วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2555

หนึ่งปียิ่งลักษณ์กับอนาคตเศรษฐกิจไทย รหัส แสงผ่อง


หนึ่งปียิ่งลักษณ์กับอนาคตเศรษฐกิจไทย
          สรุป...กิจกรรม “สัมมนา” ขบวนการเพื่อสื่อความรู้ ในหัวข้อ “๑ ปี รัฐบาลยิ่งลักษณ์ในมุมมองของเอกชน” เพื่อสะท้อนสถานการณ์เศรษฐกิจที่ผ่านมาภายใต้การบริหารงานของรัฐบาลซึ่งมีปัจจัยหลายด้านที่ผสมผสานเช่น เศรษฐกิจโลกชะลอตัว วิกฤติยุโรป สหรัฐอเมริกายังไม่ฟื้น การว่างงานสูงกับเศรษฐกิจจึงเริ่มชะลอตัวมีผลต่อกระทบต่อเศรษฐกิจและต่อการส่งออกของไทย ภายใต้ความเชื่อมั่นของรัฐบาลนี้ว่า GDPที่ 7% และการส่งออกเป้าหมาย 15% ซึ่งต่างจากนักวิเคราะห์เศรษฐกิจและสถาบันทางการเงินหลายแห่งที่ดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจทั้งภาครัฐและภาคเอกชนได้ปรับตัวเลข GDP และการส่งออกอยู่ที่ 5.7% และ 7-8% จากการมองต่างมุมนี้ท่านผู้เข้าร่วมสัมมนาในวันนี้จะได้รับความรู้และเห็นภาพชัดเจนได้จากการสะท้อนนโยบายของท่านรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังที่รับผิดชอบเศรษฐกิจโดยตรง และมุมมองวิทยากรเอกชนที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญในภาคธุรกิจว่าเป็นอย่างไรต่อไป และเศรษฐกิจในอีก 5 เดือนข้างหน้ามีแนวโน้มอย่างไร
          ปาฐกถาพิเศษโดย ฯพณฯ กิตติรัตน์  ณ ระนอง ใน หัวข้อ “โรดแม๊พสู่อนาคตประเทศไทย” โดยย้อนอดีตประเทศไทยลงไปหนึ่งทศวรรษช่วงที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ปี 2540 เพื่อแสดงให้เห็นถึงการที่ประเทศไทยเข้าสู่ปัญหาเพราะการขาดดุลการค้า การขาดดุลบริการ โดยรวมทั้งสองดุลเรียกว่า ดุลบัญชีเดินสะพัด การขาดดุลเรื้อรังจนกระทั่งนำไปสู่การที่จะต้องลอยตัวค่าเงินบาท ซึ่งมีอีกหลายเรื่องที่เป็นองค์ประกอบเสริมที่ทำให้มีปัญหา ไม่เพียงแต่เรื่องการขาดดุล การขาดธรรมาภิบาลในภาคธุรกิจ การขาดธรรมาภิบาลในภาครัฐ  15 ปี ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปทำให้ทุกอย่างเป็นไปในทางที่ดีขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้อัตราแลกเปลี่ยนที่ไม่แข็งค่าเหมือนกับที่ยึดไว้ที่ 25 บาทต่อ 1 เหรียญทำให้เกิดภาวะขาดดุลการค้า กลายเป็นเกินดุลและยังมีการกล่าวถึงความเลวร้ายในประเด็นทุจริตคอรัปชั่นทั้งในส่วนราชการและเอกชน มีอีกหลายสิ่งหลายอย่างซึ่งเป็นปัญหาที่รอคอยการแก้ไขแต่กลับไม่ได้รับการใส่ใจ เช่น ในส่วนที่รัฐบาลต้องเข้าไปดูแลผู้ฝากเงินในช่วงที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจเมื่อปี 40 ซึ่งทำให้เกิดหนี้ขึ้นซึ่งเรียกว่าหนี้กองทุนฟื้นฟู ซึ่ง ท่านกิติรัตน์ ฯ ได้กล่าวว่าทางรัฐบาลมีความชัดเจนในการแก้ไขต่อปัญหาดังกล่าวโดยมีทั้งข้อดีและข้อเสียโดยมีการตั้งกองทุนคุ้มครองเงินฝาก การบริหารจัดการสถาบันการเงินต่างๆ ควรเป็นไปอย่างดีมีประสิทธิภาพมีความน่าเชื่อถือ นอกจากนี้ยังกล่าวถึง    การแก้ไขปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจโดยพยายามจะทำให้เศรษฐกิจของประเทศไทยเติบโต ด้วยการส่งออกที่เติบโตมาก ประเทศไทยก่อนเมื่อรัฐบาลเข้ามาจนกระทั่งถึงตอนที่รัฐบาลอยู่ขณะนี้ประเทศไทยเป็นประเทศที่เติบโตดีเรื่องการส่งออกสูง 
          ในการนี้ได้เกิดเป็นประเด็นที่สังคมมีการวิพากษ์กันคือ ในส่วนที่ท่านกิติรัตน์ได้กล่าวถึงคือการที่รัฐบาลยอมรับว่าเป้าหมายการส่งออกเมื่อต้นปีที่ผ่านมาเดิมตั้งเป้าร้อยละ 15 แต่ที่ได้คาดการณ์ไว้นั้นกลับไม่ตรงตามเป้าหมายซึ่งท่านเองก็กล่าวว่าไม่รู้สึกแปลกใจเพราะรัฐมนตรีคลังมีหน้าที่ อนุญาตให้พูดจริงได้บางเรื่องคำภาษาอังกฤษใช้คำว่า  white lie” คือ “การพูดไม่จริงสีขาว” ซึ่งท่านกล่าวว่า ถ้าท่านพูดตั้งแต่ต้นปีว่าคงจะขยายเศรษฐกิจ การส่งออกไม่ได้ ความไม่มั่นใจจะอยู่ในภาวะอะไร ที่ในเวลานั้นเหมาะสมที่จะพูดอย่างนั้นหรือเปล่า ในฐานะรองนายกรัฐมนตรีก็พูดเพื่อที่จะสร้างความมั่นใจ (วิจารณ์) ซึ่งเมื่อคำ white lie” คือ “การพูดไม่จริงสีขาว”  นี้ถูกกล่าวออกไปทำให้การกล่าวถึงทำให้ความเชื่อถือการคาดการณ์ทางเศรษฐกิจของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ถูกวิจารณ์อย่างหนักแต่ท่านนายกยิ่งลักษณ์กลับให้ความเห็นต่อประเด็นนี้ว่าเป็นเจตนาดีแต่หลายภาคส่วนมองไปในแง่ลบ นักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติ จะมีความมั่นใจได้อย่างไร
          ท่านกิติรัตน์กล่าวถึงในแง่ของความตั้งใจการตั้งเป้าในการทำงานว่าต่อให้ยากสักแค่ไหนก็จะมีโอกาสให้การส่งออกได้ขยายตัว และ สภาพัฒน์ฯประเมินส่งออกปีนี้ที่ 7.3 % และเป้าจีดีพีปีนี้ที่ 5.5-6  ทั้งนี้หากเป็นอดีตส่งออกโต 7.3 % จีดีพีประเทศจะไม่สามารถโตในระดับนี้ได้ แต่เนื่องจากรัฐมีกลไกอื่นๆ คือ1.อุปโภคในประเทศ  2.การใช้จ่ายภาครัฐและการลงทุนภาคเอกชน ซึ่งยังมีโอกาสโตเกิน 10% ประกอบกับการปรับค่าแรงงานตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. ขณะนี้ยังไม่ 5 เดือนนี้ เชื่อว่าจะเป็นตัวเร่งในครึ่งปีหลัง และจะสร้างกำลังซื้อ "เราคิดว่าส่งออกตามเป้าหมายใหม่ที่ 9% น่าจะเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ เมื่อเทียบกับเป้าสภาพัฒน์ฯที่ประเมินไว้เพียง 7.3%" นอกจากนี้ การที่รัฐได้เปลี่ยนปรับปรุงเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้าง ทำให้สามารถบริหารการเบิกจ่ายและอนุมัติงบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวคือทันทีหลังงบประมาณผ่านวุฒิสภา ไม่จำเป็นต้องรอผ่านราชกิจจานุเบกษา ก็สามารถเดินกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างได้เลย  โดยไม่ต้องรอไปถึงเดือนตุลาคมหรือธันวาคม  ซึ่งจะทำให้งบรายจ่ายแต่ละปีสามารถจบในปีงบประมาณนั้นๆ และยังกล่าวถึงเรื่องการดูแลแรงงานต่างชาติหรือการที่เราจะไปลงทุนในต่างชาติ
          สุดท้ายในการปาฐกถาท่านกิติรัตน์ได้กล่าวถึงการเดินไปในทิศทางที่ถูกต้องของประเทศไทย
โรดแม๊พของประเทศไทยที่ใช้คำว่าสะเปะสะปะซึ่งมาจากการกระจายตัวที่ดีการสร้างความสมดุลที่นำไปสู่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ มีเสถียรภาพมีความยั่งยืนและก็มีการกระจายรายได้ที่ดี  ไม่ได้มุ่งการกระตุ้นเพื่อเดินไปข้างหน้า
  ซึ่งยังมีความจำเป็นจะต้องพึ่งพาส่งออก แต่จะลดระดับน้อยลง และหันไปพึ่งกลไกเศรษฐกิจด้านอื่นแทน


          ฯพณฯ จารุพงษ์  เรืองสุวรรณ กับการบรรยายพิเศษ “เปิดแผนการลงทุนโครงการสาธารณูโภคพื้นฐาน”  เปิดแผนการลงทุนการหารายได้โดยยืนบนขาของตัวเองการสร้างขีดความสามารถการพัฒนาโครงสร้างโดยใช้หลักในการระดมทุนภายในประเทศเป็นสำคัญ  ยุทธศาสตร์การฟื้นฟูและสร้างอนาคต 5 ด้าน
1.      การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ -ท่วม -แล้ง -เน่าเสีย
2.      การปรับปรุงโครงสร้างด้านการผลิตการให้บริการ ในความหลากหลาย
3.      การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ซึ่งจะเน้นไปทางโครงสร้างพื้นฐานที่จะเน้นไปทางกระจายเศรษฐกิจ
4.      การพัฒนาระบบประกันภัยประกันความเสี่ยงทุกอย่างและรวมไปถึงระบบที่รัฐวิสาหกิจซึ่งต้องมีที่ปรึกษาทางการเงินการคลังเพื่อบริหารความเสี่ยงในลักษณะ out source และให้บริษัทที่มีชื่อเสียงทางการเงินการคลังในระดับ Inter ที่จะมาช่วยกันวางระบบ
                     ในส่วนเป้าหมายกระทรวงคมนาคมในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานมองไปที่ อีก 3 ปีข้างหน้าเป็นเรื่องประชาคมอาเซียน  การรวมตัวเป็นหนึ่งเดียวของอาเซียนเรามีความเข้าใจกันทั้งหมดหรือยัง  ถ้าจะรวมตัวกันต้องหมายถึงการรวม ความคิด ความเชื่อ รวมเป็นหนึ่งเดียวกันด้วย ซึ่งโครงสร้างการเชื่อมโยงอาเซียนนั้นเป็นเส้นทางที่กระคมนาคมได้วางไว้คือ โครงสร้างพื้นฐานบนบกเชื่อมโยงเศรษฐกิจจากเพื่อนบ้าน อีส เวทส์ นอท เซาท์ ซึ่งอีสเวทส์นี้ได้หนึ่งสายโฮจีมินท์หรือไซ่ง่อนผ่านพนมเปญผ่านกรุงเทพฯ แล้วไปออกทวายซึ่งเป็นเส้นทางที่น่าสนใจมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง ส่วนอันดับสองต้องไปดูที่เส้นที่ดานัง มาสุวรรณภูมิมามุกดาหารผ่านขอนแก่นพิษณุโลกออกแม่สอดออกตากแล้วไปออกที่เมาะตะมะหรือมะละแหม่งเพราะว่าถ้าเทียบสองเส้นนี้แล้วคำตอบคือเส้นล่างนี้ผ่านเมืองหลวงสามประเทศ คืออดีตเมืองหลวงเวียดนามใต้ซึ่งก็มีความคึกคักมากกว่าโฮจิมินท์ด้วยซ้ำไปมากกว่าฮานอยผ่านพนมเปญที่เพิ่งจะฟื้นตัวและกรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางหลักผ่านข้ามไปที่ทะเลโครงสร้างการขนส่งทางน้ำที่จะเป็นประตูสู่อนุภูมิภาคขึ้นตรงแหลมฉบังแล้วก็มีท่าเรือ ท่าเก็บเรือน้ำลึกต่างๆ แนวทางพัฒนาของประทศไทยและเชื่อมโยงไปถึงทวายประสิทธิภาพการขับเคลื่อนการขนส่งทางน้ำ ท่าเทียบเรือแหลมฉบังคือหัวใจของการขนส่งทางน้ำ ช่วยกันขับเคลื่อนในการวางแผน
                             เรื่องของทางอากาศซึ่งเราก็มีสนามบินสุวรรณภูมิซึ่งขณะนี้อยู่ที่
45 ล้านคนต่อปีวันนี้ทะลุไปถึง47ขึ้นไปถึง51- 52 ล้านคนต่อปีแล้วที่เราประเมินเองขีดความสามรถอยู่ที่ 36 ล้านคนต่อปีแต่ตอนนี้พัฒนาอยู่ที่ สิบกว่าล้านคนต่อปี ก็ต้องเพิ่มดอนเมืองให้มีประสิทธิภาพช่วยสุวรรณภูมิเรื่องของภูเก็ตแอร์พอตอยู่ที่15 ซึ่งตอนนี้กำลังขยายออกไปอยู่ที่ 12 ล้านคนต่อปี ด้วยงบประมาณห้าหกพันล้านบาทด้วยกัน เรื่องของทางเชียงใหม่แอร์พ๊อตก็จะขยายในจาก8 ล้านคนซึ่งขณะนี้อยู่ที่6 ล้านคนต่อปีก็จะเพิ่มขึ้นให้เป็น12ล้านคนในระยะยาวต่อไปและการขับเคลื่อนต่างๆทีจะประสบความสำเร็จไม่ได้อยู่ที่การว่างโครงสร้างที่กล่าวมาอย่างเดียวแต่มันอยู่ที่คน คนที่สำคัญที่สุดคือคนเบอร์ 1 ของหน่วยงานนั้นๆที่จะต้องให้ความสำคัญและข้อ 2 ที่เกี่ยวกับคนก็คือการให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมตั้งแต่แรกเริ่มของการวางแผนเป็นการขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติแล้วมีการสัมมนามีเวทีทำเวอร์คช้อปกันทุกปีเพื่อปรับเปลี่ยนโดยที่ทุกคนมาร่วมกันคิดเน้นความสำเร็จอยู่ที่คนและความสำเร็จอยู่ที่องค์ความรู้ และความตั้งใจจริงของบุคลากร
การเสวนา “รัฐบาลยิ่งลักษณ์ในสายตานักบริหาร...สอบผ่านหรือสอบตก

           การเสวนาในครั้งนี้ประกอบไปด้วยนักบริหารจากหลายภาคส่วนด้วยกันที่ได้แสดงความเห็นต่อนโยบายการบริหารงานของรัฐบาลยิ่งลักษณ์
          คุณไพบูลย์  นลินทรางกูร ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย ปีนี้ประเทศไทยรัฐบาลก็สามารถทำได้ดีพอสมควรมีเสถียรภาพมากขึ้นสดใสมากขึ้น ในแง่ของเศรษฐกิจ GDPในไตรมาสที่ 1 เรามีบวกนิดหน่อย เศรษฐกิจก็ถือว่าดีโดยเฉพาะการบริโภคในประเทศสำหรับนโยบายของรัฐทำได้ดีพอสมควรซึ่งคุณไพบูลย์ให้คะแนนต่อรัฐบาลผ่าน
          จากตัวแทนภาคบริการ คุณทัศพล  แบเลเว็ลด์ กล่าวถึงด้านการท่องเที่ยวของรัฐบาลที่ผ่านมาทุกรัฐบาลเวลามองธุรกิจท่องเที่ยวจะเป็นระบบแยกคิดแบบหลายๆ กระทรวงแต่ละกระทรวงจะแบ่งแยกกันคิดแต่ว่านโยบายหลักที่เป็นในด้านการท่องเที่ยวในเชิงรวมทั้งหมดทุกกระทรวงที่ผ่านมายังไม่เคยมีการพูดกันอย่างจริงจัง อย่างเช่นประเด็นในการที่นักท่องเที่ยวจะกลับมาอีกหรือไม่รัฐบาลไม่เคยมองประเด็นนี้และยังไม่มีการพูดถึงซึ่งหากมองจากสภาพความเป็นจริงนักท่องเที่ยวจะเจอกับสภาพแบบเดิมทุกครั้งเราไม่เคยมีการพัฒนาเลยแต่ดีว่าภาคเอกชนเรายังแข็งแรงแต่ว่านโยบายจากภาครัฐเองนี่ยังไม่ได้ทำอะไรเลยให้เป็นรูปธรรมจริงๆซึ่งตรงนี้กับคะแนนที่ให้รัฐบาลคือคุณทัศพลกล่าวว่ายังไม่ให้รัฐบาลผ่าน
          คุณจันทนา สุขุมานนท์มุมมองจากบริษัทร่วมทุนต่างชาติ กล่าวว่ารัฐบาลต้องมีโรดแม๊พในการแก้ไขและในภาพรวมเราต้องดูแลเรื่องโลจิสติกส์ ตามนโยบายของกระทรวงคมนาคมที่ท่านจารุพงศ์ได้กล่าวถึงแผนงานการคมนาคมการสร้างทาง ราง เรือ เส้นทางต่างๆ รวมทั้งการปฏิรูปการศึกษา และเรื่องคอรัปชั่นส่วนในการให้คะแนนคือ 7-8
          คุณศุภรัตน์  ศิริสุวรรณางกูรในฐานะกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ กล่าว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ถือว่าเป็นอะไรซึ่งรัฐบาลจะอุ้มชูและให้การอุดหนุนมาตั้งแต่ในอดีต 40 ปีที่ผ่านมาโดยเฉพาะกระทรวงอุตสาหกรรมซึ่งนับว่าเป็นโชคดีที่ว่ารัฐบาลได้ให้ความสำคัญแต่ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์เป็นช่วงที่บังเอิญเจอน้ำท่วม แต่รัฐบาลเองก็ให้ความช่วยเหลือเป็นอย่างดีทำให้การฟื้นตัวของยานยนต์ค่อนข้างเร็วมากทั้งนี้ทั้งนั้นก็มองในภาพรวมว่ารัฐบาลเองก็มีความตั้งใจและให้ความสำคัญกับภาคเอกชนค่อนข้างมากโดยเฉพาะมีครม.เรียกว่าร่วมภาครัฐและเอกชนซึ่งตรงนี้คณะกรรมการที่นี้ดีมากซึ่งสามารถที่จะทำงานร่วมกันไปอย่างดีมีความตั้งใจและก็คิดว่าจะให้รัฐบาลผ่านอย่างไม่มีปัญหา
          อิสระ  บุญยังภาพสะท้อนจากภาคอสังหาริมทรัพย์  ภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ได้รับผลกระทบโดยตรงจากมหาอุทกภัยเมื่อปลายปีที่แล้วและก็เป็นภาคธุรกิจที่รัฐบาลได้ให้ความสำคัญและก็มีนโยบายเฉพาะเจาะจงในเรื่องของบ้านหลังแรก และยังมีเรื่องที่รัฐบาลต้องให้ความสำคัญอีกเรื่องคือการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำของแรงงานอาจมีผลกระทบอยู่บ้าง แต่ว่ายังไม่สำคัญเท่ากับการขาดแคลนแรงงาน การนำเข้าแรงงานต่างด้าวโดยผิดกฎหมายน่าจะทำให้ถูกกต้อง เตือนอีกเรื่องคืออุทกภัยที่ผ่านมารัฐบาลควรจะมีการแถลงทุกเดือนเพื่อความเชื่อมั่น ให้เห็นถึงปัญหาอุปสรรคแล้วประชาชนจะให้กำลังใจรัฐบาลเอง ซึ่งการให้คะแนนคุณอิสระให้อยู่ที่หกคะแนน
          พอ.ดร.เศรษฐพงค์  มะลิสุวรรณ ประธาน กสทช. กล่าวว่ารัฐบาลท่านนายกยิ่งลักษณ์ท่านเข้าใจวิธีการไอที หรือโทรคม ท่านเน้นในเรื่องการสื่อสารจะถึงชนบทที่ห่างไกลว่าจะถึงจริงหรือเปล่าเพราะว่าสิ่งที่สำคัญคือการลดความเลื่อมล้ำทางสังคมในเรื่องศึกษาของเยาวชนที่จะได้ใช้ให้เกิดประโยชน์ และการโทรคมนาคมมันจะฝั่งตัวอยู่ในธุรกิจแต่ละทุกธุรกิจซึ่งทางรัฐบาลให้ความสำคัญมาก และท่าน พอ.ดร.เศรษฐพงค์ฯ ให้คะแนนต่อรัฐบาลยิ่งลักษณ์ในเรื่องความสอดคล้องกันระหว่างนโยบายของ กสทช. และของรัฐบาล
สรุปรายงาน...หนึ่งปียิ่งลักษณ์กับอนาคตเศรษฐกิจไทย  รหัส  แสงผ่อง,พันเอกชยุตรา  เสริมสุข,ร้อยตำรวจเอกราชษ์ชภณต์  แสงทัพและนางสาวรุ่งทิพย์  สุวรรณสถิต  นำเสนอ ดร.นันทนา  นันทวโรภาส
รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(สื่อสารการเมือง)
วิทยาลัยสื่อสารการเมือง มหาวิทยาลัยเกริก

ร่วมฟังการสัมมนา “หนึ่งปี ยิ่งลักษณ์กับอนาคตเศรษฐกิจไทย” เมื่อวันพฤหัสฯที่  23 สิงหาคม  2555 ณ โรงแรมดุสิตธานี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น