัยพิบัติ และ
9.กระบวนการมีส่วนร่วม เปิดเวทีสัญจรเยี่ยมท้องถิ่น เปิดรับข้อเสนอแนะจากภาคเอกชน และทุกภาคส่วน

ส่วนทางด้าน พลโทมะ โพธิ์งาม ผู้สมัคร เบอร์
2
            ได้เดินลงพื้นที่หาเสียงแบบเคาะบ้านเช่นกัน ใช้บุคลิกส่วนตัวที่ติดดิน เข้าคนง่าย เดินเจาะฐานชุมชนต่างๆ ด้วยตัวเองเช่นกัน
ส่วนทีมงานใช้ตัวแทนลงพื้นที่แบบดาวกระจาย ในทุก อำเภอ ฐานเสียงเป็นฐานของพรรคเพื่อไทย
            และกลุ่มคนเสื้อแดงกาญจนบุรี ออกมาช่วยอย่างชัดเจน เป็นทหารเก่าและอยู่ในส่วนของฝ่ายบริหาร จึงเป็นจุดที่ทำให้ชื่อของพลโทมะ ติดปากชาวบ้านได้อย่างรวดเร็ว
   
            ส่วนการหาเสียงโดยเน้นจุดขายนโยบายเป็นผู้ประสานงานกับรัฐบาลเพื่อ ผลักดันโครงการของรัฐบาลให้เกิดรูปธรรมและนำไปสู่การพัฒนากาญจนบุรี ที่จะต้องเป็นศูนย์กลางทางการค้าในอนาคต โดยเน้นการพัฒนาจังหวัดกาญจนบุรี
            โดยวางแผนให้เป็นเมืองแห่งสังคมพัฒนา ทั้งด้านการศึกษา การผลักดันให้เกิดหนึ่งทีมฟุตบอลในฝัน, อุทยานท่องเที่ยวกาญจนบุรี, เปิดประตูการค้าชายแดน (ตลาดโรงเกลือ 2), 50 ล้านเพื่อพี่น้องเกษตรกร, ฟื้นฟูและส่งเสริมสินค้าหนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล เอส เอ็ม แอล สู่ชุมชน และเชื่อมโยงนโยบายรัฐบาล   
             ด้านเกจิข้างสนามที่เฝ้าติดตามการเลือกตั้งในครั้งนี้ได้ให้ทรรศนะว่า การ เลือกตั้งนี้ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงทางสังคมการเมืองท้องถิ่นกาญจนบุรี
             เริ่มจากกลุ่มการเมืองท้องถิ่นกับกลุ่มการเมืองระดับชาติเริ่มเข้ามามีส่วน ร่วมในการคิดการแข่งขันอย่างพลิกโฉม เพราะเดิมเป็นแค่ท้องถิ่นสู้กับท้องถิ่น
             แต่ตอนนี้ อบจ.กาญจนบุรี กลายเป็นเวทีระดับชาติและจะพัฒนาไปสู่ศูนย์กลางการค้าระดับประเทศในภูมิภาค นี้ ดังนั้น จึงทำให้สีสันการหาเสียงเข้มข้นมากขึ้น   
             ส่วนแนวโน้มความได้เปรียบเสียเปรียบต้องยอมรับว่า สูสีกันมากโดยฝ่ายนายรังสรรค์ ได้เปรียบฐานคะแนนจาก ส.อบจ.เก่า และท้องถิ่นหลายแห่งให้การสนับสนุน
            ส่วนทางพลโทมะ ก็เป็นอดีต ส.ส.กาญจนบุรีเขต 1 แบบการเลือกตั้งพวงใหญ่ที่เคยได้คะแนนสูงมาก 80,000 กว่าคะแนน และตอนนี้อยู่ในซีกของรัฐบาล
   
       หากให้มองว่าผลการเลือกตั้งจะออกมาอย่างไร วันนี้ยังไม่สามารถชี้ชัดได้ ต้องดูจากหลายตัวแปรที่จะเกิดขึ้น ในช่วงโค้งสุดท้ายนี้ ฐานคะแนนเสียงของชน ชั้นกลางในพื้นที่ชุมชนเมืองใหญ่ต่างในพื้นที่ อ.เมือง ท่าม่วง ท่ามะกา
            ที่ยังไม่ตัดสินใจว่า จะเลือกใครน่าจะเป็นจุดชี้ขาดว่าใครจะเข้าวิน เรียกว่า ใครเดินหาเสียงตรงเป้าก็ได้คะแนนไป แต่ท่ามกลางข่าวลือว่ามีการล่ารายชื่อชาวบ้านในแต่ละพื้นที่  เพื่อนำไปทำฝนเทียม หากฝนตกห่าใหญ่ ใครก็ไม่สารถเดาได้ว่าผลการเลือกตั้งจะเป็นอย่างไร   
       เชื่อได้ว่าทั้งสองฝ่ายจะใช้กลยุทธ์ในการหาเสียง  เพื่อได้คะแนนในทุก วิธี ตัวแปรที่สำคัญ คือ คะแนนจัดตั้งที่กำลังช่วงชิงกันอย่างหนัก
            โดยในส่วนของผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ต่างเสียวไปตามกัน เพราะจะมีพฤติกรรมแบบ รักพี่เสียดายน้องไม่ได้ ในที่สุดวันเลือกตั้ง 18 ม.ค.55 จะเป็นวันชี้ขาด
            เพราะต้องเลือกข้างลงคะแนนว่าจะอยู่ฝ่ายไหน จะช่วยหัวทางนี้ หรือถือหางอีกทาง ก็จะส่งผลเปลี่ยนแปลงผลการเลือกตั้งได้เช่นกัน
สรุปผลการศึกษาและข้อเสนอแนะ

สรุปผลการศึกษา ดังลำดับต่อไปนี้
บริบททางการเมือง
  เศรษฐกิจและสังคม ที่ส่งผลต่อการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองระดับชาติ ความนิยมในพรรคการเมือง, สภาพเศรษฐกิจที่เกิดจากการเป็นแหล่งอุตสาหกรรมเกษตรและการท่องเที่ยวระดับประเทศ  และสังคม ที่ยังต้องพึ่งพาผู้นำทางความคิด ผู้นำชุมชนมากกว่าการตัดสินใจด้วยตนเอง อย่างมีเหตุและผลที่เหมาะสม มากกว่าการนำเสนอจากหน่วยงานทางราชการหรือรัฐบาล และสภาพภูมิประเทศ ที่ส่งผลให้เกิดความแตกต่างทางด้านเชื้อชาติ การศึกษา รายได้ และการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องรวดเร็ว
              
1.
กระบวนสื่อสารการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด  ได้แก่การใช้หลักส่วนผสมทางการตลาด 4P’s โดยใช้หลักของการสื่อสารทางการเมือง  แนวคิดการสื่อสารสองจังหวะ และแนวคิดเรื่องระบบอุปถัมภ์เข้ามาเป็นตัวกำหนด รูปแบบ เนื้อหา และวิธีการ รณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง โดยอยู่ภายใต้กรอบแนวคิดการตลาดทางการเมือง
             2.รูปแบบ เนื้อหา และวิธีการ
ที่ใช้ในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ได้แก่ การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง โดยทางตรงและทางอ้อม  ทางตรงจากการสื่อสารโดยวิธีการลงพื้นที่ด้วยตนเอง  ทางอ้อม โดยใช้การรณรงค์ผ่านหัวคะแนน ผู้อุปถัมภ์ สื่อมวลชน และการสื่อสารทั้ง 2 ส่วน คือ  Air war อาทิเช่น แผ่นพับ ใบปลิว ป้าย สื่อสิ่งพิมพ์ท้องถิ่นทุกฉบับต้องมีการรณรงค์ของตนลงทุกฉบับทุกวัน การใช้สื่อทีวีเคเบิ้ล วิทยุ    ซึ่งผู้วิจัยพบว่า เป็นการรณรงค์หาเสียงที่ต่อเนื่องมาก ในการหาเสียงเลือกตั้งในครั้งนี้ และ ground war อาทิเช่น การเปิดปราศรัยเข้าไปในกลุ่มย่อยๆ และกลุ่มใหญ่สลับกันไป โดยใช้เนื้อหาที่สำคัญ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ทางการเมือง (product) สองส่วนที่สำคัญได้แก่  ปัจจัยส่วนบุคคล เช่น ภาพลักษณ์ (image) ความเป็นผู้มีประสบการณ์บริหารท้องถิ่น  และผลงานที่ผ่านมาทั้งรูปธรรมและนามธรรมร่วมกับนโยบายที่จะดำเนินการต่อไปในอนาคต
              3.ปัจจัยที่ทำให้ได้รับชัยชนะการเลือกตั้งมาจากการเลือกใช้
การสื่อสารสองจังหวะ(Two- step flow  )  และระบบอุปถัมภ์ ที่ผ่านนายหน้าทางการเมืองนั้นคือ ระบบหัวคะแนน  เครือญาติ  กลุ่มแนวร่วมทางธุรกิจการงาน และผู้นำทางความคิดของชุมชน   ซึ่งผู้มีมากกว่าจะได้รับชัยชนะ และการรณรงค์ด้วยนโยบายที่ใช้ ส่วนผสมทางการตลาดการเมือง เรื่อง ผลิตภัณฑ์ทางการเมือง (products) ที่สามารถจับต้องได้เป็นรูปธรรม 
            การชูนโยบายในเชิงบวกที่มุ่งเน้น  ผลงานที่ผ่านมาของตนเองเมื่อครั้งที่ผ่านมา  มากกว่ามุ่งที่จะโจมตีคู่แข่งขันแต่เพียงอย่างเดียว อยากให้มีการสานต่องานที่ทำ ซึ่งงานท้องถิ่นควรต้องให้คนที่รู้ปัญหาเข้ามาแก้ไข และพัฒนาได้ดีต่อไป  กลับกันผู้แข่งขันที่ดำเนินนโยบายตรงกันข้ามจึงได้รับความพ่ายแพ้
            ผู้ศึกษามีความเชื่อมั่นว่า แนวความคิด
การสื่อสารสองจังหวะ(Two- step flow  )  และแนวคิดระบบอุปถัมภ์ (The patron-client system) ในสังคมไทย 
             เป็นแนวคิดที่มีอิทธิพลต่อการได้รับชัยชนะทางการเมืองและเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกสำหรับแนวคิดดังกล่าวนี้  ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในครั้งนี้ตัดสินใจเลือกใครนั้น
            มีตัวแปรที่มีบทบาทสำคัญอย่างมากนั้นได้แก่ การตัดสินใจภายใต้อิทธิพลแห่งการจูงใจ
            ซึ่งผู้วิจัยขอเรียกว่า  ผู้ทรงอิทธิพลทางจิตใจในท้องถิ่น ซึ่งผู้ทรงอิทธิพลทางจิตใจ ในท้องถิ่นในความหมายของผู้วิจัยแล้ว มิได้หมายถึงเพียงกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อบต. อะไรต่างๆ เหล่านั้นแต่อย่างเดียว
             แต่หมายถึงผู้สื่อสาร นำเสนอ และจูงใจ ชักนำ ให้ตัดสินใจเลือก คนนั้นไม่เลือกคนนี้นั้นเอง ผู้วิจัยได้พบเห็นปรากฏการณ์ดังกล่าวจึงได้ สนับสนุน ทฤษฎีการสื่อสารสองจังหวะ(Two-step flow  Theory) เป็นปัจจัยสู่ชัยชนะการเลือกตั้งในครั้งนี้
 และ แนวคิดการตลาดทางการเมือง (Political  Marketing  ) ว่าด้วยหลักส่วนผสมทางการตลาด โดยใช้ 4P’s  เป็นกระบวนการที่นำไปสู่ รูปแบบ เนื้อหาและวิธีการ ในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง
ซึ่งเป็นไปตามหลักการของแนวคิดนี้ก็คือ การสร้างความพึงพอใจแก่ผู้บริโภค  นั้นก็คือผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงนั้นเอง
ข้อเสนอแนะ
อาจกล่าวได้ว่า ในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี มีเอกลักษณะเฉพาะตัว  ซึ่งมีความแตกต่างหรืออาจเพียงแต่คล้ายคลึงกันได้ในบางบริบท ซึ่งมีความละเอียดอ่อนมาก เพราะการลงคะแนนเสียง  เป็นเรื่องความลับส่วนบุคคล เป็นเรื่องที่คาดเดาได้ยาก สำหรับการตัดสินใจที่เป็นพื้นฐานมาจากจิตใจของมนุษย์  ดังนั้นจึงมีข้อเสนอแนะสำหรับ นักการเมือง ภาคราชการ และผู้สนใจศึกษาเกี่ยวกับการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งในส่วนอื่นๆ ดังต่อไปนี้
1.ควรศึกษาวิจัยหรือนำผลการวิจัยที่มีรูปแบบเดี่ยวกัน
มาเปรียบเทียบเพื่อเห็นความสอดคล้องและนำมาประยุกต์ใช้ในการอันพึงมีประโยชน์ต่อตนเองหรือองค์กร
2.นักการเมืองท้องถิ่นพึงต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
การหาเสียงที่ยึดติดแต่การพึงพาหัวคะแนน เพียงอย่างเดียวมิได้ แต่พึงต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจในกระบวนการที่ได้มาซึ่ง รูปแบบ เนื้อหา และวิธีการที่เหมาะสมที่สุดมาใช้ในท้องถิ่นของตนเอง
3.ควรศึกษาเรื่องของประสิทธิภาพของสื่อประเภทต่างๆ
ที่ส่งผลในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ในด้าน  ลำดับความสำคัญ ความถี่การใช้ และช่วงเวลาที่เหมาะสม