วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2555

การสื่อสารทางการเมืองเปรียบเทียบเกี่ยวกับปัญหาของงานวิจัย โดย นายรหัส แสงผ่อง



การสื่อสารทางการเมืองเปรียบเทียบเกี่ยวกับปัญหาของงานวิจัย  โดย  นายรหัส  แสงผ่อง
Problems of Comparative Political Communication Resarch  By Rahas  Saengpong
ผู้ที่เป็นหนึ่งในบิดาแห่งการค้นพบของประเทศสหรัฐอเมริกาเกี่ยวกับศาสตร์ด้านการสื่อสารคือ Wilbur Schramm ได้อธิบายไว้ว่าเป็นเสมือนทางแยกด้านการศึกษาที่มีผู้คนผ่านไปมามากมายแต่มีน้อยคนที่จะพักแรมหรือให้ความสนใจหารายละเอียด ต่อมา Berger and Chaffee (1987) ได้ชี้ให้เห็นว่าทางแยกนั้นได้พัฒนาเป็นศูนย์กลางชานเมืองที่กว้างใหญ่ที่มีแผนกเกี่ยวกับการศึกษามากมาย
มีงานศึกษาวิจัย และมีบทความมากมายเช่นกัน จึงแสดงให้เห็นว่าทั้งสองคนคิดว่าการสื่อสารเป็นเสมือน การฝึกฝนการอบรมทางการศึกษาแต่คำเปรียบเทียบของปัจจุบันน่าจะเปรียบว่าเป็นเสมือนท่าอากาศยานนานาชาติที่มีการผสมผสานกันในทางวัฒนธรรม ภาษา มีแหล่งซื้อขายสินค้าและมีกิจกรรมต่างๆมากมาย
            ดังนั้นนอกเหนือจากประเทศสหรัฐอเมริกาแล้วยังมีอีกหลายประเทศ เช่น เยอรมันและสหราชอาณาจักร ที่มีคณะภาควิชาเกี่ยวกับการสื่อสารในมหาวิทยาลัยมากมายด้วย เหตุนี้จึงทำให้การสื่อสารเป็นตัวขับเคลื่อนจุดที่เป็นระดับสูงสุดของคลื่นที่ขยายตัวในเกือบทุกส่วนของโลกมนุษย์
                                    การกำหนดงานวิจัยเกี่ยวกับการสื่อสาร
            ในปี 1984 Paisley ได้จัดให้มีแบบโครงสร้างที่เป็นประโยชน์สำหรับกำหนดให้การสื่อสารอยู่ในโครงสร้างด้านการศึกษา โดยนำสิ่งที่เป็นศาสตร์ดั้งเดิมมานิยามโดยใช้การวิเคราะห์หน่วยของศาสตร์ที่เขาเน้น แล้วระดับสูงสุดก็จะเป็นศาสตร์ทางด้านสังคม เช่น จิตวิทยา ตามด้วยศาสตร์ทางด้านชีววิทยาและศาสตร์ทางด้านฟิสิกส์ และในระดับที่เหนือสุดยอดเป็นหน่วยเดี่ยวที่เขายังไม่ได้พิจารณา
            แต่เขาให้เป็นเกี่ยวกับระบบเกี่ยวกับโลก(global system) ที่สามารถสรุป ได้ว่าองค์ประกอบเชิงเศรษฐศาสตร์และเชิงการเมืองจะมีการจัดการดำเนินการเป็นระบบเดี่ยวเหมือนกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการแบ่งความสำคัญกันของยุดโลกาภิวัตน์
            Paisley ได้โต้แย้งว่าเป้าหมายของศาสตร์ดั้งเดิมคือการลดลงเรื่อยๆ เริ่มจาก ระบบเกี่ยวกับโลก(global system)บนพื้นฐานขององค์ประกอบได้แก่ ชาติและวัฒนธรรม  โดยเน้นวัฒนธรรมว่าเป็นว่าเป็นหน่วยหรือระบบที่ซับซ้อนของมนุษยวิทยา รองลงมาคือ ชาติเป็นองค์ประกอบที่มาจากกลุ่มต่างๆ กลุ่มมาจากรายบุคคล และพฤติกรรมของรายบุคคลก็คือจิตวิทยาที่เป็นศาสตร์ที่อยู่ในระดับล่างสุด
จากนั้นPaisley ได้นำเสนอสิ่งตรงกันข้ามกับศาสตร์ดั้งเดิมโดยศึกษาพฤติกรรมหรือกลุ่มพฤติกรรมที่สามารถศึกษาได้ในทุกระดับ เขากล่าวว่าทุกคนสามารถศึกษาเกี่ยวกับการสื่อสารในลักษณะที่เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา(การเรียนรู้) ส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจ (ความมั่งคั่ง หรือศาสตร์ทางการเมือง(อำนาจ)
            นอกจากนี้การสื่อสารยังรวมทฤษฎีเกี่ยวกับระบบโลก cyber ไว้เป็นส่วนย่อยด้วย มีการให้ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback)และมีการรักษาสภาพระบบ ก็เป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสารด้วยเช่นกัน เมื่อสองสิ่งนี้มาพบกันจึงเป็นจุดที่เรากำหนดการสื่อสารไว้และได้เห็นว่าเรามักจะละเลยกัน
            เราสามารถให้คำนิยามการสื่อสารว่าเป็นเสมือนพฤติกรรมที่เป็นส่วนของการเรียนรู้ การปกครอง และการสร้างความมั่งคั่งทั้งยังเป็นพฤติกรรมที่ประกอบด้วยองค์ประกอบหลายอย่างเช่น การแลกเปลี่ยนข้อมูล การให้ข้อมูลย้อนกลับและการดัดแปลงปรับเปลี่ยน จากการสำรวจงานศึกษาวิจัยพบว่างานวิจัยส่วนใหญ่มักจะเป็นขอบข่ายที่อยู่นอกเหนือจากมุมมองของรายบุคคลหรือกลุ่มย่อยเล็กๆ
                         ความล้มเหลวของการศึกษาเกี่ยวกับวัฒนธรรมความเชื่อ
            ปัญหาสำคัญของการสื่อสารทางการเมือง ในกรณีที่เป็นส่วนย่อยของการสื่อสารก็คือมักเป็นงานศึกษาค้นคว้าที่เกี่ยวกับความเชื่อและมักจะเป็นงานวิจัยที่อยู่ในรูปแบบเกี่ยวกับศิลปะการโต้เถียงมากกว่าศึกษาในด้านเนื้อหาวิชา
            อีกปัญหาหนึ่งก็คือ การศึกษาเกี่ยวกับวัฒนธรรมความเชื่อจะขาดตัวแปรร่วม  การขาดตัวแปรร่วมเป็นต้นเหตุปัญหาคือการไม่สามารถที่จะแสดงให้เห็นความแตกต่างได้ทั้งความแตกต่างในระหว่างคน ความแตกต่างระหว่างระบบสื่อรวมหรือแม้แต่ความแตกต่างระหว่างประเทศ
            จริงๆแล้วการศึกษาวิจัยมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับปัจจัยที่ควรจะเป็นผลผลิตของความแตกต่างเหล่านั้น เมื่องานวิจัยไม่สามารถนำเสนอกลุ่มข้อมูลให้ได้อย่างน้อยสองกลุ่ม จึงทำให้ไม่มีตัวแปรร่วมที่จะแสดงให้เห็นการเปรียบเทียบ ไม่มีการแสดงความสัมพันธ์ให้เห็น
            นอกจากนี้งานศึกษาวิจัยเชิงเปรียบเทียบยังทำให้เราได้ข้อมูลเพิ่มเติมด้วย แต่มักจะพบงานวิจัยเปรียบเทียบเกี่ยวกับวัฒนธรรมแบบนี้น้อยเพราะเสียค่าใช้จ่ายมากและกระบวนวิธีการเก็บข้อมูลซับซ้อนกว่า              
การอ้างถึงความสำคัญของวัฒนธรรมความเชื่อ
            มีคำกล่าวว่าทฤษฎีในระดับที่สูงขึ้นนั้น  ประสบความล้มเหลวในการที่จะสร้างความกระจ่างสู่พฤติกรรมมนุษย์แต่มักจะให้ความสำคัญในเรื่องวัฒนธรรมความเชื่อที่เกี่ยวกับการทำสิ่งที่ผิดของมนุษย์มากกว่า
            จึงมีนักวิจัยค้นคว้าหลายคนได้ศึกษาในด้านนี้  แต่กระนั้นก็ไม่มีพยานหลักฐานที่ชัดเจนที่เป็นผลผลิตของงานวิจัยเปรียบเทียบ
            แต่งานวิจัยเกี่ยวกับการสื่อสารก็ไม่ได้ใส่ใจหัวข้อเกี่ยวกับวัฒนธรรม โดยไม่มีการกำหนดให้วัฒนธรรมเป็นหน่วยของการวิเคราะห์ ทั้งๆที่มีคำที่นิยมใช้ในวงการศึกษาเกี่ยวกับวัฒนธรรมที่นิยมใช้ก็คือ คำว่า Intercultural communication และcross cultural communication
            คำอธิบายที่พอจะนำมาเป็นเหตุผลว่าทำไมจึงมีการศึกษาวิจัยเชิงเปรียบเทียบเกี่ยวกับวัฒนธรรมน้อยมีสามเหตุผลก็คือ
            1.ความยุ่งยากในการให้คำนิยามขอบเขตของวัฒนธรรม เพราะขอบเขตของวัฒนธรรมมีทั้งวัฒนธรรมที่เป็นการจัดระดับตามระบบขั้นและวัฒนธรรมส่วนที่เหลื่อมกันอยู่  วัฒนธรรมสามารถให้คำนิยามได้หลายวิธี โดยสามารถนิยามด้วยการใช้ภาษา ด้วยศาสนาหรือด้วยชาติพันธุ์ก็ได้ หรือแม้แต่ความรู้สึกเป็นเจ้าของหรือเป็นคนนอกก็สามารถนิยามคำว่าวัฒนธรรมได้เช่นกัน
            2.เหตุผลอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้มีงานวิจัยเชิงเปรียบเทียบเกี่ยวกับวัฒนธรรมน้อยก็คือสาเหตุที่นักวิจัยพยายามเลี่ยงวิจัยเกี่ยวกับวัฒนธรรมเพราะว่ามันอาจจะเป็นสาเหตุของการนำไปสู่ความยุ่งยากทางการเมืองได้ หัวข้องานศึกษาวิจัยจึงเป็นในเชิงทฤษฎีมากกว่าจะเป็นเชิงเปรียบเทียบ
            การตั้งหัวข้องานวิจัยเชิงเปรียบเทียบว่าทำไมวัฒนธรรมนี้จึงเข้มแข็งหรืออ่อนแอกว่าวัฒนธรรมอีกแบบหนึ่ง หรือทำไมวัฒนธรรม ก. จึง ประสบความสำเร็จมากกว่าหรือล้มเหลวมากกว่า วัฒนธรรม ข. เพราะการทำเช่นนี้ผู้วิจัยต้องใช้ความกล้าอย่างมากในการที่จะชี้ให้เห็นหลักฐานต่างๆได้และหลักฐานอาจนำไปสู่ความขัดแย้งทางการเมืองได้เช่นกัน
            3.เหตุผลที่สามที่ทำให้งานศึกษาวิจัยเชิงเปรียบเทียบในเรื่องเกี่ยวกับวัฒนธรรมมีน้อยก็คือปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายและความยุ่งยากในการเก็บข้อมูลที่เหมาะสม ปัญหานี้เริ่มมากขึ้นเมื่อใช้โครงงานเป็นแนวทางการแก้ปัญหา เช่นมีโครงการที่มีสมาชิกถึง ­๓๘ประเทศ จึงทำให้การเข้าถึงข้อมูลง่ายขึ้น
            ยังมีความคิดดั้งเดิมที่ยังคงมีอยู่อีกอย่างหนึ่งก็คือ การสื่อสารเป็นเสมือนแรงสำหรับการเปลี่ยนแปลงด้านสังคมและด้านเศรษฐกิจแต่ก็ยังไม่มีหลักฐานสนับสนุน นอกจากนี้การเกิดเหตุการณ์ทางการเมืองต่างๆทั้งในยุโรปและการพัฒนาในประเทศโลกที่สามเป็นการเปิดโอกาสให้เกิดงานวิจัยแบบ cross culture
            พื้นฐานอีกอย่างหนึ่งก็คือความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม และความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมนี้ยังแสดงให้เห็นแนวโน้มที่สำคัญในงานวิจัยเกี่ยวกับการสื่อสารโดยทั่วๆไป แต่อาจจะกล่าวได้ว่าเรากำลังมองหาสิ่งที่ผิดพลาดถ้าหากเรามองหาความแตกต่างในตัวผู้คนหรือมองหาในระบบสังคม
            สิ่งที่น่าเบื่ออีกอย่างหนึ่งในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการสื่อสารก็คือการขาดตัวแปรเป็นการขาดที่ชัดเจน หากไม่มีตัวแปร ก็ไม่สามารถหาตัวแปรร่วมได้ และหากไม่มีตัวแปรเราก็ไม่สามารถอธิบายความแตกต่างระหว่างผู้คน  ระหว่างวัฒนธรรม หรือภายในระบบโลก 
            หากทำการศึกษาอิทธิพลของสื่อแบบที่เคยทำแต่ก่อนก็จะทำให้เห็นว่าการได้พบกับสื่อแบบต่างๆนั้นมีอิทธิพลมากทั้งต่อความคิดเห็น ความรู้ ความตั้งใจที่จะแสดงความคิดเห็นต่อสาธารณชนด้วย ดังนั้นจึงเป็นงานวิจัยที่มีตัวแปรแต่ไม่มีตัวแปรร่วมเพราะการได้สัมผัสสื่อแบบต่างๆกับไม่ได้สัมผัสสื่อเลยนั้นไม่สามารถชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างกันได้
            จริงๆแล้วมีตัวแปรอยู่ในเนื้อหาสื่อและในผู้คนแต่มักจะหาความสัมพันธ์ระหว่างกันไม่ได้ มักจะเป็นความแตกต่างในวัฒนธรรมมากกว่า มีผลงานวิเคราะห์ของ Bennett และพวกมองความผันแปรของการใช้สื่อเป็นเสมือนตัวทำนายความรู้เกี่ยวโลกนอกประเทศของผู้ตอบแบบสอบถาม
            ผลของงานศึกษาวิจัยที่ใกล้เคียงกันคือเป็นงานวิจัยเรื่องการใช้สื่อนั้นแทบจะไม่มีตัวแปรเลยแม้ว่าระบบสื่อจะหลากหลายอย่างเห็นได้ชัดเจนก็ตามและประชากรก็มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันน้อยมากไม่ว่าจะเป็นเรื่องความรู้ เพศหรืออายุแต่ที่แตกต่างกัน
            ผลจากงานศึกษาวิจัยที่ใกล้เคียงกันได้พบว่าการใช้สื่อมิได้อธิบายเรื่องความผันแปรเลยแม้ว่าจะมีความแปรผันในเรื่องระบบสื่ออย่างเห็นได้ชัดเจนก็ตามแต่ที่ยังแตกต่างกันอยู่ก็คือวัฒนธรรม แต่ไม่มีการวิเคราะห์ในระดับขั้นที่สอง(มัธยมภูมิ)และขั้นที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น ที่แสดงให้เห็นความสัมพันธ์กับอิทธิพลความแตกต่างที่เกี่ยวกับชาติ แต่ยังมีความชัดเจนในความแตกต่างเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะประจำชาติของผู้ตอบแบบสอบถาม และเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้นเมื่อตัดปัจจัย ความแตกต่างระหว่างรายบุคคลกับความแตกต่างระหว่างการใช้สื่อออกไปก็ยังคงมีความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมอยู่
            แม้ว่าจะมองในด้านความสนใจเกี่ยวกับเศรษฐกิจก็ตาม ทั้งที่มีความแตกต่างเกี่ยวกับเศรษฐกิจและการเมืองอยู่แต่ก็ยังมีเหตุผลที่เป็นความแตกต่างด้านวัฒนธรรมด้วยเช่นกัน
            ในงานวิเคราะห์ทั้งสองที่กล่าวมานั้นพบว่าในสังคมเปิดเพศหญิงดูจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำข่าวมากกว่าและดูเหมาะสมกว่า โดยผู้หญิงจะเป็นผู้รายงานข่าวทางสื่อโทรทัศน์มากกว่าสื่อสิ่งพิมพ์ และรวมทั้งในพื้นที่ที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับวัฒนธรรมและความสำคัญเกี่ยวกับระบบสื่อ โดยมีความผันแปรสัมพันธ์น้อยมาก
            หากมองว่าวัฒนธรรมเป็นแหล่งของความผันแปรนั้นดูว่าจะง่ายขึ้นแต่ก็ยังคงดูยากอยู่ ในกรณีศึกษาส่วนใหญ่ต้องมีการวัดในระดับรายบุคคลมากมายและต้องเป็นรายบุคคลที่มีความแตกต่างกันในเรื่องวัฒนธรรมด้วยเพื่อที่จะได้เห็นผลความแตกต่างด้านวัฒนธรรม ความผันแปรเกี่ยวกับการสื่อสารนั้นเป็นไปได้ทั้งในเรื่องเกี่ยวกับรายบุคคลในด้านการใช้สื่อและเป็นเรื่องเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะที่เป็นวัฒนธรรมของสื่อชาตินั้นๆ ซึ่งความแตกต่างนี้มีความหมายโดยนัยสำหรับระดับชาติ ระดับวัฒนธรรมหรือระดับการพัฒนาวัฒนธรรมย่อยๆ
            ยังไม่มีงานศึกษาค้นคว้าที่เป็นระบบเกี่ยวกับอิทธิพลของความแตกต่างในระบบสื่อและยังไม่มีการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องนี้กว้างขวางนักและความเชื่อมโยงระหว่างการสื่อสารกับการเปลี่ยนแปลงด้านสังคมและเศรษฐกิจก็ยังคงเป็นที่ถกถียงกันอยู่ แต่ดูเหมือนว่าอิสรภาพของสื่อดูเหมือนจะทำให้เกิดผลผลิตที่เป็นการเจริญเติบโตเศรษฐกิจมากกว่า
การอยู่ระหว่างค่าความแตกต่างระหว่างสองสิ่ง
            เราพยายามคิดถึงงานวิจัยที่เกี่ยวกับการสื่อสารในจุดที่อยู่ตรงกลางงานศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการศึกษาและใน
            ด้านที่เป็นการสื่อสารในมุมมองของPaisley จะเห็นว่าการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการสื่อสารนั้นสามารถทำได้ในทกระดับขององค์กรและในด้านที่เป็นส่วนประกอบของด้านงานศึกษาวิจัยด้านใหม่ที่น่าสัมผัส
            ด้านย่อยๆของการสื่อสารกับการพัฒนา(หรือการสื่อสารกับการเปลี่ยนแปลงสังคม)นั้นเป็นที่ตระหนักกันดีจึงมี
            งานศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ค่อนข้างมาก แต่หากสำรวจอย่างแท้จริงแล้วการพัฒนานั้นจะมุ่งที่เศรษฐกิจและการเมืองโดยไม่มีการกล่าวถึงการสื่อสารเลย
            อีกตัวอย่างหนึ่งก็คือการสื่อสารกับความสัมพันธ์ระดับนานาชาติ เราได้อ่านเกี่ยวกับความเชี่ยวชาญในด้านการคบค้าสมาคมกับสื่อ  อ่านเกี่ยวกับสงครามโทรทัศน์ อ่านข้อมูลประชาสัมพันธ์ของคนยุคใหม่มากมายแต่ก็มีน้อยมากที่พูดเกี่ยวกับการสื่อสาร หลังจากที่ Neuman ได้ศึกษาผลกระทบของเทคโนโลยีการสื่อสารมาเป็นเวลานานเขาจึงสรุปว่างานประดิษฐ์ค้นคว้าด้านเทคนิคนั้นเร่งตัวขึ้นรวดเร็วแต่ไม่ได้เปลี่ยนตัวเลือกในการปกครองรัฐบาลหรือสิ่งเหล่านี้ไม่ได้เป็นปัจจัยที่เป็นตัวลวงในการตัดสินใจประกาศสงครามของประเทศต่างๆเลย
            ในการสำรวจมาตรฐานหนังสือตำราที่เชื่อมโยงกับการสื่อสาร ในการศึกษากรณีส่วนใหญ่พบว่ามีการกล่าวถึงการสื่อสารในตำราเกี่ยวกับการเมือง จิตวิทยา สังคมศาสตร์แบบผิวเผินเท่านั้นและมักจะกล่าวในลักษณะการอ้างอิงงานศึกษาวิจัยและความคิดต่างๆ ดังนั้นจะเห็นว่าความคิดเกี่ยวกับการสื่อสารนั้นแตกต่าง จนกว่าเราจะสามารถแสดงให้เห็นว่าการสื่อสารนั้นเป็นบทบาทที่มีความหมายในสังคมของเราและในที่อื่นๆด้วย นั่นแหละจึงจะสามารถกล่าวได้ว่าการสื่อสารนั้นอยู่ตรงจุดศูนย์กลางของโลกการศึกษาและโลกการเมืองอย่างแท้จริง
                                                ทิศทางของงานศึกษาวิจัย
            เมื่อยี่สิบปีก่อนเมื่อ Stevenson and Shaw 1984 ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานวิจัยเชิงเปรียบเทียบชิ้นหนึ่ง ช่างเป็นเรื่องยุ่งยากลำบากมากทีเดียว เพราะการหาข้อมูลตัวเลขที่ถูกต้องและจากแหล่งที่ถูกต้องนั้นลำบากมากแต่สถานการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างเหลือเชื่อ Stevenson 2003 ได้พบงานศึกษาวิจัยมากมายและหลากหลาย หน่วยงานสำรวจทั่วไปของประเทศสหรัฐอเมริกาสามารถสำรวจหาข้อมูลตัวเลขจากประเทศต่างๆทั่วโลกได้อย่างง่ายดาย ในปัจจุบันมีข้อมูลตัวเลขที่น่าเชื่อถือได้เชื่อมโยงกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำการสำรวจได้ง่ายขึ้น
            นอกจากนี้ยังมีข้อมูลหลายชุดที่สามารถเข้าถึงได้ทางห้องสมุดหรือดาวน์โหลดจากอินเตอร์เนต สามารถเพิ่มขอบเขตของคำถามหรือสมมติฐานได้กว้างขึ้น หลายปีที่ผ่านมามีทฤษฎีมากมายเกิดขึ้นและไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเชื่อมโยงกับปัจจัยด้านวัฒนธรรม ดังนั้นวัฒนธรรมที่เคยเป็นเสมือนตัวแปรสำคัญในการสื่อสารทางการเมืองจึงไม่ใช่เป้าหมายสำคัญเหมือนงานวิจัยครั้งแรกๆอีกต่อไปแล้ว แต่กลับกลายเป็นโลกาภิวัตน์ที่มีความสำคัญและเป็นคำสำคัญแทน ซึ่งคำนี้เป็นนัยของการศึกษา เท่าๆกับเป็นนัยของวัฒนธรรมการเมืองและเศรษฐกิจและควรจะประยุกต์คำนี้สู่การสื่อสารทางการเมืองด้วยเช่นกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น