วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

สัมมนา...หนึ่งปียิ่งลักษณ์กับอนาคตเศรษฐกิจไทยตอนที่ 2.โดย. รหัส แสงผ่อง



สัมมนา...หนึ่งปี ยิ่งลักษณ์กับอนาคตเศรษฐกิจไทยตอนที่ 2. รมว.คมนาคม
ฯพณฯจารุพงษ์  เรืองสุวรรณ เปิดแผนการลงทุน
          ท่านนายกกิติรัตน์ซึ่งดูแลเรื่องคลังมีมิติในการดูแลเรื่องคลังท่านไม่ใช่มองว่าจะใช้จ่ายเงินอย่างไรแต่ท่านจะมองน้ำหนักไปที่จะหาเงินมาได้อย่างไรซึ่งเป็นไปในลักษณะที่พึ่งพาตัวเองยืนอยู่บนขาของตัวเองยึดเรื่องเกี่ยวกับไม่ต้องไปกู้เงินต่างประเทศแต่ว่าระดมทุนภายในประเทศเป็นสำคัญในการทำงานและในวันนี้ที่จะกราบเรียนท่านที่จะทราบขีดความสามารถ ซึ่งในการจะสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันประเทศไทยในภาพรวมนี้ จะทำ พ.ร.บ. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจออกมา 2.2 ล้านล้าน
                       โดยการที่จะใช้หลักในการระดมทุนภายในประเทศเราจะเห็นได้ว่าขีดความสามารถของประเทศไทยในปี
2012ของ GMA นี้เราอยู่ในอันดับที่ 30 จากการประเมินซึ่งเคยอยู่ที่อันดับที่ 27 เมื่อปี 21 และอันดับที่ 30 เมื่อปี 22 ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในรอบๆ ด้านนี้โดยรวมแล้วนี้อยู่ที่อันดับที่ 49ในขณะที่มาเลเซียอยู่ในอันดับที่ 26 อินโดนีเซียอยู่ที่ 52 ฟิลิปปินส์ 55 แต่ก็ไม่ได้แปลว่าเราดีเพราะว่ามันเคยอยู่ในอันดับที่ 39 เมื่อประมาณปี 50-51 จากเหตุการณ์4-5ปีที่ผ่านมาในระบอบการบริหารปกครองที่ไม่มั่นคงนี้เป็นเหตุสำคัญที่ทำให้ภาวะทางการแข่งขันของเราลดลง ตรงนี้มาถึงยุทธศาสตร์การฟื้นฟูและสร้างอนาคตรัฐบาลนี้วางยุทธศาสตร์ไว้ 5 ด้านด้วยกันคือ
1.      ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพราะรัฐบาลเข้ามาเกิดภาวะวิกฤติเรื่องน้ำท่วมเพราะฉะนั้นเรื่องนี้จึงถือเป็นเรื่องที่มีความหมายและความสำคัญแต่ไม้แปลว่าน้ำท่วมอย่างเดียว ฝนแล้งด้วยน้ำแล้งด้วย น้ำเน่าเสียด้วยทุกน้ำ
2.      ด้านการปรับปรุงโครงสร้างด้านการผลิตการให้บริการซึ่งท่านกิติรัตน์ได้พูดไปแล้วก็พึ่งพิงในส่วนที่ความหลากหลาย
3.      การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ซึ่งก็มีการคิดและก็ดูกันอยู่ตลอดเวลาซึ่งจะนำไปสู่เรื่องของโครงสร้างพื้นฐานซึ่งจะเน้นไปทางกระจายเศรษฐกิจ
4.      การพัฒนาระบบประกันภัยประกันความเสี่ยงทุกอย่างและรวมไปถึงระบบที่ทำรัฐวิสาหกิจซึ่งต้องมีที่ปรึกษาทางการเงินการคลังเพื่อบริหารความเสี่ยง
                      ในทางปฏิบัติปัจจุบันนี้ทุกระบบทุกรัฐวิสาหกิจนี้
GMO แต่จ้างมาคนเดียวเงินเดือนจะกี่แสนก็ชั่งแต่ผมถามว่าทำได้จริงๆ หรือคนคนเดียวที่เข้ามาทำเข้ามาดู ดูแลการบินไทย ดูแลการท่าอากาศยานฯ แค่คนเดียวทำได้ไหม  ก็เรียนว่าจะต้องพัฒนาระบบในลักษณะ out source และให้บริษัทที่มีชื่อเสียงทางการเงินการคลังในระดับ Inter ที่จะมาช่วยกันวางระบบการบริหารความเสี่ยงสร้างความโปร่งใสก็คือเรื่องที่พัฒนาโดยรัฐบาล มาถึงเรื่องสำคัญคือโครงร่างพื้นฐาน
                        โดยเป้ามหายกระทรวงคมนาคมในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานมองไปที่ อีก 3 ปีข้างหน้าเรื่องประชาคมอาเซียนเป็นเรื่องของกลุ่มภูมิภาคเราไม่ได้มองเฉพาะแค่ประเทศไทย 79 ล้านคนแต่จะมองไปที่669ล้านคนในสิบประเทศเพราะอีก3 ปีก็เริ่มขยายตัวแล้วและมิติที่พูดถึงคือทางบกทางน้ำทางอากาศแต่ว่ามีความวิตกและอยากจะเรียนว่าการรวมตัวเป็นหนึ่งเดียวของอาเซียนเรามีกฎเกณฑ์กติกาหรือความสากลของท้องถิ่นประเทศ
                         เรามีความเข้าใจในระบบการศึกษาและภาษาที่เข้าใจเป็นหนึ่งเดียวกันหรือยังเรามีกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่จะสอดรับเป็นที่ยอมรับเข้าใจกันทั้งหมดหรือยังแค่ว่าระบบการขนส่งระบบใบขับขี่ฯ นี้เป็นเรื่องที่ให้ความสำคัญกับคนให้ความสำคัญของการตระหนักว่า ถ้าจะรวมตัวกันของคนในอาเซียนด้วยกันเราไม่ใช่หวังจะทำโครงสร้างพื้นฐานทางถนนหนทางทางรถไฟอะไรอย่างเดียวแต่ต้องหมายถึงการที่จะให้มิติทางความคิดทางจิตวิญญาณ ความเชื่อ รวมเป็นหนึ่งเดียวกันด้วย
                         ถ้าตราบใดที่เราบอกว่าเราจะทำเพื่อให้ได้โอกาสได้เปรียบอีก 9 ประเทศแค่คิดแค่นี่ก็ผิดแล้วมันต้องคิดว่าเรารวมตัวกันเป็นหนึ่งเดียวอย่างไรโดยที่เราจะลดรั้วข้างบ้านไปที่สุดแล้วจะไม่มีรั้วจากนั้นแล้วเราจะทำอย่างไหร่ให้คนที่อยู่เป็นเพื่อนบ้านจากที่ไม่มีรั้วให้เข้ามาอยู่ในบ้านเดียวกันใช้เวลากี่ปีจากการที่เข้ามาอยู่ในบ้านเดียวกันให้ขยับขึ้นมานอนในห้องเดียวกันเตียงเดียวกันใช้เวลาอีกกี่ปีที่จะไม่มีความรังเกียจเดียดฉันท์ใน10ประเทศนี้ ผมมีความหมายว่านี่คือการรวมตัวของอาเซียนจริงๆแล้วจะประสบความสำเร็จไม่เช่นนั้นแล้วก็พูดกันไปแต่ปากเฉยๆ และผมก็ทำโครงสร้างพื้นฐานเชื่อมโยงต่อกันมาแต่คำว่ารวมมันไม่ใช่มันยังไม่รวมจริง 
                          อันนี้เป็นสิ่งที่ฝากไว้ที่นอกเหนือจากที่ผมจะพูดในวันนี้เป็นสิ่งที่ผมห่วงใยมากที่สุด
โครงสร้างพื้นฐานบนบกเชื่อมโยงเศรษฐกิจจากเพื่อนบ้าน อีส เวทส์ นอท เซาท์ เหล่านี้หาคำตอบอีกมากมายแต่ก็อยากจะเรียนท่านไว้ว่าเส้นทางที่สำคัญทางบกนี้ ท่าทางอีสเวทส์นี้ได้หนึ่งสายโฮจีมินท์หรือไซ่ง่อนผ่านพนมเปญผ่านกรุงเทพฯ แล้วไปออกทวายซึ่งเป็นเส้นทางที่น่าสนใจมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง ส่วนอันดับสองต้องไปดูที่เส้นที่ดานัง มาสุวรรณภูมิมามุกดาหารผ่านขอนแก่นพิษณุโลกออกแม่สอดออกตากแล้วไปออกที่เมาะตะมะหรือมะละแหม่งเพราะว่าถ้าเทียบสองเส้นนี้แล้วคำตอบคือเส้นล่างนี้ผ่านเมืองหลวงสามประเทศ คืออดีตเมืองหลวงเวียดนามใต้
                           ซึ่งก็มีความคึกคักมากกว่าโฮจิมินท์ด้วยซ้ำไปมากกว่าฮานอยผ่านพนมเปญที่เพิ่งจะฟื้นตัวและกรุงเทพฯเป็นศูนย์กลางหลักผ่านข้ามไปที่ทะเล....ถ้ามองย้อนกลับไป
70 ปีที่แล้วเมื่อญี่ปุ่นขึ้นยึดครองมหาเอเชียบูรพาสงครามโลกครั้งที่สองนี้แรกที่ญี่ปุ่นทำคือตัดทางรถไฟและถนนเชื่อมโยงเส้นนี้ถึงได้เกิดเรื่องรถไฟมรณะขึ้นมาญี่ปุ่นไม่ได้คิดทำเพราะอยากทำหรือรุกรานหรอกแต่ญี่ปุ่นต้องการยึดครองและพัฒนาระบบการขนส่งระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดียและเรื่องนี้เป็นสำคัญจึงเรียนว่าพยายามให้ความสำคัญกับเส้นข้างล่างซึ่งอยู่เรียบทะเลเกือบทั้งหมดด้วย 
                            ความสำคัญตรงนี้รวมไปถึงเรื่องรถไฟเชื่อมโยงตรงปอยเปตของกัมพูชา ปี56มาเชื่อมกับ...ของไทยและเชื่อมต่อออกไปทางกาญจนบุรีต่อถึงช่องทางที่เราเคยเป็นทางรถไฟเก่านั้นก็คือขึ้นไปทางน้ำตกเขาพังจนกระทั่งถึงด่านเจดีย์สามองค์ทะลุออกพม่าซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่โครงสร้างสตัคเจอร์พื้นฐานมันมีอยู่แล้วเป็นแต่ว่าสมัยเริ่มสงครามโลกครั้งที่ 2 เค้าถูกระเบิดมากดันเอาเหล็กรางไปขายซะหมดเหมือนไก่ได้พลอยไม่ได้ให้ความสำคัญกับเส้นทางเส้นนี้มากนัก ระบบรางจะเป็นให้ความสำคัญกับระบบรางมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันเป็นสัดส่วนเรื่องการวางแผนเรื่องงบประมาณอีกด้วย เรืองของระบบทางอากาศก็จะต้องเสริมสร้างความเป็น......เรื่องโครงสร้างการขนส่งทางน้ำที่จะเป็นประตูสู่อนุภูมิภาคขึ้นตรงแหลมฉบังแล้วก็มีท่าเรือ ท่าเก็บเรือน้ำลึกต่างๆ 
                              แนวทางพัฒนาของประทศไทยและเชื่อมโยงไปถึงทวายด้วยโดยดูจากสภาพการขนส่งจะเห็นได้ว่าทางบกนี้มีระยะทางประมาณ 200,0026 กิโลในสองแสนหกกิโลจะอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงคมนาคมกว่าหนึ่งแสนกิโล ส่วนที่เหลือจะเป้นของทางหลวงท้องถิ่นซึ่งจะอยู่ประมาณแสนหกกิโลปัญหาที่เจออยู่ขณะนี้คือท้องถิ่นนี้ไม่มีงบในการพัฒนาซ่อมบำรุงเท่าที่ควรเพราะว่ารายได้น้อย รายได้น้อยอย่างเดียวไม่พอ พูดอย่างตรงไปตรงมาท้องถิ่นใช้เงินไม่เป็นคือเพิ่งจะได้เป็นท้องถิ่นก็เอาเงินไปลงทุนอีลุ่ยฉุยแฉกพอสมควรแต่ไม่ได้มองโครงสร้างสตัคเจอร์ว่าเป็นของตนขาดการดูแลบำรุงรักษา
                               ทางน้ำก็เชื่อว่ามีท่าเทียบเรือน้ำลึกอยู่6แห่งเราคิดว่าเราจะพยายามที่พัฒนาทั้ง6แห่งนี้ขยายออกมากที่สุดเท่าที่จะทำได้แต่อย่างไรก็ตามก็ต้องเน้นแหลมฉบังเพราะแหลมฉบังมีขีดความสามารถการขนส่งอยู่ที่ 52%ของการส่งออกของคอนเทนเนอร์ทั้งประเทศเพราะฉะนั้นเรื่องของแหลมฉบัง ก็คือเอาแผนระยะสั้นภายในปีสองปีทะลุคอขวดไม่ว่าจะเป็นเรื่องของมอเตอร์เวย์สาย7ที่เลี้ยวขวาไปเข้าแหลมฉบังจาก4ช่องทางให้เป็น14 ช่องทางเรื่องของการทำทางรถไฟสถานีแหลมฉบังผ่านไป3.6 กม.เข้าสู่ท่าเทียบเรือแล้วทำรางรถไฟเพื่อการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์อีก 6 รางภายในการท่าเรือ 
                              เรื่องของทางอากาศซึ่งเราก็มีสุวรรณภูมิซึ่งขณะนี้อยู่ที่45 ล้านคนต่อปีวันนี้ทะลุไปถึง47ขึ้นไปถึง51 52 ล้านคนต่อปีแล้วที่เราประเมินเองขีดความสามรถอยู่ที่ 36 ล้านคนต่อปีแต่ตอนนี้พัฒนาอยู่ที่ สิบกว่าล้านคนต่อปี ก็ต้องเพิ่มดอนเมืองให้มีประสิทธิภาพช่วยสุวรรณภูมิเรื่องของภูเก็ตแอร์พ๊อตอยู่ที่15 ซึ่งตอนนี้กำลังขยายออกไปอยู่ที่ 12 ล้านคนต่อปี ด้วยงบประมาณห้าหกพันล้านบาทด้วยกัน เรื่องของทางเชียงใหม่แอร์พ๊อตก็จะขยายในจาก8ล้านคนซึ่งขณะนี้อยู่ที่6ล้านคนต่อปีก็จะเพิ่มขึ้นให้เป็น12ล้านคนในระยะยาวต่อไป มามองถึงต้นทุนทางโลจสติกส์ต่อจีดีพี 
                             อยากจะเรียนว่าค่ารวมต้นทุนทางโลจิสติกส์ต่อจีดีพีของประทศไทยวันนี้อยู่ที่15.2%ของจีดีพีเป้าหมายที่กระทรวงคมนาคมแลรับผิดชอบจากสัดส่วน 15- 12% อยู่ที่ 7.2% ของตัวค่าโลจิสติกส์ทั้งหมดซึ่งกระทรวงคมนาคมรับผิดชอบ และที่กระทรวงคมนาคมต้องการคือลดจาก 7.2ให้เหลือ 5.2 หรือ5%ต่อปี ไม่เกิน 5ปีที่จะถึงนี้ซึ่งก็จะเรียนให้ทราบต่อไปส่วนการขนส่งภายในประเทศก็จะมีสัดส่วนว่าเป็นการขนส่งทางถนนอยู่ 82%ขนส่งทางรางอยู่ที่ 2.29% 
                            ขนส่งทางน้ำซึ่งมีทั้งชายฝั่งทะเลอยู่ที่ 9% และตรงทางน้ำภายในประเทศอยู่ที่ 5.7% ส่วนทางอากาศนี้อยู่ที่ 0.02% แต่การขนส่งระหว่างประเทศนี้จะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นทางถนนจากที่ผ่านมาปี 50 ถึงปี 54นี้จาก 5% ขึ้นไปเป็น 10.6% อันนี้คือภาพรวมของเรื่อง 
                            จีดีพีมาถึงเรื่องการลดต้นทุนทางการขนส่งจาก 7.2% ให้เหลือ 5% นี้ก็มีความต้องการที่จะเพิ่มสัดส่วนการขนส่งทางรางจากเดิม 2.5%ให้เป็น 5%ในกรอบ 5 ปีภายใน 10 ปีก็น่าจะเพิ่มได้เป็นถึง10%เหมือนกันเพราะระบบการขนส่งที่มีต้นทุน  
                            น้ำมันน่าจะขึ้นไปให้เห็น 200 ถึง 250 ดอลล่าร์ ต่อบาร์เรลใน 10 ปีข้างหน้าเพราะฉะนั้นถ้าเราไม่ทำระบบรางรองรับแล้วมันจะมีปัญหาแน่นอนสัดส่วนการขนส่งทางน้ำจากเดิม 15% จะเพิ่มให้เป็น 18% ภายใน 5  ปี และภายใน 10 ปี จะเพิ่มเป็น 20% เพื่อที่จะทำให้ระบบการขนส่งทางน้ำช่วยลดต้นทุนโลจิสติกส์ลงไปได้เพื่อให้เข้าสู่เป้าที่ 5% ในที่สุด
               เป้าหมายของกระทรวงคมนาคมในเรื่องเป้าหมายหลักในการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบคมนาคมดูจากเป้าหมายหลักแล้วจะเห็นได้ว่าเรามองว่าต้นทุนการขนส่งสินค้าโดยเฉลี่ยในขณะนี้อยู่ที่ 2บ.ต่อตันต่อกิโลในภาพรวมทั้งบกทั้งน้ำทั้งอากาศเป้าหมายในปี 63 พยายามลดต้นทุนให้เหลือ 1.8669 ต่อตันต่อกิโลนั้นคือเน้นเรื่องขนส่งทางน้ำและต้องสารภาพว่าอยากจะให้เห็นอย่างนี้แต่ติดอยู่อย่างหนึ่งคือความไม่สะดวกของการขนส่งทางรางการขนส่งทางน้ำนั้นก็คือมันไม่ได้ส่งจากดอร์ทูดอร์แต่มันเป็นการส่งไปที่สถานีไปสู่อีกสถานีหนึ่งและที่สุดมันก็ต้องมีการยกทยอยเพื่อไปสู่ทางบกทางรถอยู่ดีและตรงจุดนี้จะเป็นจุดของความสำคัญการเพิ่มต้นทุนอย่างผิวเผินแต่ถ้ามาเอาบวกเรื่องการยกคอนเทนเนอร์ตู้ต่างๆแล้วมันไม่ได้ถูกลงเท่าไหร่ 
               เพราะฉะนั้นต้องมาแก้เฉพาะโจทย์ตรงนี้ให้ได้ไม่เช่นนั้นแล้วจะเป็นการลงทุนที่เป็นภาพหลอกที่สูญเปล่า หัวใจสำคัญอีกอย่างคือเรื่องคนเพราะฉะนั้นในทุกภาคส่วนที่เราจะลงทุนผมจะเน้นเรื่องเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากรพัฒนาคนและจะเน้นในการพิจารณาบรรจุคนลงไปในเบอร์ 1 ของหน่วยงานนั้นๆให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อที่จะให้ไปขับเคลื่อนผมคิดว่าการขับเคลื่อนทีประสบความสำเร็จไม่ได้อยู่ที่การว่างโครงสร้างที่ผมพูดอย่างเดียวแต่มันอยู่ที่คน คนที่สำคัญที่สุดคือคนเบอร์ 1 ของหน่วยงานนั้นๆที่จะต้องให้ความสำคัญและข้อ 2 ที่เกี่ยวกับคนก็คือผมอยากให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมตั้งแต่แรกเริ่มของการวางแผนเป็นการขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติแล้วก็มีการสัมมนามีเวทีทำเวอร์คช้อปกันทุกปี 
               เพื่อปรับเปลี่ยนโดยที่ทุกคนมาร่วมกันคิดมิตินี้ผมได้ทำแล้วเมื่อวันที่ 17ส.ค.ที่ผ่านมาก็ถือว่าได้ผลเพราะว่าเราจะเปิดสนามบินดอนเมืองแล้วเริ่มทำการตั้งแต่ 1 ส.ค.ให้พร้อมจริง1 ต.ค.ผมก็ให้ทางการท่าอากาศยานและทางดอนเมืองจัดเชิญภาคฝ่ายใช้บริการคือสายการบินทั้ง 40 สายการบินย้ายมาอยู่ที่ดอนเมืองฝ่ายให้บริการ ตม.ศุลกากร ตรวจคนตรวจพืชตรวจสัตว์ตรวจโรคสาธารณะสุขรวมไปถึงให้จัดเวทีมาพบกันทุกวันเพื่อทำเวอร์คช้อปแล้วก็แบ่งเป็นกลุ่มสำคัญๆ4กลุ่ม1วันที่เราทำเราพบว่ามีโจทย์ที่จะต้องสะสางถึง 98 หัวข้อด้วยกัน
                ซึ่งถ้าเราไม่ระดมคน ภาคผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการเจอกันเราจะไม่พบอุปสรรคหรือหัวข้อในการทำงานมันมีถึง 98 หัวข้อแล้วเดินหน้าไปที่ 1 ต.ค.ดูแลในระดับหนึ่งแล้วเคลื่อนต่อไปอีกในปีต่อไปรวมทั้งในการทำงานของผมไม่ได้เน้นที่จะมาเรียนเฉพาะเรื่องโครงสร้างเท่านั้นแต่ผมจะเน้นความสำเร็จอยู่ที่คนและความสำเร็จอยู่ที่องค์ความรู้ และความตั้งใจจริงของบุคลากรให้ทางราชการเป็นเพียงแค่เวทีที่จะให้มาพบกันระหว่างผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการและต้องรับฟังทุกภาคส่วนและผมพูดอย่างนี้
                เพื่อต้องการย้ำว่าฐานเศรษฐกิจก็คือหัวใจสำคัญที่จะช่วยเปิดเป็นเวทีที่จะทำให้การทำงานของรัฐหรือว่าการบริหารงานต่างๆทุกภาคเช่น  มหาวิทยาลัยก็ตามที่ท่านนักศึกษาเรียนปริญญาเอก ผมเป็นอธิการบดีมา 4 ปี ที่มหาวิยาลัยเอเชีย  ผมยึดเอาตัวนักศึกษาเป็นศูนย์กลางเป็นสำคัญและถามนักศึกษาว่าเรียนต้องการเรียนอะไร  และนักศึกษาเองมีสิทธิ  ที่จะประเมินผู้สอนได้ด้วยซึ่งยากมาก  แต่ผมพยายามจะฟัง                     
                            เมื่อผมไปทำเลซิคตา ที่อือเจี่ยเหลียงผมชอบและประทับใจเค้าคือทุกครั้งที่ไปทุกสถานีที่ให้บริการพอจบแล้วเค้าบอกกรุณาเอาเหรียญพลาสติกไปหยอดประเมินให้ด้วยปรากฏผลว่าคนที่เค้าให้บริการผม ผมเป็นลูกค้าชั้นหนึ่งปฏิบัติต่อผมดีเหลือเกินเพราะเป้าหมายเค้าคือให้เราหย่อนบัตรลงในช่องที่ดีมากนี่ก็คือแรงจูงใจซึ่งตรงนี้ผมเอาแนวคิดไปสู่การสอนเรื่องมหาลัยผมต้องการเห็นนักศึกษาเค้าประเมินอาจารย์ด้วยไม่ใช่แค่อาจารย์จะประเมินว่านักศึกษาจะสอบได้แคไหนอย่างใดเท่านั้นเองแต่ต้องประเมินว่าอาจารย์ให้ความรู้ต่อนักศึกษาอย่างไรเป็นที่เพียงพอและเข้าใจพอไหม 
                ยกตัวอย่างผมวิธีนี้มาคิดกับการขับเคลื่อนและทะลุทะลวงปัญหาอุปสรรคในการวางแผนโครงสร้างพื้นฐานในการคมนาคมจะเห็นได้ว่าเป็นรูปธรรมความชัดเจนเมื่อ17ส.ค.ที่ผ่านมาเราได้รับความปลอดปลดจากทุกภาคส่วนอย่างแท้จริงก็เกิดมีความกระตือรือร้นดังนั้นผมจะจัดทำอีกครั้งหนึ่งก็คือเรื่องของสุวรรณภูมิซึ่งท่านกิตติรัตน์ได้พูดไปแล้วว่าแล้วตกลงนี่ขยายเพรทสองไปตัวอาคารก็จะรับได้อีก 15 ล้านคนใช้เวลาทำทั้งหมดนี่ 70 เดือนและขณะนี้เราปรับการทำ70 เดือนให้เหลือ 58 เดือน ถ้าเอา 12 หารก็ตกเกือบ5ปีกว่าจะเปิดได้ถ้าไม่มีอุปสรรคอะไรเลยนะถ้ามีก็อาจจะยาวกว่านั้นต่างกันไปที่ 5 ปี
               โดยเฉลี่ยวันนี้ผมอยากจะถามท่านจะเปิดมิติและจะบอกว่าผมจะไม่ได้หยุดอยู่แค่สุวรรณภูมิเฟท 2 รันเวย์เส้นที่ 3 ผมให้ดูศึกษาเลยว่า แผนจริงๆ ของสุวรรณภูมิเค้ามีเฟส3เฟส 4ด้วยและมีปลั๊ก.เชื่อมอีกทิศทางวันนี้ต่อให้คุณทำหมดทั้ง4 เฟสคุณก็รับคนได้ประมาณ ร้อยล้านคนต่อปีเท่านั้นเองถามว่าจะทำเมื่อไหร่ถ้าไม่เริ่มคิดตั้งแต่วันนี้อีก 6 ปีเป็นอย่างเร็วสุดที่จะทำได้และคนเพิ่มขึ้นจาก 45 มาเป็น 51 ภายในกี่ปี ภายใน 5 ปีจาก 30 กว่าล้านคนต่อปีมี่ย้ายออกมาจาก 5 ปี 
              นักท่องเที่ยวและนักเดินทางใช้สนามบินสุวรรณภูมิเป็น 5-45 ถึง 47 ล้านคนต่อปีเพราะฉะนั้นถ้าอีก 5 ปีข้างหน้าจะเป็นเท่าไหร่านลองคิดดู....ดังนั้นถ้าเราไม่คิดตั้งแต่วันนี้ที่จะขยายสุวรรณภูมิในเฟสที่ 3 ที่ 4 ต่อไป ถ้าเราไม่คิดทำรันเวย์ที่ 3 และที่ 4 ด้วย รันเวย์ที่ 3 ถมทรายไปแล้ว 3-4 ปี ตั้งแต่เริ่มก่อสร้างครั้งแรก...แต่ถ้าคิดวันนี้นะจะทำรันเวย์ที่ 4 ตามแผนที่ คิดไว้แล้วเนี่ยต้องถมทรายทิ้งไว้อีกเป็นปีๆ กว่าจะทำได้เพราฉะนั้นวันนี้ก็ตัดสินใจไว้แล้วจะถามผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคน
               โดยเฉพาะก็คือผมให้การบ้านการท่าอากาศยานว่าคุณต้องทำหนังสือถามสายการบินทุกสายการบินที่จะมาลงสุวรรณภูมิว่าในอีก5 ปีข้างหน้าคุณมีแผนงานจะขยายเส้นทาง...แค่ไหนอย่างไรมีเครื่องบินเพิ่มอีกเท่าไหร่ฯทุกสายการบินเค้าก็มีแผนการทำบริหารจัดการการตลาดของเค้าไม่น้อยกว่า 5 ปี ด้วยกันทั้งนั้นแต่คำถามว่าเราได้ขอแผนสายการบินที่จะมาลงสุวรรณภูมิแล้วมองไปข้างหน้าอีก5 ปีไหมถ้าเราได้ทำอย่างนั้นเราก็จะมีคำตอบว่าแล้วควรจะขยายสนามบิน แบคอัพข้อมูลที่ชัดเจนและไม่เสี่ยงอย่างไรและนี่คือสิ่งที่กำลังเร่งรัด การขับเคลื่อนไปขนส่งทางน้ำ
                            ปริมาณผู้โดยสารในระบบสาธารณะตั้งใจว่าเราจะเน้นเรื่องการบริการขนส่งระบบสาธารณะคือขนคนมากกว่าขนรถที่ผ่านๆมาเราทำทางเอกเพรสเวย์หรือดอนเมืองโทลเวย์หรือทางมอเตอร์เวย์อะไรก็ตามใช่ส่วนใหญ่จะเป็นการใช้รถรถบางคันก็มีคนนั่งแค่คนเดียว 2 คน แต่วันนี้เราจะเล่นเรื่องระบบรางระบบรถไฟในสิบสาย เราจะเล่นทำระบบรถไฟความเร็วสูง กทม.-ชม. กทม.- กทม.-นครราชสีมาที่สุดก็ขึ้นไปที่หนองคายก็เพื่อที่จะให้ระบบการขนส่งมวลชนที่แม้ทำเสร็จมันเกิดให้ได้ภายในเวลา 5 ปี 7 ปีข้างหน้า น้ำมันจะขึ้นไปเท่าไหร่ 
                             เพราะฉะนั้นในเวลาอีก 5ปี-10 ปี ข้างหน้าถ้าเป็น 250 ดอลล่าร์ ต่อบาร์เรลแล้วนี่ผมยังมองไม่ออกเลยว่าคนคนหนึ่งจะขับรถเก๋งจากกทม.ไปชม.ใช้เงินเท่าไหร่และจะไปได้ไหม อย่างเมียนม่าถ้าไม่ใช้ระบบขนส่งมวลชน รางสรุปรางเป็นการขับเคลื่อนตอนนี้อยู่เนี่ย ความเร็วมันก็เป็นความสำคัญดังนั้นจึงเป็นเหตุผลที่เราจะทำแผนทำรถไฟความเร็วสูงก็เพื่อที่จะให้คนที่จะไปเชียงใหม่ต้นทุนถูกกว่าที่จะขับรถไปเองพร้อมกับว่าใช้เวลาที่เร็วกว่าขับรถใช้เวลา 7 ชม จะเหลือแค่สามชั่งโมงจะเอาไหม 
                              ผมคิดว่าเค้าเอาแต่ว่าถ้ามีทิศทางตั้งแต่วันนี้จริงๆแล้ว กว่าจะได้เงินจริงๆ 5-7 ปี เพราะฉะนั้นจำเป็นที่จะต้องทำในเรื่องนี้ การขนส่งทางน้ำมีสอง คือการส่งทางน้ำและการขนส่งทางชายฝั่งซึ่งก็มีสัดส่วน.ที่ต้องการในปี 63 อยู่ที่ 10 %  7% ทางสุวรรณภูมิอย่างที่กราบเรียนไปแล้วมูลค่าในการประหยัดเวลาในการขนส่งเราเชื่อว่าเมื่อทำแล้วจะมีมูลค่าในการประหยัดเวลาคิดมูลค่าเป็นตัวเงินกว่า 500 ล้านบาทต่อปีเพื่อลดการสูญเสียในการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง เราจะประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงได้อยู่ประมาณ หนึ่งแสนห้าหมื่นห้าพันล้านบาทต่อปี
                            ถ้าเราเครือข่ายโครงสร้างการขนส่งคมนาคมตามรูปแบบที่รัฐบาลได้เสนอแล้วก็จะเพิ่มขีดความสารถการขนส่งในภาพรวม เก้าร้อยล้านตันต่อปีเพิ่มขึ้นปัจจุบันอยู่ที่ เจ็ดร้อยล้านตันต่อปีมาดูกรอบการลงทุนจะเห็นได้ว่าตั้งแต่ปี 56 ถึง 63เราจะลดการลงทุนทางถนนลงมีสัดส่วนอยู่ที่ประมาณ 12- 13% เก้าร้อยล้านตันต่อปี เพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน
                            มาดูกรอบการลงทุนจะเห็นได้ว่าในแผนปี 56-63 เราจะลดการลงทุนทางถนนลงมีสัดส่วน 24. 22 % และจะเพิ่มสัดส่วนเรื่องการลงทุนทางรางมหาศาลถึง 65   ประมาณหนึ่งล้านสองแสนแปดหมื่น...ระบบทางน้ำก็จะมีการลงทุน  ประมาณ 65. 1% ระบบทางอากาศ อีก 4.24%นั้น รัฐบาลให้ความสำคัญสุดให้มากที่ก็คือว่าทักดนตรี  นั้นก็คือเรื่องระบบรถไฟรางคู่ให้ระยะเวลาในการขนส่งไม่ต้องลีกแต่ฝั่งนี้ที่รัฐบาลจัดทำเพื่อลดต้นทุนของภาคโลจิสติกส์ต่อจีดีพี ที่กระทรวง

 (วิจารณ์)ปี    กรอบการลงทุนในการพัฒนาอันนี้ผมจะขอผ่านไป
                           เหตุผลของการลงทุนที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของถนนจะดูในแต่ละที่ เห็นได้ชัดเส้นทางในการขนส่งมันเริ่มไม่เพียงพอโดยเฉพาะท่านไปชม.นึกถึงช่วงเทศกาลสงกรานต์เทศกาลปีใหม่วันหยุดยาว3-4วันไม่ว่าจะเป้นพหลโยธินเส้นทางมิตรภาพ รตะวันออกเฉียงเหนือ เราลงทางใต้ถึงหัวหินประจวบติดรถติดมากๆต้องเพิ่มเวลาอีกเป็นชม.
                           จากที่เคยวิ่งไปตามปรกติพบว่าขีดความสามารถ ในผิวการจราจร ที่จะรองรับถนนมันไม่เพียงพอแล้ว ตัวเลขมันสูงมาก เพราะฉะนั้นเราก็เลยต้องคิดในการทำเรื่องเกี่ยวกับมอเตอร์เวย์หรือว่าการทำถนนที่สามารถใช้ความเร็วได้สูงเป็นถนนที่เก็บเงินและต่อไปเราจะตัดทางที่โปร่งโดยเขาก็จะทะลุเจอเหวก็ข้ามสะพาน แต่เราจะเก็บเงินเพื่อเอาเงินมาทำเป็นกองทุน
                           ซึ่งทานกิติติรัตน์กำลังร่างเรื่อง พ.ร.บ.ในกองทุนต่างๆ......เพื่อระบบการขนส่ง ระบบการไทยใช้ไทยจ่ายแต่ต้องกลับมาใช้ให้มากที่สุดเราจะต้องการเอาเงินตัวนี้มาซ่อมบำรุงทางต่างๆในมอเตอร์เวย์ทั้งหลายและเงินส่วนหนึ่งที่เก็บไว้ ขยายเส้นทางต่อไปเรื่อยๆแต่ถามว่าเอาเงินจากที่ไหนเราก็ทำเรื่องกองทุนขึ้นมา เพราะฉะนั้นกองทุนตัวนี้รัฐบาลจัดการเรื่องเวรคืนที่ดินทั้งหมด
                           เพื่อให้สินทรัพย์จากนั้นก็ไปรวมกลุ่มจัดจ้างผู้ประกอบการด่านแต่รัฐบาลจะควบคุมการก็ง่วงที่ส่งเข้าไปในกองงานแต่จะอยู่ในส่วนของกองทุนเพื่อจะให้การพัฒนาคน แล้วพิจารณาบรรจุคนลงหน่วยงานให้ทุกภาคส่วนมีส่วนของการวางแผน อุปสรรค
98 หัวข้อ ทางใต้
            ฐานเศรษฐกิจเป็นหัวใจสำคัญ (แรงจูงใจ)
                                      ประสิทธิภาพการขับเคลื่อนการขนส่งทางน้ำ ท่าเทียบเรือแหลมฉบังคือหัวใจของการขนส่งทางน้ำ ช่วยกันขับเคลื่อนในการวางแผน
                          จะต้องเอาเงินชาวบ้านมาช่วยกันลงทุนด้วยนั้นก็คือการเข้าตลาดหลักทรัพย์และต้องทางด้านเอกชนเข้ามาร่วมด้วยรัฐเป็นผู้ค้ำประกันเราเชื่อว่าภายใน 30 ปีกองทุนนี้จะต้องคืนกลับมาให้เป็นของรัฐต่อไปคือเหมือนสัมปทานดอนเมืองโทล์เวย์แต่แทนที่จะให้ดอนเมืองโทล์เวย์รวยเราให้กองทุนรวยดีกว่าและกองทุนก็จะมีกำลังขยับขยายเน้นเส้นที่สำคัญมอเตอร์เวย์ 5 เส้นทางสายบางปะอินทร์โคราช -นครสวรรค์ บางใหญ่บ้านโป่ง กาญจนบุรีผ่านนครปฐมเข้าเมืองกาญจน์
                           อีกอย่างคือเรื่องการแก้คอขวดที่สายปทุมไปปักธงชัยคือเส้นทางสาย 304 ที่มีปัญหาผ่านเขาใหญ่หรืออุทยานแห่งชาติอีกประมาณ 18 กิโล 18 กิโลกว่านี้ใช้เงินสองพันหนึ่งร้อยห้าสิบล้านเพราะว่ามันยกระดับขึ้นไปตรงนี้เป็นหัวใจสำคัญเหมือนกันเราต้องยอมทำเพื่อจะให้เรื่องของมรดกโลกเรื่องของป่าเขาใหญ่พันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ไม่ให้ถูกตัดขาดเป็นตอนๆไป 
                          ศึกษาถนนวงแหวนที่ 3 กับเส้นทางระบายน้ำ อีกประมาณ หนึ่งแสนห้าหมื่นเจ็ดพันล้านเรื่องของการก่อสร้างทางพิเศษศรีรัตน์วงแหวนรอบนอกซึ่งขณะนี้กำลังจะเข้าสู่การเซนต์สัญญาแล้วก็ใช้เวลาอีกประมาณ 3 ปีเสร็จตรงนี้ก็คือตัวเชื่อมตรงบางซื่อซึ่งเป็นสถานีรถไฟกลางตรงแถวใกล้สวนจตุจักรและพาดผ่านไปข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแถวสะพานพระรามหก พระรามเจ็ดและข้ามไปเลียบทางรถไฟสายตลิ่งชันไปเชื่อมโยงกับถนนสายกาญจนภิเษกทางตะวันตกของกรุงเทพฯ 
                          การก่อสร้างสะพานข้ามทางรถไฟ 112 จุดเพื่อที่จะตัดจุดเชื่อมของรถไฟลดอุบัติเหตุต่างๆและเรื่องของโครงข่ายเชื่อมโยงระหว่างประเทศเป็นการศึกษาอีกมาดูการขนส่งทางรางที่เราเตรียมไว้ทั้งหมดแปดแสนหนึ่งหมื่นสองพันห้าร้องสามสิบหกล้าน
                         ในระบบรถไฟรางคู่ก็พัฒนารางทั้งหมดหกโครงการด้วยกันซึ่งจะทำได้ปี 55 จนถึง 56-57 ทั้งหมดมีอยู่ 6 โครงการด้วยกันทางรถไฟรางคู่ก็คือเชื่อมจากฉะเชิงเทราขึ้นไปถึงแก่งคอยเพื่อที่จะให้แหลมฉบังมีประสิทธิภาพสูงขึ้นและรับสินค้าจากทางภาคอีสานลงมาเป็นรถไฟรางคู่และเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟสำคัญๆอีกไล่ตั้งแต่กรุงเทพออกไป และขยายทางรถไฟใหม่สายบ้านไผ่ร้อยเอ็ดมุกดาหาร นครพนม และมีอีกเส้นที่จะตัดเด่นชัยเชียงรายและอีกเส้นคืออรัญประเทศปอยเปตซึ่งตรงนี้สั้นๆแต่จะมีประโยชน์สูงสุดในเรื่องของระบบราง 
                       ระบบความเร็วสูงใหญ่ๆในกรุงเทพฯโคราช หัวหิน เชียงใหม่และแอร์พอตลิงค์ที่เชื่อมต่อไปสุวรรณภูมิและที่เชื่อมต่อไปที่อยุธยาด้วยเงินอยู่ประมาณสี่แสนแปดหมื่นหนึ่งพันล้านก็คือระบบทางรางที่สำคัญและการขนส่งทางรางอีกสิบสายทำไปแล้ว 4 สายและภายในปีนี้จะมีการเซนต์สัญญาอีกประมาณ3 สายซึ่งตรงนี้เพราะฉะนั้นสิบเส้นทางจะมีการจะเสร็จได้ระยะทางประมาณ 464 กิโลเมตรภายในระยะเวลาประมาณ5-7 ปี
                                    วันนี้ทาง
10สายเราสร้างอยู่ไม่ถึง100กิโลที่มีอยู่แล้วที่ใช้อยู่แล้วแต่เราจะปรับเพิ่มขึ้นมาให้ 464 กิโลถ้าทำได้อย่างนี้ก็จะเชื่อว่าการตัดสินใจของประชาชน กรุงเทพฯและปริมณฑลคนขับรถยนต์ทิ้งรถไว้บ้านแล้วลองขึ้นรถไฟฟ้าเหมือนบางประเทศที่สำคัญทั่วโลกก็จะทำให้ประชาชนลดต้นทุนของการใช้จ่ายการขนส่งการเดินทางของเค้าในแต่ละวันอย่างแน่นอนที่สุดและระบบการจราจรถนนหนทางที่มีอยู่ก็สามารถจะรองรับรถได้พอสมควรเพราะเราใช้ระบบราง
                     ซึ่งจะขนส่งได้ประมาณ 5ล้านคนต่อทิศทางในชั่วโมงเร่งด่วนเพราะฉะนั้นเราก็จะสามารถทำให้การไปมาหาสู่การคมนาคมตรงเวลา ถ้าอันนี้เสร็จผมเชื่อว่าบริษัทต่างๆ ก็จะไม่ได้ยินเสียงขอโทษที่มาไม่ทันเพราะว่ารถติดคำนี้น่าจะหยุดได้เพราะถ้าตัดสินใจมาทางรางเวลาจะชัดเจนถ้าคุณบริหารเวลาคุณไม่มีวันมาไม่ทันแต่วันนี้ต่อให้คุณบริหารเวลายังไงก็คาดการณ์ไม่ได้รถติดมันเป็นเรื่องที่ไม่สามารถจะขาดการณ์ได้แต่ถ้าเราทำครบรูปแบบแล้วเราเชื่อมันว่าจะสามารถทำให้ประสิทธิภาพการทำงานแล้วก็การกระตุ้นเศรษฐกิจการขับเคลื่อนเป็นไปอย่างตรงต่อเวลาและรวดเร็วด้วย
                    มาถึงเรื่องการขนส่งทางน้ำก็คือการสร้างท่าเทียบเรือหัวใจสำคัญคือท่าเทียบเรือชายฝั่งแหลมฉบังซึ่งท่านนายกรัฐมนตรีไปดูแล้วเมื่อการประชุมครม. สัญจรที่ผ่านมาและได้พาท่านเต็งเส่งประธานาธิบดีพม่าไปดูที่แหลมฉบัง แหลมฉบังคือหัวใจสำคัญของการขนส่งทางน้ำทั้งในการส่งออกและขนสินค้านำเข้าร้อยละ52% ขึ้นที่นี่ แต่ว่าการพัฒนาเรื่องท่าเทียบเรือยังไม่เต็มตามศักยภาพที่ทำอยู่ สองเพรทอย่างที่เห็นอยู่เพรทหนึ่งนี่จะมีท่าฝั่งเอ กับท่าฝั่งบีเพราะฉะนั้นก็คงทำท่าฝั่งเอให้เป็นท่าเทียบเรือชายฝั่งคือผมนี่ปรารภว่าแปลกนะท่าเป็นท่าอากาศยานมันจะมีท่าอากาศยานอินเตอร์ฯ
                      แต่พอมาทางเรือมันจะเป็นท่าเทียบเรือที่ออกต่างประเทศแต่ไม่ยอมให้ท่าเทียบเรือในประเทศเข้ามาเทียบด้วยเหตุผลเพราะว่ากลัวหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากร ผมเลยบอกว่าช่วยคิดใหม่เถอะนะลองทำโดเมสติคโบทดู เลยคิดจะทำท่าเทียบเรือเอ สองท่าเทียบเรือเฟส 2 หนึ่งเฟสนี่เป็นเอกับบี บริษัทหนึ่งรับไปแต่ยังไม่ได้ทำอะไรเลย
                      เรื่องของการทำศูนย์ขนส่งสินค้าตู้สินค้าทางรถไฟที่แหลมฉบังก็จะเป็นอีกอย่างที่จะทะลุคอขวดเพื่อการขนส่งและสร้างประสิทธิภาพในการขนส่งทางน้ำหรือทางเรือที่แหลมบังให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นการสำรวจทางน้ำอีกอย่างคือการสำรวจแม่น้ำเจ้าพระยาคือการก่อสร้างท่าเทียบเรือน้ำลึกแห่งที่ 2 ทีสงขลาสำหรับการพัฒนาแหลมฉบัง เฟสสามนี่น่าหนักใจยื่นไปทะเลเกือบเท่าตัวคนที่พัทยาเฟส 2 ก็กระทบกระเทือนชายฝั่งพัทยาแล้วถ้าขืนทำเฟส3 ต่ออีกหน่อยลึกกว่าเฟสยาวกว่าแน่นอนที่สุดว่ามันกระทบกับตัวหาดพัทยาทั้งหมดเลยและปัญหาทั้งสิ่งแวดล้อมอาจจะไม่ผ่านและปัญหาที่ประชาชนต่อต้านก็จะสูงและที่ยิ่งไปกว่านั้นคือว่าแล้วถ้ามันสำเร็จแล้วเกิดพัทยาพังแล้วทำไง
                       เพราะว่าหลักนี่ทะเลถ้าคุณไปสร้างสิ่งที่แปลกปลอมเข้าไปอยู่ในทะเลมันจะมีฝั่งหนึ่งที่แผ่นดินถูกกัดเซาะและจะมีอีกฝั่งหนึ่งที่แผ่นดินจะงอกออกไปปัญหาว่าฝั่งไหนที่ถูกกัดเซาะเค้าจะยอมไหมนี่ก็คือเรื่องที่สำคัญที่สุดแล้วจะแก้ปัญหาได้อย่างไรเพราะฉะนั้นผมยังไม่คาดหวังเฟส3 นักเพราะแค่เฟส 2นี่ก็ยังไม่ได้ทำอะไรเลยและในระยะเวลา 2-3 ปีผมจะเร่งเฟสดีให้มีประสิทธิภาพสูงสุดผมจะเร่งขีดความสามารถในการขนส่งลดต้นทุนในการใช้ระบบรางมันเป็นเรื่องที่ไม่น่าเชื่อว่าเราทำระบบรางผ่านมาทางแหลมฉบังแต่มันอยู่ห่างจากตัวท่าเรือแหลมฉบัง 3.6 กิโล และมีรางรถไฟรางเดียวเชื่อมเข้ามาสู่ท่าเรือแหลมฉบังเห็นแล้วจะกลุ่มใจตายทั้งๆที่ความจริงแล้วแผนเรื่องทำรางรถไฟหกเหล็กมีตั้งแต่แรกแต่ไม่ได้ให้ความสำคัญและไม่ได้ทำ 
                        ความจริงแหลมฉบังสร้างมา 10 กว่าปีแล้วนะแต่เป็นสิบกว่าปีที่พิกลพิการวันนี้ผมไม่สนใจที่จะไปขยายเฟส3 ซักเท่าไหร่หรอกเพราะมันเป็นเรื่องที่จะต้องแก้อีกเยอะแยะแต่ผมมาสนใจทะลุทะลวงคอขวดจุดอุดตันทั้งหลายในท่าเทียบเรือนี้ให้สะดวก ผมทำทางมอเตอร์เวย์เข้ามา14 เลนส์ผมจะตัดถนนทางหลวงชนบททะลุร้อยเข้ามาข้างหลังอีกด้วยเป็นทางสำรองเข้ามาเป็นถนนที่ทางหลวงชนบทเค้าทำราดยางอย่างดีแต่ว่าไม่ถึงมาตรฐานมอเตอร์เวย์แล้ว
                                     ผมจะให้ท่านไอยานัสซึ่งนั่งอยู่ตรงนี้มีแผนในการทำทางยกระดับซึ่งทางยกระดับอุตรนครนี่จากบางนามาถึงชลบุรีมันมาห้วนสั้นขาดอยู่แค่ตรงทางเข้าเมืองชลบุรีตรงอมตะนครหายไปเลยแล้วก็ไปเบียดเข้ามอเตอร์เวย์ด้านนี้เพราะนั้นก็คิดว่าจะต้องทำตัวยกระดับเพิ่มขึ้นมาเพื่อให้ผ่านแหลมฉบังและก็ไปจนถึงพัทยาและอาจต้องไปถึงมาตราพุดในที่สุดสำหรับทางยกระดับที่จะต้องไม่หยุดอยู่แค่นั้นดังนั้นเราจะทำให้ประสิทธิภาพการขนส่งทางน้ำโดยการขนถ่ายทางรถไฟก็ดีทางรถยนต์ก็ดีแหลมบังโดยไม่มีคอขวดต่อไป
                       การขนส่งทางอากาศซึ่งได้พูดแต่ต้นแล้วถ้าดูในแผนที่ได้ ท่าเรือชายฝั่งน้ำลึกซึ่งก็มีสงขลา.....สำคัญก็คือท่าเรือน้ำลึกพวกนี้ผมไปดูทั้งสงขลาด้วยไปดูทั้งภูเก็ตด้วยเราอยากขยายประสิทธิภาพให้เรือเข้าเทียบท่าได้เวลาเดียวกัน  เป็นสองลำเพื่อจะลดต้นทุนและลดเวลาการขนส่งขยายต่อไปซึ่งมีปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมอยู่ก็จะแก้ให้ได้
                       มาถึงสุวรรณภูมิ เรากำลังจะทำรันเวย์ที่ 3 และตรงที่อาคารผุ้โดยสารก็ขยายออกมาละจะมีแผนการทำอาคารที่ 3 และ 4 มาจดชิดขอบอีกฝั่งแล้วก็มีปลั๊กเสียบเข้าไปตัดเข้าไปเหมือนกับปลั๊กทางเข้าอันแรกที่เราใช้อยู่เพราะฉะนั้นอาคารจะมี 4 อาคารจะเชื่อมต่อกันด้วยรถรางใต้ดินและจะมีตัวขนส่งเข้าออก 2 ทิศทางเป็นหลักคือทางเก่าที่มีอยู่กับฝั่งตรงข้ามถ้าทำได้...ก็จะมีขีดความสารถรับได้ร้อยล้านคนต่อปีวันนี้อยู่ที่ 45 ขึ้นไป 51 ก็จะทำอีก 5 ปีกว่าเสร็จรับได้แค่ 60 ล้านซึ่งตอนที่รับ 60 ล้าน สร้างเสร็จเต็มหมดแล้วถ้าไม่มีดอนเมืองมาช่วยเสร็จแล้วถ้าเราจะคิดสร้างวันนี้แล้วไปรอเสร็จอีกห้าปีแล้วไปคิดสร้างเฟส3เฟส4ตายวันนี้ผมต้องขอแรงพลังจากท่านที่เกี่ยวข้องว่าช่วยขับเคลื่อนกันในการวางแผนเฟส3เฟสสี่ ของอาคารที่พักผู้โดยสารและตัวอาคารจอดรถเครื่องบินหลุมจอด....ให้เต็มศักยภาพและต้องถมรันเวย์ที่เสียเพราะไม่งั้นไปไม่รอดและก็เรียนท่านเลยว่าไม่ใช่เฉพาะแค่นี้ไอ้ที่ว่าร้อยล้านคนต่อปีแล้วจะเต็มในประมาณปี 63-64 
                        แล้วถึงถามว่าแล้วต่อไปจะเอายังไงก็มองกันอยู่เหมือนกันเรียนตรงๆเลยว่าอู่ตะเภานี่จะปรับปรุงขึ้นมาไหมผมก็ได้ศึกษาว่าอู่ตะเภาไปดูซิตอนสมัยดอนเมืองเป้นของกองทัพอากาศใช่ไหมแล้วพอเราตั้งการท่าอากาศยานขึ้นมาเราโอนถ่ายจากกองทัพอากาศมาด้วยข้อตกลงอย่างไรด้วยวิธีการถ่ายโอนอย่างไรระยะเวลาเท่าไหร่แล้วเราเอาอะไรเป็นตัวตั้งแล้วไปคุยกับกองทัพเรือว่าถ้าที่อู่ตะเภาจะถ่ายโอนกันจะถ่ายโอนอย่างไรแต่วินวินด้วยกันนะไม่ใช่ให้เค้าเสียสละมันเป็นไปไม่ได้หรอกเงินหลวงนี่กระเป๋าซ้ายกระเป๋าขวาผมคิดว่าไม่ใช่เรื่องที่จะต้องไปห่วง ห่วงก็คือว่ามันจะต้องทำให้ทันกับการเติบโตของเศรษฐกิจแล้วก็ต้องเป็น....อย่างแท้จริงก็คงจะต้องมองต่อไปอีก10 ปีเลยจากนั้นไปด้วยเพราะว่าถ้าไปทำอย่างนั้นเราจะทำไม่ทันและผมอยากจะเห็นแผนการเดินอากาศทั้งหลายที่เป็นแผน5ปีแผน10ปีด้วย
                        โดยทุกภาคส่วนคือฝ่ายผู้ให้บริการและใช้บริการคุยกันอย่างน้อยปีละครั้งทิศทางที่รัฐบาลนี้ต้องดำเนินการและเน้นย้ำว่าระบบรางและระบบน้ำเพิ่มมากขึ้นแต่ต้องไป....จะไม่ใช่เป้นภาพลวงตาสักแต่ว่าทำ เรามีท่าอากาศยานสร้างไว้.....แต่ท่านรู้ไหมว่าใช้ไดแค่10กว่าท่าแต่เอเชียรู้ดีที่เหลือปิดไว้ดีไม่ให้ควายมันกินหญ้าเงินแต่ละท่าอากาศยานเป็นพันพันล้านนะนี่คือบทเรียนที่ว่าเราคิดแล้วเราอยากทำแต่เราขาดความคิดอย่างรอบคอบ แล้วเราสร้างสนามบินโดยไม่เคยถามสายการบินเลยว่าผมสร้างแล้วคุณจะมาลงไหมปรากฏว่าสร้างแล้วเค้าไม่มาไปบังคับเค้าได้ไหมว่าให้มาไม่ได้
                       ดังนั้นผมก็กราบเรียนท่านนายกว่าถ้าเราจะสร้างท่าเทียบเรือที่ทวายนะ แต่มีเทคนิคสร้างยังไงผมไม่สนใจ ผมสนใจว่าจะต้องประชุมแล้วถามสายการเดินเรือทั่วโลกก่อน คือรัฐบาลไทยกับรัฐบาลพม่าจะเปิดตรงนี้นะบริษัทการเดินเรือจะเอาเรือมาเทียบตรงนี้ไหมถ้าเทียบอย่างเดียวไม่พอก็จะต้องบอกว่าอย่างนั้นลงทุนร่วมหุ้นอีก 5%-10% ไหมของการ.ลงทุนนี้ถ้าเค้ามาลงทุนด้วยก็คือคำตอบที่ชัดว่าถ้าทำท่าเทียบเรือทวายแล้วไม่สูญเปล่า

สัมมนา...หนึ่งปียิ่งลักษณ์กับอนาคตเศรษฐกิจไทย  รหัส  แสงผ่อง,พ.อ.ชยุตรา  เสริมสุข,ร.ต.อ.ราชษ์ชภณต์  แสงทัพและนางสาวรุ่งทิพย์  สุวรรณสถิต  นำเสนอ ดร.นันทนา  นันทวโรภาส
รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(สื่อสารการเมือง)
วิทยาลัยสื่อสารการเมือง มหาวิทยาลัยเกริก

ร่วมฟังการสัมมนา “หนึ่งปี ยิ่งลักษณ์กับอนาคตเศรษฐกิจไทย” เมื่อวันพฤหัสฯที่  23 สิงหาคม  2555 ณ โรงแรมดุสิตธานี


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น