วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555

ญาณวิทยาทางสังคมศาสตร์กับความรู้ด้านสื่อสารการเมือง โดย รหัส แสงผ่อง



ญาณวิทยาทางสังคมศาสตร์กับความรู้ด้านสื่อสารการเมือง โดย รหัส  แสงผ่อง
ญาณวิทยา(Epistemology)
               ญาณวิทยาคือทฤษฎีความรู้(theory of knowedge)  ที่ศึกษาว่าเรารู้ความจริงได้อย่างไร ดังนั้น ญาณวิทยา จึงสัมพันธ์กับอภิปรัชญา ญาณวิทยาตอบปัญหาว่าด้วยบ่อเกิดความรู้และมาตรการสำหรับตัดสินความถูกผิดของความรู้
                นักปรัชญาตะวันตกกล่าวถึงที่มาและบ่อเกิดของความรู้ไว้ ทางคือ
               1.ผัสสาการ(Sensation)  คือความรู้ที่เกิดจากประสาทสัมผัสทั้งห้า  คือ  การเห็น  การได้ยิน  การได้กลิ่น  การรู้รส  การสัมผัส
                2.เหตุผล(Reason)  คือความรู้ที่เกิดจากการคิดตามหลักเหตุผลในใจ
                3.อัชฌัตติกญาณ(Intuition)  คือความรู้ผุดขึ้นในใจโดยตรง  ถ้าเป็นความรู้จากญาณวิเศษเรียกว่า  การตรัสรู้(Enlightenment)  ถ้าเป็นความรู้ที่ได้จากการดลใจของพระเจ้าเรียกว่า  วิวรณ์  (Revelation)
               ปัญหาที่ตามมาก็คือว่า บ่อเกิดของความรู้ทางไหนเล่าจึงให้ความรู้ที่ถูกต้องตามความเป็นจริง   ในเรื่องนี้  นักปรัชญามีความเห็นแตกกันเป็น  กลุ่มใหญ่ๆ
               1.ลัทธิประสบการณ์นิยม( Empiricism) ถือว่าประสาทสัมผัสเป็นมาตรการการตัดสินใจ
               2.ลัทธิเหตุผลนิยม(Rationalism)ถือว่าเหตุผลเป็นมาตรการตัดสินใจความจริง
               3.ลัทธิอัชฌัตติกญาณนิยม(Intuitionism) ถือว่าอัชฌัตติกญาณเป็นมาตรการตัดสินใจ(http://sambydee.blogspot.com/2011/11/epistemology.html, 18 พฤศจิกายน 2554)
            ทฤษฎีความรู้หรือญาณวิทยา (Epistemology) เป็นสาขาหนึ่งในปรัชญาที่มุ่งศึกษาเกี่ยวกับลักษณะของความรู้ การได้มาซึ่งความรู้ ศึกษาว่าเราสามารถรู้ความจริงได้หรือไม่ ฉะนั้นญาณวิทยาจึงเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับความจริง กล่าวคือ สิ่งไหนที่จัดเป็นความรู้ สิ่งนั้นก็ต้องเกี่ยวข้องกับความจริง และสิ่งไหนที่เป็นความจริง สิ่งนั้นก็ต้องเป็นความรู้ที่แท้จริงเช่นกัน การรู้ความจริงจึงเรียกว่าความรู้ หัวข้อหลักๆในขอบเขตของญาณวิทยาคือ ญาณวิทยาจะศึกษาถึงบ่อเกิดหรือกำเนิดของความรู้ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร เราจะยืนยันว่ารู้ได้อย่างไร และหนทางที่เราจะเรียนรู้ได้ มีนักปรัชญาให้ทรรศนะเกี่ยวกับบ่อเกิดของความรู้แตกต่างกันออกไปมากมาย ในที่นี้จะได้กล่าวถึง 4 ทฤษฎีหลักๆ คือ
            1.ทฤษฎีเหตุผลนิยม (Rationalism)เป็นทฤษฎีที่ยอมรับว่า มนุษย์สามารถรู้ความจริงได้โดยการใช้เหตุผล ไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์ กล่าวคือ เชื่อความรู้ก่อนประสบการณ์ (Apriori Knowledge) เป็นความจริงที่แน่นอนตายตัวโดยไม่ต้องผ่านประสบการณ์ เป็นความจริงชนิดที่จำเป็น (Necessary Truth) เช่น สองบวกสองเท่ากับสี่ ทฤษฎีนี้ถือว่าทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นล้วนมีสาเหตุ ต่างกับความรู้แบบหลังประสบการณ์ (A Posteriori) ที่ต้องอาศัยประสบการณ์เป็นเครื่องตัดสิน ซึ่งความรู้ที่ได้ อาจจะไม่เป็นจริงเสมอไป เช่น กรุงเทพฯ มีประชากรอยู่ประมาณ ๑๐ ล้านคน แต่พรุ่งนี้อาจจะเพิ่มหรือลดลงอีกก็ได้ ต้องอาศัยประสบการณ์ตัดสินจึงเป็นความรู้ที่เปลี่ยนแปลงได้ (Contingent Truth)
            2.ทฤษฎีประสบการณ์นิยม (Empiricism) ทฤษฎีนี้ยอมรับความรู้ที่ผ่านประสบการณ์ (Experience) กล่าวคือ ความรู้เกิดขึ้นได้โดยอาศัยผัสสะหรือประสาทสัมผัส แนวคิดนี้จึงไม่ยอมรับความรู้ก่อนประสบการณ์ ยอมรับแต่ความรู้หลังประสบการณ์เท่านั้น ตัวอย่างของผู้ที่ยึดถือทฤษฎีประสบการณ์นิยมเป็นแบบแผนคือ นักวิทยาศาสตร์และนักปฏิบัตินิยม (Pragmatism)
            3.ทฤษฎีอัชฌัตติกญาณนิยม (Intuitionism)  เป็นทฤษฎีที่ถือว่า การรู้เองเป็นบ่อเกิดที่สำคัญของความรู้ เป็นกิจกรรมของจิตโดยตรง เป็นการหยั่งรู้เข้าไปภายในสิ่งนั้นทำให้เกิดการรู้สิ่งนั้นทั้งหมด แนวคิดนี้ถือว่าการรู้สิ่งใดก็ตามทางประสาทสัมผัส เป็นเพียงความรู้ภายนอกเท่านั้น ไม่เหมือนการหยั่งรู้เข้าไปถึงจิต โดยมีความรู้ดังกล่าวมี ๒ ระดับ คือ ความรู้แบบสามัญที่เรียกว่า สามัญสำนึก (Common Sense) และความรู้แบบพิเศษที่เกิดจากการบรรลุ (Transcendental Intuition)
            4.ทฤษฎีความรู้วิวรณ์ (Revelation) ทฤษฎีนี้ถือว่าความรู้ที่เกิดจากการเปิดเผยของสิ่งเหนือธรรมชาติ (Supernatural Manifestation) เป็นความรู้ที่ไม่ต้องผ่านกระบวนการแบบทั่วๆไปแต่เป็นเรื่องที่อยู่เหนือ ธรรมชาติ เป็นความรู้ทางศาสนาประเภทเทวนิยม (Theism) ที่ตั้งอยู่บนความเชื่อเป็นหลัก ความรู้ดังกล่าวจึงเป็นความรู้ที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ เพราะอาศัยความเชื่อสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติ เหนือประสาทสัมผัส และการคิด(http://www.buddhabucha.net/general-epistemology-and-buddhist-epistemology/, 24 กันยายน 2555)
            ญาณวิทยาศาสนามุ่งการพิจารณาปัญหาเกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนาในประเด็นทาง ญาณวิทยา โดยเฉพาะในศาสนาแบบเทวนิยม (ยูดาย คริสต์ อิสลาม) อาทิเช่น ปัญหาเกี่ยวกับสถานะของความรู้ทางศาสนา เช่น ความรู้ในเชิงรหัสยะ (mystical knowledge) ถือเป็นความรู้หรือไม่ ความรู้ที่ได้จากการเผยแสดง (revelation) หรือวิธีการแบบเทววิทยาธรรมชาติ (natural theology) สามารถยอมรับได้หรือไม่  การมีประสบการณ์ทางศาสนา การมีอยู่ของพระเจ้า การรับรู้คุณสมบัติต่างๆ ของพระเจ้า (เช่น การหยั่งรู้ทุกอย่าง (omniscience) การมีอำนาจสูงสุด (omnipotence) หรือการดำรงอยู่ไม่จำกัด (omnipresence) เป็นต้น)  อย่างไรก็ดีปัญหาหลักที่ญาณวิทยาศาสนาให้ความสนใจคือ ปัญหาเรื่องความมีเหตุมีผล (rationality) ของความเชื่อทางศาสนา  การรับประกัน (warrant) หรือการให้หลักการ (justification) กับความเชื่อทางศาสนา ที่เป็นการพิจารณาการมีอยู่ของพระเจ้าในฐานะที่เป็นความเชื่อหนึ่ง หรือเป็นการพิจารณาถึงปัญหาเรื่องการมีอยู่ของพระเจ้าในเชิงญาณวิทยา
            การ อธิบายเนื้อหาญาณวิทยาศาสนาในที่นี้จะเป็นการอธิบายในประเด็นปัญหาหลัก คือ การพิจารณาเรื่องการให้หลักการกับความเชื่อเรื่องการมีอยู่ของพระเจ้า หรือประเด็นคำถามว่า ความเชื่อเรื่องการมีอยู่ของพระเจ้าเป็นความเชื่อที่สามารถทำให้ถูกหลักการ ได้หรือไม่  แนวคิดและทฤษฎีต่างๆ ที่เกี่ยวกับการให้หลักการกับความเชื่อทางศาสนา รวมถึงข้อโต้แย้งของแต่ละแนวคิดโดยสังเขป  อาทิเช่น แนวคิดแบบหลักฐานนิยม (evidentialism) แนวคิดแบบฟิเดอีสม์ของวิตเกนไตน์ (Wittgenstein Fideism) และแนวคิดที่พยายามปฏิรูปหลักการทางญาณวิทยาเพื่อใช้แก้ปัญหาการให้หลักการ กับความเชื่อทางศาสนาที่เรียกว่าแนวคิดเรื่อง การปฏิรูปทางญาณวิทยา” (reformed epistemology) เช่น แนวคิดของ อัลวิน แพลนติงก้า และวิลเลี่ยม พี อัลสตัน เป็นต้น 
            ในการกล่าวถึงญาณวิทยาทางศาสนาในที่นี้ จะเป็นการกล่าวถึงลักษณะของความเชื่อศาสนาในบริบทของศาสนาคริสต์
  ซึ่งเป็นลักษณะของความเชื่อทางศาสนาที่มีผู้ศึกษาในเชิงญาณวิทยา หรือกล่าวได้ว่ามีลักษณะเป็นการศึกษาญาณวิทยาในศาสนาคริสต์เป็นหลัก โดยทั่วไปความเชื่อทางศาสนาจะมีสถานะแตกต่างจากความเชื่ออื่น คือเป็นความเชื่อที่ถือว่าจริงโดยไม่ต้องมีการอ้างหลักฐานสนับสนุน หรือเป็นความเชื่อที่ไม่สามารถพิจารณาด้วยเหตุผล  ในทางศาสนาสิ่งที่ใช้รับประกันว่าความเชื่อชนิดนี้ว่าเป็นความจริงคือการมีศรัทธาต่อความเชื่อ  ด้วยทัศนะเช่นนี้จึงทำให้ความเชื่อเรื่องการมีอยู่ของพระเจ้ามีสถานะพิเศษ กว่าความเชื่ออื่น(วรเทพ  ว่องสรรพการ, 2546)  ทฤษฎีต่างๆ ที่เราได้เรียนรู้มานั้น มันมาจาก "ประสบการณ์" เริ่มต้นจาก "การสังเกต" "การทดลอง" หรือตามกระบวนการพิสูจน์ตรวจสอบเพื่อ "หาความจริง" ก่อนที่นักคิด นักวิทยาศาสตร์จะทำการสรุปทฤษฎีของตน เค้าก็ต้องใช้ "ผัสสะ" ที่เค้ามีเพื่อพิจารณาธรรมชาติตรงนั้น บางเรื่องก็ยากที่จะเข้าใจได้ มันไม่สามารถเห็นได้เป็นรูปธรรม  "ความรู้" "ทฤษฎี" มันอาจจะไม่ใช่ "ความจริง" ทั้งหมดร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่อย่าลืมว่า สิ่งเหล่านี้มันมาจากกระบวนการ "พิสูจน์และหาความจริง" และไม่มีใครที่จะมาบอกได้ว่า "สิ่งนี้คือเรื่องจริง" "สมองคือตัวกำหนดความคิดจริงแท้แน่นอน" หรือ ฯลฯ เพราะเรายังไม่รู้จัก "ความจริง" -- การศึกษาทฤษฎี นี่แหละคือพื้นฐานองค์ความรู้ ที่จะนำคุณไปพบกับ "ความจริง"!!! หรือพยายามใกล้เคียงกับความจริงให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และถึงแม้จะเป็น "ความรู้" ภายใต้กรอบของ "ความน่าจะเป็น" และ "โอกาสที่จะเกิด" (http://quetoindies.exteen.com/20120526/entry, 24 กันยายน 2555)
            ญาณวิทยาแบบไทย ๆ ถือ ความจริงคือ สิ่งที่มีอยู่ (ไม่ได้ถูกสร้างขึ้น) มนุษย์จะเข้าใจความจริงนั้น

ด้วยการได้รับการบอกเล่าจากผู้ถึงความจริง อาจเรียกครู  หรือ อื่น ๆ ก็ได้  กระบวนการเรียนรู้  ในญาณวิทยานั้น ก็คือ การท่องจำความจริงของครู ผู้บรรลุนั้นให้เป็นของตน ญาณวิทยาแบบฝรั่ง ความรู้คือการที่มนุษย์จำลองความจริงขึ้นมานั้น หากมีแบบจำลองอันอื่น  ที่มีเหตุผลกว่า ที่ท้าทายกว่า ด้วยการสังเกตุการณ์และเหตุผล  กระบวนการเรียนรู้  ญาณวิทยาแบบฝรั่งคือ ฝึกสังเกตุการณ์และเหตุผล  ไม่มีความจริงให้ท่องจำ(http://www.oknation.net/blog/print.php?id=267775, 24 กันยายน 2555)
            ญาณวิทยาของไทยนับแต่โบราณกาลมาก็คือ ความจริงนั้นมีอยู่ (ไม่ใช่ถูกสร้างขึ้น) และมนุษย์สามารถเข้าถึงความจริงนั้นได้ โดยได้รับการบอกเล่าจากคนที่ได้เข้าถึงความจริงนั้นแล้ว (ซึ่งเรียกว่าครู, ผู้รู้, นักปราชญ์, ทิศาปาโมกข์, พระมนู ฯลฯ) ฉะนั้น การเรียนรู้คือกระบวนการที่จะทำให้เราสามารถจดจำความจริงที่มีผู้บรรลุแล้วเหล่านั้นไว้ ให้กลายเป็นสมบัติของเราเอง และนั่นคือที่มาของการให้ความสำคัญแก่การท่องจำ ขอให้สังเกตนะครับว่า ในญาณวิทยาแบบนี้ ความจริงย่อมสถิต คือไม่เปลี่ยนแปลง แต่คงที่อยู่อย่างนั้นเสมอไป จึงไม่จำเป็นต้องไปตรวจสอบความจริงนั้นอีก และด้วยเหตุดังนั้น กระบวนการที่จะแสดงหลักฐานและเหตุผลว่า เราอาจบรรลุความจริงดังกล่าวได้อย่างไร (โดยอาศัยการใช้เหตุผล, โดยอาศัยการสังเกตการณ์, โดยอาศัยการใช้ความรู้สึก ฯลฯ) จึงไม่เกี่ยวหรือไม่สำคัญเลย ความรู้ฝรั่งที่เราให้ความเคารพนับถือนับตั้งแต่ ร.4 ลงมานั้น ไม่ได้เกิดจากญาณวิทยาแบบนี้ ฝรั่งสมัยนั้นยอมรับว่าความจริงมีอยู่ เราอาจจำลองความจริงซึ่งมีอยู่เป็นอิสระจากความคิดของเราได้ โดยอาศัยการสังเกตุการณ์และเหตุผล แต่การจำลองของเราอาจถูกขัดแย้งได้ เมื่อคนอื่นได้พบอะไรใหม่ในการสังเกตการณ์และใช้เหตุผลคนละชุดกับของเรา ฉะนั้น ความจริงของฝรั่งจึงไม่สถิต อาจเปลี่ยนแปลงไปได้ตามการสังเกตการณ์และการคิดของมนุษย์ การเรียนรู้ที่เหมาะสมในญาณวิทยาแบบนี้ก็คือ การฝึกสังเกตการณ์และใช้เหตุผล ไม่มีความจริงให้ท่องจำ มีแต่กระบวนการบรรลุภาพจำลองความจริงที่ดีที่สุด ซึ่งเราต้องทำความเข้าใจกระบวนการนั้นๆ ให้กระจ่าง แน่นอนว่า จะประกาศว่าเป็นผู้รู้อยู่คนเดียว โดยไม่แสดงพยานหลักฐานหรือกระบวนการคิดเหตุคิดผลของตัวให้คนอื่นรู้เลยญาณวิทยาแบบไทยที่ถือว่า มีคนบางคนเข้าถึงความจริงสูงสุดนั้น ยังเป็นญาณวิทยาของคนส่วนใหญ่ในประเทศอยู่ ไม่ว่าเราจะรับวัฒนธรรมฝรั่งมามากเพียงใดก็ตาม และญาณวิทยาแบบนี้ยังเป็นฐานของระบบการศึกษาไทย และการเมืองไทยสืบมาจนปัจจุบัน ไม่ว่าเราจะเรียกระบบปกครองของเราว่าประชาธิปไตยหรือไม่ก็ตาม อันที่จริง ถ้าพูดกันด้วยญาณวิทยาแบบนี้ จะเป็นประชาธิปไตยกันจริงๆ คนไม่รู้นั่นแหละควรพูดมากกว่าคนรู้ ก็คนรู้มีอยู่ไม่กี่คนเท่านั้นนี่ครับ เจ้าของประเทศล้วนเป็นคนไม่รู้เสียเป็นส่วนใหญ่ ถ้าไม่ให้เขาพูดก็ยกประเทศให้ผู้รู้ไม่กี่คนนั้นไปเลยก็แล้วกัน ผมเชื่อว่า คงมีคนจำนวนไม่น้อยแย้งว่า ถ้าปล่อยให้คนไม่รู้พูดมาก บ้านเมืองก็เละเทะไปหมดสิ เพราะเมื่อไม่รู้แล้วจะเข้าไปมีส่วนร่วมในการปกครองบ้านเมืองได้อย่างไร ต้องปล่อยให้คนรู้เขาจัดการไปนั่นแหละถูกแล้ว ถ้าประชาธิปไตยหมายถึงการปกครองของคนไม่รู้ ก็อย่าเป็นมันเลยประชาธิปไตยหรือปไตย ใช่เลยครับ เพราะประชาธิปไตยสมัยใหม่ที่เรารู้จักนั้น เป็นระบบที่วางอยู่บนญาณวิทยาแบบใหม่ของฝรั่ง (ใหม่กว่าสมัยกลาง) นั่นก็คือความรู้ทุกอย่าง ไม่ว่าจะอยู่ในมือใครก็ตาม ย่อมอาจถูกตรวจสอบได้เสมอ มี "ศักดิ์และสิทธิ์" เท่าๆ กันหมด เพราะจะเป็นที่ยอมรับได้ก็ต้องแสดงหลักฐานและเหตุผลวิธีคิดมาให้เป็นที่ยอมรับ จะมาประกาศปาวๆ เพราะถือว่าเป็นนายกฯ หรือเป็นผู้มีสถานะสูงอย่างเดียวไม่ได้ พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ ประชาธิปไตยเป็นระบอบปกครองของคนไม่รู้ด้วยกัน ที่ใครอ้างว่ารู้นั้น คนอื่นอาจเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าเขาแสดงกระบวนการคิดของเขาให้เป็นที่เชื่อถือได้หรือไม่ต่างหาก (http://www.gotoknow.org/blogs/books/view/epist, 24 กันยายน 2555)
            ระบบปัญญาและความรู้ของคนในสังคม อ่อนด้อยลงทุกขณะอีกทั้งระบบศีลธรรมของศาสนาที่เคยค้ำชูสังคมก็ดูเหมือนจะ เข้าตาจนเช่นกัน เหตุใดจึงว่าทั้งระบบปัญญาความรู้ในทางโลก และปัญญาในทางธรรมของสังคมไทยกำลังย่ำแย่ นั้นคงพิจารณาได้จากความล้มเหลวโดยสิ้นเชิงในการจัดการศึกษาในระบบโรงเรียน ที่นอกจากได้เข้าไปทำลาย เบียดขับบรรดาความรู้ดั้งเดิมของคน/ชุมชนให้
ด้อยค่า”  “ไร้ค่า”  “ไร้เหตุผลเชื่อถือไม่ได้ แล้วยังทำให้ผู้คนต้องหันมาเสพ รับ ลอกเลียนความรู้จากภายนอกชุมชน ภายนอกวัฒนธรรมวิถีชีวิต ในลักษณะรับเละแบบไม่เลือก กลายเป็นว่าอะไรที่เป็นความรู้จากข้างนอกดีไปหมด ของเดิมที่ปู่ย่าสั่งสมไว้คือของโบราณ เมื่อเป็นเช่นนี้ภาวะชะงักงันทางปัญญาก็สะดุดลง ประกอบกับการที่เราหันไปเชื่อในระบบเหตุผลที่แยกตัวออกมาโดดเดี่ยวจากระบบ คุณค่าทางศาสนาบรรดาปัญญาอันจะก่อกำเนิดจากการเรียนรู้วิถีชีวิตทางวัตถุ อย่างเป็นเนื้อเดียวกับชีวิตทางจิตวิญญาณ ก็ถูกลดทอนให้เป็นความเชื่อ ความงมงาย  ญาณวิทยาใหม่สำหรับการศึกษาไทยจึงควรเป็นญาณวิทยาของการมองสรรพสิ่งอย่าง เป็นองค์รวมหนึ่งเดียวกัน ไม่แยกส่วนในการมองสรรพสิ่ง มนุษย์และสรรพสิ่งเป็นเพื่อนร่วมชีวิตกัน ซึ่งเสน่มีความเชื่อมั่นว่า ความรู้ อิสรภาพ การศึกษา และคุณค่าทางศาสนาควรจะเป็นองค์รวมของญาณวิทยาใหม่สำหรับการศึกษาไทยที่จะ เปิดมิติใหม่ของการเชื่อมโยงจิตใจมนุษย์เข้ากับระบบนิเวศ ในอีกนัยหนึ่งญาณวิทยาเช่นที่ว่านี้จะฟื้นฟูภูมิปัญญาของท้องถิ่นที่เคยถูก ละเลยทอดทิ้งให้กลับมามีคุณค่าเพื่อเป็นฐานสำหรับการก้าวย่างต่อไปของสังคม ไทยนั่นเอง (http://www.gotoknow.org/blogs/posts/362801, 19 มิถุนายน 2555)  ทั้งปรัชญาตะวันตกและตะวันออกจะมีอัตลักษณ์เฉพาะของตน อย่างไรก็ตามปัญหาเรื่องความจริง (Truth) หรือทฤษฏีทางญาณวิทยา เป็นประเด็นปัญหาสำคัญที่นักปรัชญาตะวันตกและตะวันออกสนใจ เพื่อแยกแยะว่าอะไรเป็นความจริง (The truth) อะไรเป็นความเท็จ (The falsity) ทั้ง ปรัชญาตะวันตกและตะวันออกต่างยืนยันว่ากระบวนการหาความจริงของมนุษย์มี ลักษณะพิเศษที่ต่างจากสัตว์ทั่วไป เนื่องจากมนุษย์มีสติปัญญา ดังนั้น การรู้ความจริงของมนุษย์จึงมีลักษณะเป็นการรู้ตัว (รู้ว่าตนรู้) หรือที่นักปรัชญาตะวันตกมักใช้คำว่า "ความสำนึกรู้" (Consciousness) หรือ "การตระหนักรู้" (Awareness) อัน เป็นลักษณะพื้นฐานของกระบวนการรู้ความจริงของมนุษย์ อย่างไรก็ตาม ปัญหาเกี่ยวกับความจริงของปรัชญาตะวันตกและตะวันออกต่างมีลักษณะเฉพาะที่สอด คล้องกับจุดเน้นของตน กล่าวคือ
            1.คุณลักษณะของทฤษฏีความรู้ตามแนวปรัชญาตะวันตก คือ การรู้ความจริงเพื่อตอบปัญหาที่สงสัยคุณลักษณะ ที่สำคัญประการหนึ่งของทฤษฏีความรู้ (ปัญหาเรื่องความจริง) ตามแนวปรัชญาตะวันตก คือ การรู้ความจริงเพื่อตอบสนองความสงสัย ดังที่ สุนทร ณ รังษี (2521: 2) ได้วิเคราะห์ลักษณะของปรัชญาตะวันตกเรื่องการแสวงหาความจริง (ทฤษฏีทางญาณวิทยา) ไว้น่าสนใจว่า "ปรัชญา ตะวันตกมุ่งแสวงหาความจริงหรือข้อเท็จจริงเพียงอย่างเดียวโดยไม่ พยายามที่จะปฏิบัติตนเพื่อให้เข้าถึงความจริงที่ได้แสวงหาพบแล้ว" และ "ปรัชญาตะวันตกส่วนใหญ่ไม่เกี่ยวกับศาสนาหรือแยกเป็นคนละส่วนกับศาสนา" เพราะ ฉะนั้น นักปรัชญาตะวันตก (ส่วนใหญ่) จึงดำเนินชีวิตไปในทางที่ตรงข้ามกับแนวความคิดทางปรัชญาของตนก็ได้ นั่นหมายความว่าประเด็นปัญหาเกี่ยวกับความจริงของปรัชญาตะวันตก คือ การมุ่งสู่การรู้ความจริงเพื่อตอบสนองความสงสัยในประเด็นปัญหาเกี่ยวกับความ เป็นจริง แม้ว่าความจริงนั้นจะไม่ได้ช่วยให้บรรลุถึงความเป็นจริงเลยก็ตาม หมายความว่า นักปรัชญาตะวันตกมีแนวโน้มในการศึกษาความจริงในประเด็นที่ตนสงสัย เมื่อได้แนวคำตอบที่ถูกใจ (แม้ไม่ถูกใจทั้งหมด) ก็หยุดเพียงแค่นั้น นักปรัชญาตะวันตกไม่พยายามนำแนวคำตอบที่ตนได้รับมาพัฒนาเป็นคำสอนให้ปฏิบัติ เพราะถือว่าศาสนากับปรัชญาเป็นคนละส่วนที่แยกจากกัน
            2.คุณลักษณะของทฤษฏีความรู้ตามแนวปรัชญาตะวันออก คือ การรู้ความจริงเพื่อการบรรลุถึงความเป็นจริงแม้ ว่าลักษณะแนวคิดของปรัชญาตะวันออก (โดยเฉพาะปรัชญาอินเดีย) จะมุ่งปัญหาเกี่ยวกับความเป็นจริงและการรู้ความจริง (เกี่ยว กับความเป็นจริง) แต่จุดเน้นของปรัชญาตะวันออกมีลักษณะพิเศษต่างจากปรัชญาตะวันตก กล่าวคือ ปรัชญาตะวันออก (โดยเฉพาะปรัชญาอินเดีย) สนใจปัญหาความเป็นจริง และรู้ความจริง (เกี่ยวกับความเป็นจริง) เพื่อการบรรลุถึงความเป็นจริง ดังที่ สนั่น ไชยานุกูล (2519) ได้วิเคราะห์ปรัชญาอินเดียว่ามีจุดเน้นในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับศีลธรรมและ การพัฒนาจิตใจ "ทุก ๆ ลัทธิถือว่าปรัชญานั้น เป็นสิ่งจำเป็นในการดำเนินชีวิต และทุก ๆ ลัทธิเพาะปลูกปรัชญาขึ้นมาก็เพื่อให้เราเข้าใจ เราควรจะดำเนินชีวิตของเราให้ดีที่สุดได้อย่างไร" และ "ปรัชญานั้นใช้ให้เป็นประโยชน์แก่คนเราได้อย่างไร" (สนั่น, 2519: 21-22) กล่าวคือ ปรัชญาตะวันออก (โดยเฉพาะปรัชญาอินเดีย) มีลักษณะเป็น "คำสอนให้ปฏิบัติ" ปรัชญา อินเดียไม่ใช่เน้นความรู้อย่างเดียว หากเพื่อส่งเสริมให้รู้เพื่อนำไปปฏิบัติ เน้นหลักปฏิบัติ เพราะจุดหมายสูงสุดของปรัชญา คือ การรู้แจ้งตน (Self - realization) ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่าปรัชญาตะวันออก (โดยเฉพาะปรัชญาอินเดีย)มีลักษณะเป็นปรัชญาชีวิตนั่นเอง(http://www.phucvu.net/2009/04/4_7476.html, 24 กันยายน 2555
            แนวคิดเกี่ยวกับความรู้
  ญาณวิทยา (epistemology) หมายถึง ศาสตร์หรือทฤษฎีเกี่ยวกับความรู้แท้ หรือความรู้ที่มีระบบ ในทางปรัชญา ความรู้ต้องเป็นความรู้ในความจริง เพราะฉะนั้นปัญหาญาณวิทยา จึงไม่ใช่เพียงว่า ความรู้คืออะไร แต่ยังเกี่ยวพันกับความจริงด้วย เช่น อะไรคือสิ่งที่เรารู้ มนุษย์รู้ความจริงได้หรือไม่ โดยวิธีใด ความจริงเป็นสิ่งสัมพัทธ์ (Relative) หรือเป็นสิ่งสัมบูรณ์ (Absolute) เป็นต้นโสคราตีส เชื่อว่าความรู้เป็นสิ่งสัมบูรณ์ คือ เป็นสากล เที่ยงแท้แน่นอน เป็นความรู้ในความจริง และมีความรู้ชนิดเดียวคือ ความรู้ชนิดที่ทำให้ผู้รู้รักความจริง เทิดทูนคุณธรรม สามารถคิดและทำได้อย่างถูกต้อง
            โสคราตีสเชื่อว่า ผู้มีความรู้จะไม่เป็นคนเลวโดยเด็ดขาด ส่วนผู้ที่ยังทำผิด ก็เพราะเขาไม่มีความรู้ มีแต่เพียงความเห็น จึงอาจผิดพลาดได้เป็นธรรมดา ผู้มีความรู้ทุกคนสามารถเข้าถึงความจริงได้ตรงกัน เพราะความรู้หรือความจริงเป็นสิ่งที่มีอยู่ในตัวมนุษย์อยู่แล้ว เรียกว่าเป็นความรู้ก่อนประสบการณ์
(Apriori Knowledge) ดังนั้นสิ่งที่ถูกรู้คือ ตัวเรา มิใช่โลกภายนอก คนเราต้องศึกษาตนเอง (Know Thyself) ให้เข้าใจแล้วจะพบความจริง
            วิธีการที่โสคราตีสใช้ในการศึกษาตนเองก็คือ การคิดตรึกตรองในขณะจิตสงบ และอีกวิธีหนึ่งคือ การถาม-ตอบ หรือที่เรียกว่า วิธีการของโสคราตีส
(Socratic Method) ประกอบด้วย
            1. สงสัยลังเล (skeptical) โสคราตีสจะเริ่มต้นด้วยการยกย่องคนอื่น พร้อมกับขอร้องให้ช่วยอธิบายเรื่องที่ยังไม่กระจ่างให้ฟัง เช่น ความรัก ความงาม คุณธรรม ความยุติธรรม ความรู้ เป็นต้น

            2. สนทนา (conversation) โสคราตีสจะเป็นผู้ตั้งคำถามให้คู่สนทนาเป็นผู้ตอบ เขาเชื่อว่าวิธีการนี้จะทำให้คู่สนทนาเปิดเผยความจริงที่มีอยู่ในตัวเองออกมา โดยมีเขาเป็นเพียงผู้ช่วย ไม่ใช่ผู้นำความรู้ไปให้ เพราะความรู้ไม่ใช่สิ่งใหม่ ขอเพียงนำออกมาให้ถูกวิธี
            3. หาคำจำกัดความ (conceptional หรือ definitional ) โสคราตีส เชื่อว่าความจริงมาตรฐานจะแฝงอยู่ในคำจำกัดความ หรือคำนิยาม ที่สมบูรณ์ เช่น ความยุติธรรม หากเรายังไม่รู้ว่า ความยุติธรรมคืออะไร เราก็ยังไม่เข้าใจและไม่รู้จักว่าการกระทำใดยุติธรรมหรือไม่ยุติธรรม เป็นต้น ดังนั้นการสนทนาจึงเป็นการเสนอคำนิยามศัพท์ และพยายามขัดเกลาคำนิยามนั้นให้บกพร่องน้อยที่สุด
            4. ทดสอบด้วยการลงมือปฏิบัติ โดยใช้วิธีการยกตัวอย่างที่มีสภาพแวดล้อมต่างกันมาช่วยโต้แย้งเพื่อขัดเกลาคำนิยาม คำนิยามใดที่ยังโต้แย้งได้ก็แสดงว่ายังไม่สมบูรณ์ จะต้องหาคำจำกัดความที่ทุกคนยอมรับโดยไม่มีข้อแย้ง
            5. สรุปกฎเกณฑ์ไว้เป็นมาตรฐาน เพื่อนำไปใช้อ้างอิงต่อไป รวมถึงการพิสูจน์คำนิยามดังกล่าวด้วย
(
http://www.baanjomyut.com/10000sword/poem/07.html, 24 กันยายน 2555)
            การศึกษา หมายถึง การถ่ายทอดความรู้ ทักษะและทัศนคติของคนรุ่นก่อนให้กับอนุชนรุ่นหลังของสังคม ทั้งนี้เพราะ อนุชนรุ่นหลังคงไม่อาจเติบโตไปสู่ความเป็นผู้ใหญ่ ถ้าไม่ได้ดูดซับความเชื่อเกี่ยวกับโลกทัศน์ และทักษะในการดำรงชีวิตและแก้ปัญหาของผู้ใหญ่ ก่อนที่การศึกษาจะกลายมาเป็นกระบวนการสำคัญที่ต้องกระทำด้วยความตั้งใจและ เป็นทางการ และเป็นระบบ โดยมีกลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่ง คือ พระหรือนักปราชญ์ หรือนักวิชาการเป็นผู้รับผิดชอบนั้น(
http://www.sahavicha.com/?name=article&file=readarticle&id=320, 3 มิถุนายน 2552)
            คนในสมัยโบราณก็มีการให้การศึกษาแก่เด็กในสังคมของเขาเหมือนกัน แต่การให้การศึกษาของคนสมัยก่อนเป็นไปในลักษณะของการถ่ายทอดให้เกิดการเรียน รู้ในชีวิตประจำวันโดยอัตโนมัติ เช่น การสอนการดำรงชีพ โดยการสอนการจับปลาและการเพาะปลูก
            รวมทั้งการถ่ายทอดวัฒนธรรมทางสังคม เช่น พิธีศพ การศึกษาในลักษณะดังกล่าวไม่ใช่การศึกษาแบบเป็นทางการ ไม่ใช่การศึกษาที่เป็นระบบ และไม่ใช่กระบวนการที่จงใจกระทำขึ้นเพื่อการเรียนรู้
  จึงไม่มีกลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่งซึ่งทำหน้าที่รับผิดชอบต่อเรื่องการศึกษา  
            ดังนั้น การศึกษา คือ ปรัชญาในส่วนที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับปัญหา เป้าหมายของการศึกษาของสังคม
  โดยพยายามตอบคำถามที่ว่า เป้าหมายหรือผลที่พึงประสงค์ที่จะก่อให้เกิดกับผู้เรียนนั้นควรจะเป็นอะไร ? และเป้าหมายดังกล่าวเหมาะสมหรือไม่ ? เมื่อตอบคำถามถึงเป้าหมายของการศึกษาเสียแล้ว ก็สามารถตอบคำถาม ต่อไปได้ว่า ความรู้ใด ทัศนคติใด ทักษะใด ควรได้รับการถ่ายทอดให้แก่เขาเหล่านั้น
            การตัดสินใจร่วมกันระหว่างองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่น กับหน่วยงานทางการศึกษา ควรเป็นการตัดสินใจ ในระดับระนาบความพะวงหรือความเป็นห่วงในฐานะแห่งตนนั้นน่าจะกระจ่างได้ โดยองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่น
 จะเป็นผู้บริหารจัดการในส่วนของงบประมาณ  การติดต่อประสานงานต่าง ๆในขณะเดียวกัน  การจัดการศึกษา  จะเป็นหน้าที่โดยหน่วยงานทางการศึกษา ซึ่งก็จะมีผู้บริหารการศึกษาที่เป็นบุคลากรทางด้านการศึกษาโดยเฉพาะ  เป็นผู้บริหารงานด้านการศึกษาอย่างเป็นเอกภาพ  ไม่ถูกครอบงำโดยผู้บริหารขององค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่น  ภายใต้ความเชื่อที่ว่า
            ไม่ควรนำการเมืองมาเปื้อนปนการศึกษา แต่การเมืองต้องสนับสนุนการจัดการศึกษาอย่างเต็มที่  
            เหตุผลเชิงญาณวิทยา   ที่ว่าคนส่วนใหญ่ไม่มีความรู้เพียงพอที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในทางการเมืองได้ อย่างมีคุณภาพเเละมีประสิทธิภาพ   เหตุ-ผล คือ ถึงเเม้จะมีผู้รู้เกี่ยวกับการปกครองที่สามารถนำความรู้ไปใช้ให้ได้ผลดี มีประสิทธิภาพ เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม  จำนวนหนึ่งในสังคม  เเต่เราจะรู้ได้อย่างไร   ว่าคนกลุ่มไหนในสังคม(เป็นผู้รู้)ที่มี(คุณสมบัติเช่นนี้)   ถ้า คนส่วนใหญ่ที่ไม่ใช่ผู้รู้  ไม่สามารถ(ดูออก) ว่าใครเป็นผู้รู้  เขาเหล่านั้นก็จะไม่ยอมให้กลุ่มผู้รู้เเละผู้ที่มีความสามารถในการปกครอง  เข้าไปมีอำนาจปกครองตน   ตรงนี้จึงมาดูเรื่องของ "คุณสมบัติ" ของผู้รู้วิธีการปกครองที่ดี    นอกเหนือจากการศึกษาเเละประสบการณ์  เพราะปัญหาสังคมจะเปลี่ยนไป ตามความสัมพันธ์ระหว่างปัญหาที่เกิดขึ้นใน สังคม เเละความก้าวหน้าทาง วิทยาการต่างๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น