วันจันทร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555

เปรียบเทียบการเมืองการปกครองประเทศเกาหลีใต้-สหรัฐอเมริกาและฝรั่งเศส โดย.รหัส แสงผ่อง



เปรียบเทียบการเมืองการปกครองประเทศเกาหลีใต้-สหรัฐอเมริกาและฝรั่งเศส โดย.รหัส  แสงผ่อง
บทนำ
                                ประเทศที่ใช้รูปแบบรัฐเดี่ยว (Unitary state) ได้แก่ ประเทศไทย ประเทศฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร ประเทศญี่ปุ่น และประเทศเกาหลีใต้  มีการปกครองในระบอบประชาธิไตย รูปแบบการเมืองการปกครองในการบริหารจัดการแตกต่างกัน(พฤฒิสาน  ชุมพล,2554:46)  และรัฐรวม รัฐประเภทนี้ได้แก่ การที่รัฐอย่างน้อย 2 รัฐมารวมกันเป็นรัฐเดียว โดยแบ่งการใช้อำนาจอธิปไตยออกเป็นสัดส่วน มีรัฐบาล 2 ระดับ ได้แก่ รัฐบาลกลาง กับรัฐบาลท้องถิ่น รัฐบาลทั้ง 2 ระดับ ต่างมีอำนาจหน้าที่ของตนโดยบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยทั่วๆ ไป รัฐบาลกลางของรัฐรวมจะใช้อำนาจอธิปไตยในส่วนที่เกี่ยวกับผลประโยชน์ของรัฐ ทั้งหมด หรือผลประโยชน์อันเป็นส่วนรวมของรัฐ เช่น การติดต่อกับต่างประเทศ การรักษาความมั่นคงของชาติ การเงินและการคลัง เป็นต้น
                                ส่วนรัฐบาลท้องถิ่นมีอำนาจในการดำเนินกิจการอันเกี่ยวข้องกับท้องถิ่นโดย เฉพาะ เช่น การจัดการศึกษา การรักษาความสงบภายใน การรักษาสุขภาพของประชาชนเป็นต้น รัฐรวมประกอบด้วยหลาย ๆ รัฐเข้ามารวมกันเป็นรัฐประชาชาติใหญ่ เรียกว่า สหพันธรัฐ เช่น สหรัฐอเมริกา ประกอบด้วยมลรัฐต่าง ๆ ถึง
50 มลรัฐ สาธารณรัฐเยอรมนี มีรัฐต่าง ๆ รวมกันถึง 16 รัฐ เป็นต้น รัฐธรรมนูญของรัฐรวมหรือสหพันธรัฐแบ่งแยกอำนาจของรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้อง ถิ่นออกจากกันอย่างเด่นชัดว่า รัฐบาลใดมีขอบเขตของอำนาจหน้าที่อย่างไร ทั้งนี้เพื่อป้องกันความขัดแย้งอันอาจจะเกิดขึ้นได้ ปกติรัฐที่มีการปกครองแบบรัฐรวม มักจะเป็นรัฐหรือประเทศใหญ่ มีอาณาเขตกว้างขวาง มีภูมิประเทศและสภาพท้องถิ่นไม่เหมือนกัน เช่น สหพันธรัฐรัสเซีย ออสเตรเลีย บราซิล สหรัฐอเมริกา แคนาดา อินเดีย เป็นต้น(http://writer.dek-d.com/freya1412/story/viewlongc.php?id=733167&chapter=1)                                  เพื่อประโยชน์ของการเรียนวิชาการเมืองและระบบการสื่อสารทางการเมืองเปรียบเทียบ  เพื่อให้มองเห็นมากขึ้น กว้างขึ้น รู้มากขึ้น รู้มากย่อมดีกว่ารู้น้อย รู้น้อยย่อมดีกว่าไม่รู้เลย การได้รู้มากขึ้นนั้นย่อมเป็นประโยชน์ต่อตัวเราเองโดยตรงทั้งสิ้นไม่ว่าจะนำ ความรู้นั้นไปใช้อย่างไรหรือไม่ก็ตาม การได้รู้จักคนอื่น ประเทศอื่น และการปกครองของประเทศอื่นนั้นทำให้เราได้ประโยชน์ การรู้จักการเมืองการปกครองในประเทศอื่นมากขึ้น ทั้งในด้านประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ สังคม และเศรษฐกิจ   นำไปสู่การศึกษาอย่างมีเหตุผลเป็นระบบ และนำไปใช้วิเคราะห์อธิบายได้ถูกต้องมากขึ้น
                              สามารนำไปตอบคำถามในทางการเมืองการปกครองได้อย่างมีเหตุผลในเชิงวิชาการ การศึกษาเปรียบเทียบทำให้เรารู้จักการใช้เหตุผลในการเปรียบเทียบ มีแนววิเคราะห์ที่ชัดเจนขึ้น
  การประมวลเหตุผล หาข้อสรุป และใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการคาดเดาเหตุการณ์ หรือการทำนายแนวโน้มหรือการคาดการณ์ในอนาคต หาประเด็นที่เหมือนกันมาศึกษาเพื่อคาดการณ์ถึงผลที่ควรจะเกิดขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงผลเสียไม่ควรเกิดขึ้นได้ หรือเพื่อให้ได้รับผลดีตามต้องการได้มากขึ้นได้  เพื่อให้เกิดความเข้าใจในเหตุผลของความแตกต่าง การศึกษาเปรียบเทียบการปกครองในประเทศต่าง ๆ และจัดกลุ่มเพื่อแบ่งแยกความแตกต่างของแต่ละกลุ่มการศึกษาความทำให้เกิดความ เข้าใจชัดเจนขึ้นในเหตุผลของความแตกต่าง(ไพโรจน์  ชัยนาม,2524:39
                               ในประวัติศาสตร์การเมืองของมนุษย์มีความหลากหลาย ทั้งในส่วนของระบอบการปกครอง ระบบการเมือง อุดมการณ์ทางการเมือง วัฒนธรรมทางการเมือง ความเป็น-ไม่เป็นประชาธิปไตย ฯลฯ ดังนั้น ในการศึกษาการเมืองโดยการใช้ตัวอย่างเพียงแค่ตัวอย่างรูปแบบเดียว จะไม่สามารถทำเข้าใจได้เพราะเริ่มต้นจากการมองการเมืองแบบแคบ   การศึกษาการเมืองในเชิงเปรียบเทียบ คือ การเริ่มต้นจากการมองเห็นความหลากหลายของความเป็นการเมืองในหลาย ๆ ส่วนข้างต้น  และพยายามหาข้อเหมือน-แตกต่างของประเด็นทางการเมืองที่สนใจศึกษา  และเชื่อมโยงหาคำตอบหรือข้อสรุปจากการศึกษา โดยหลัก ๆ จะพิจารณาว่า สภาพที่เหมือนกันนั้น เหมือนกันตรงไหน เพราะอะไร และส่งผลอย่างไรในทางการเมือง หากมีความแตกต่างกัน แตกต่างกันอย่างไร เหตุใดจึงแตกต่างกัน และส่งผลอย่างไรในทางการเมือง  ซึ่งการศึกษาโดยใช้วิธีการเปรียบเทียบมาใช้จะได้คำตอบในลักษณะดังกล่าวได้ง่ายและดีกว่าวิธีการอื่น  โดยคำตอบหรือผลจากการศึกษาเหล่านี้สามารถจะไปเสริมองค์ความรู้ที่มีอยู่เดิมทางรัฐศาสตร์ (จรูญ   สุภาพ,2534:26)
                               การเมืองการปกครองประเทศเกาหลีใต้หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่2 ในปีพ.ศ. 2491 คาบสมุทรเกาหลี ถูกแบ่งเป็นสองส่วนโดยเส้นละติจูดที่ 38 องศาเหนือ (มักเรียกว่าเส้นขนาน 38) โดยสหภาพโซเวียตดูแลเกาหลีเหนือมีการปกครองระบอบสังคมนิยม ส่วนสหรัฐอเมริกาดูแลเกาหลีใต้มีการปกครอง ระบอบประชาธิปไตย สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) ปกครองในระบอบประชาธิปไตย ประมุขของประเทศคือประธานาธิบดี ซึ่งได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนให้เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร มีนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดีผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา รัฐสภาเป็นองค์กรนิติบัญญัติ และศาลทำหน้าที่ทางตุลาการ ทั้งนี้ เกาหลีใต้มีการแบ่งเขตการปกครองเป็น 9 จังหวัด และ 6 เขตการปกครอง (โซล ปูซาน อินชอน แตกู กวางจู แตชอน) 
                               เกาหลีใต้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ฉบับ แรกเมื่อ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2491 โดยได้มีการปรับปรุงแก้ไขมาโดยตลอดอีก 9 ครั้ง การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งล่าสุดมีขึ้นในปี พ.ศ. 2530 เมื่อรัฐบาลประธานาธิบดี ชุน ดู ฮวาน ต้องประสบกับภาวะกดดันทางการเมืองจากพรรคการเมืองต่าง ๆ ซึ่งเรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดี โดยตรง และในที่สุด ประธานาธิบดีชุน ดู ฮวาน ก็ยินยอมให้มีการลงประชามติ แก้ไขรัฐธรรมนูญให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรง โดยอยู่ในตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว (5 ปี) และให้มีการจัดระบบการปกครองท้องถิ่นอิสระเป็นครั้งแรกในรอบ 30 ปี นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญที่ได้รับการแก้ไข ยังได้ยกเลิกอำนาจการยุบสภาของประธานาธิบดี และให้รัฐสภามีอำนาจหน้าที่ดูแลและตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล รวมทั้งระบุว่ากองทัพต้องวางตัวเป็นกลางทางการเมือง                                รัฐธรรมนูญกำหนดให้รัฐสภา(National Assembly) เป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติ ซึ่งรัฐสภาของเกาหลีใต้เป็นรูปแบบสภาเดียวประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 299 คน โดยสมาชิกจำนวน 2 ใน 3 มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ที่เหลือมาจากการแต่งตั้งโดยจัดสรรตามสัดส่วนของพรรคการเมืองที่ได้รับเลือก ตั้ง สมาชิกรัฐสภาแห่งชาติอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี (ล่าสุดเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2547) สภาจะเลือกประธาน (Speaker) และรองประธาน (Vice-Speaker) จำนวน 2 คน อำนาจหน้าที่ของรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญระบุไว้ว่า สามารถถอดถอนนายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดีได้ หากสมาชิกรัฐสภา 1 ใน 3 เสนอขอและสมาชิกสภาข้างมากเห็นชอบตามเสนอ ซึ่งในกรณีการถอดถอนประธานาธิบดีนั้น ต้องเสนอโดยเสียงข้างมากและสมาชิกสภา 2 ใน 3 ให้ความเห็นชอบ   
                                ประธานาธิบดี
เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร ได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากผู้มีสิทธิออกเสียง โดยมีวาระ 5 ปี และไม่สามารถลงสมัครแข่งขันเป็นครั้งที่ 2 ได้ เพื่อเป็นการป้องกันการขยายอำนาจ ประธานาธิบดีดำรงตำแหน่งประมุขของรัฐ และผู้บัญชาการทหารสูงสุดด้วย รวมทั้งเป็นผู้มีอำนาจประกาศกฎอัยการศึก และมาตรการจำเป็นในยามฉุกเฉิน นอกจากนี้ประธานาธิบดีสามารถเสนอร่างกฎหมายให้รัฐสภาพิจารณาได้ อย่างไรก็ตาม ประธานาธิบดีไม่มีอำนาจยุบสภา  คณะรัฐมนตรีประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีซึ่งประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งโดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ช่วยประธานาธิบดีในด้านบริหารประเทศ รวมทั้งมีอำนาจในการพิจารณานโยบายต่าง ๆ ของประเทศ และการเข้าร่วมประชุมรัฐสภา คณะรัฐมนตรีมีจำนวน 20 คน
                                นอกจากนี้ ฝ่ายบริหารยังประกอบด้วย สภาที่ปรึกษาอวุโส สภาความมั่นคงแห่งชาติ สภาที่ปรึกษารวมประเทศ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจแห่งชาติ
คณะกรรมการวางแผนและงบประมาณคณะกรรมการเกี่ยวสิทธิสตรี สภาที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะกรรมการเกี่ยวกับธุรกิจขนาดเล็ก คณะกรรมการตรวจสอบการดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆของรัฐบาลและสำนักงานข่าวกรองแห่งชาติ โดยประธานของคณะกรรมการชุดต่าง ๆ ได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดี ทั้งนี้ หน่วยงานเหล่านี้ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำต่อคณะรัฐบาลด้วย(http://th.wikipedia.org/wiki/ )   
                                เกาหลีใต้ (South Korea) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออก มีพื้นที่ครอบคลุมส่วนใต้ของคาบสมุทรเกาหลี พรมแดนทางเหนือติดกับประเทศเกาหลีเหนือ มีประเทศญี่ปุ่นตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้โดยมีทะเลญี่ปุ่นและช่องแคบ เกาหลีกั้นไว้  ประวัติศาสตร์  ในประวัติศาสตร์เกาหลี แบ่งเป็นราชอาณาจักรทั้งสาม คือราชอาณาจักรโคกูเรียว อาณาจักรแพ็คเจ และอาณาจักรซิลลา ซึ่งปกครองคาบสมุทรเกาหลีและบางส่วนของจีน ตั้งแต่ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสต์กาลถึงคริสต์ศตวรรษที่ 7 ในช่วงหนึ่งศตวรรษก่อนคริสตศักราช คาบสมุทรเกาหลีทั้งหมด และดินแดนส่วนใหญ่ของประเทศจีนอยู่ภายใต้การปกครองของสามอาณาจักร  
                                   ราชวงศ์ลี เป็นราชวงศ์สุดท้ายของเกาหลี หลังจากสิ้นสุดรัชสมัยของพระเจ้าซุนจง เกาหลีก็ได้ถูกปกครองโดยญี่ปุ่นในปี พ.ศ.
2453  หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศเกาหลีต้องแยกเป็นสองประเทศตามข้อตกลงพอตสดัม (Potsdam) ในปี พ.ศ. 2488 โดยใช้เส้นขนาน 38 และเกาหลีใต้ อยู่ในการดูแลโดยสหรัฐอเมริกา ต่อมาจะต้องผ่านพ้นวิกฤติเศรษฐกิจหลังจากอยู่ภายใต้การดูแลของกองทุนการเงิน ระหว่างประเทศ โดยเน้นในเศรษฐกิจเป็นสากลยิ่งขึ้น ยุติการเข้าแทรกแซงของรัฐบาลในธุรกิจเอกชน และให้ความยุติธรรมต่อภาคเอกชนทุกแห่ง และเร่งสร้างความร่วมมือระหว่างเกาหลีเหนือ และเกาหลีใต้ให้อยู่ร่วมอย่างสันติ( http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/ )
                                การเมืองการปกครองเกาหลีใต้
  สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) ปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยประมุขของประเทศคือประธานาธิบดี ซึ่งได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนให้เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร โดยมีนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดีผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา รัฐสภาเป็นองค์กรนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการทำหน้าที่ทางศาล ทั้งนี้ เกาหลีใต้มีการแบ่งเขตการปกครองเป็น 9 จังหวัด และ 6 เขตการ ปกครอง (โซล ปูซาน อินชอน แตกู กวางจู แตชอน)  รัฐธรรมนูญ  เกาหลีใต้ประกาศ ใช้รัฐธรรมนูญฉบับ แรกเมื่อ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2491 โดยได้มีการปรับปรุงแก้ไขมาโดยตลอดอีก 9 ครั้ง การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งล่าสุดมีขึ้นในปี พ.ศ. 2530 เมื่อรัฐบาลประธานาธิบดีชุน ดู ฮวาน ต้องประสบกับภาวะกดดันทางการเมืองจากพรรคการเมืองต่าง ๆ
                               ซึ่งเรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดี โดยตรง และในที่สุด ประธานาธิบดีชุน ดู ฮวาน ก็ยินยอมให้มีการลงประชามติ แก้ไขรัฐธรรมนูญให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรง โดยอยู่ในตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว (
5 ปี) และให้มีการจัดระบบการปกครองท้องถิ่นอิสระเป็นครั้งแรกในรอบ 30 ปี นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญที่ได้รับการแก้ไข ยังได้ยกเลิกอำนาจการยุบสภาของประธานาธิบดี และให้รัฐสภามีอำนาจหน้าที่ดูแลและตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล รวมทั้งระบุว่ากองทัพต้องวางตัวเป็นกลางทางการเมือง  ฝ่ายนิติบัญญัติ  รัฐธรรมนูญกำหนดให้รัฐสภา (National Assembly) เป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติ ซึ่งรัฐสภาของเกาหลีใต้เป็นรูปแบบสภาเดียวประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 299 คน โดยสมาชิกจำนวน 2 ใน 3 มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ที่เหลือมาจากการแต่งตั้งโดยจัดสรรตามสัดส่วนของพรรคการเมืองที่ได้รับเลือก ตั้ง สมาชิกรัฐสภาแห่งชาติอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี (ล่าสุดเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2547) สภาจะเลือกประธาน (Speaker) และรองประธาน (Vice-Speaker) จำนวน 2 คน  อำนาจหน้าที่ของรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญระบุไว้ว่า สามารถถอดถอนนายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดีได้ หากสมาชิกรัฐสภา 1 ใน 3 เสนอขอและสมาชิกสภาข้างมากเห็นชอบตามเสนอ ซึ่งในกรณีการถอดถอนประธานาธิบดีนั้น ต้องเสนอโดยเสียงข้างมากและสมาชิกสภา 2 ใน 3 ให้ความเห็นชอบ ฝ่ายบริหาร ประธานาธิบดี เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร ได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากผู้มีสิทธิออกเสียง โดยมีวาระ 5 ปี และไม่สามารถลงสมัครแข่งขันเป็นครั้งที่ 2 ได้ เพื่อเป็นการป้องกันการขยายอำนาจ ประธานาธิบดีดำรงตำแหน่งประมุขของรัฐ และผู้บัญชาการทหารสูงสุดด้วย รวมทั้งเป็นผู้มีอำนาจประกาศกฎอัยการศึก และมาตรการจำเป็นในยามฉุกเฉิน นอกจากนี้ประธานาธิบดีสามารถเสนอร่างกฎหมายให้รัฐสภาพิจารณาได้ อย่างไรก็ตาม ประธานาธิบดีไม่มีอำนาจยุบสภา คณะรัฐมนตรี ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ซึ่งประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งโดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา
                               นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ช่วยประธานาธิบดีในด้านบริหารประเทศ รวมทั้งมีอำนาจในการพิจารณานโยบายต่าง ๆ ของประเทศ และการเข้าร่วมประชุมรัฐสภา คณะรัฐมนตรีมีจำนวน
20 คน นอกจากนี้ ฝ่ายบริหารยังประกอบด้วย สภาที่ปรึกษาอาวุโส สภาความมั่นคงแห่งชาติ สภาที่ปรึกษาการรวมประเทศ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจแห่งชาติ คณะกรรมการวางแผนและงบประมาณ คณะกรรมการเกี่ยวกับสิทธิสตรี สภาที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะกรรมการเกี่ยวกับธุรกิจขนาดกลางและเล็ก คณะกรรมการตรวจสอบการดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาล และสำนักงานข่าวกรองแห่งชาติ โดยประธานของคณะกรรมการชุดต่าง ๆ ได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดี ทั้งนี้ หน่วยงานเหล่านี้ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำต่อคณะรัฐบาลด้วย  ฝ่ายตุลาการ ประกอบ ด้วยศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา โดยประธานาธิบดีแต่งตั้งประธานศาลฎีกาด้วยความเห็นชอบของรัฐสภา
                               การพิจารณาของศาลกำหนดให้เปิดเผยแก่สาธารณชนทั่วไปได้ ยกเว้นในกรณีที่เห็นว่าจะเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ หรือเป็นเรื่องที่จะสร้างปัญหาในด้านความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยของ ประชาชนหรือเป็นภัยต่อขวัญของประชาชน คำพิพากษาจำเป็นต้องปิดเป็นความลับ นอกจากนี้ ยังมีศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีหน้าที่ในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ โดยให้ความคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน และมีอำนาจในการพิจารณาว่ากฎหมายฉบับใดที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญให้ถือเป็นโมฆะ
(โดยมีขั้นตอนการดำเนินการเริ่มจากศาลรัฐธรรมนูญได้รับการร้องขอจากศาลชั้น ต้นหรือจากกลุ่มบุคคลที่ข้อร้องเรียนได้รับการพิจารณาจากศาลชั้นต้น ให้พิจารณากฎหมายดังกล่าว) อนึ่ง ศาลรัฐธรรมนูญยังเป็นองค์กรที่มีหน้าที่ตัดสินความถูกต้องทางกฎหมาย ของกระบวนการถอดถอนเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐ ได้แก่ ประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี และผู้พิพากษา รวมทั้งมีอำนาจสั่งยุบพรรคการเมืองตามข้อเสนอของฝ่ายบริหาร หากพบว่าพรรคการเมืองดังกล่าวดำเนินกิจกรรมที่ผิดกฎหมาย
(http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=207af861ccaa86d4)
                                แม้ว่าประเทศเกาหลีใต้เป็นรัฐเดี่ยวเช่นเดียวกับไทยเรา แต่เกาหลีใต้มีการแบ่งการบริหารราชการแผ่นดินออกเป็นเพียงสองระดับ คือ การบริหารราชการส่วนกลาง และการบริหารราชการส่วนท้องท้องถิ่นเท่านั้น โดย ไม่มีการบริหารราชการส่วนภูมิภาค ดังเช่นของไทยเราแต่อย่างใด แต่ประเทศเกาหลีได้ทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความเข้มแข็ง เพื่อเป็นรากฐานในการพัฒนาประเทศ ทั้งที่อาจกล่าวได้ว่าการปกครองท้องถิ่นในเกาหลีใต้เพิ่งจะมีการปฏิรูปกัน อย่างจริงจังเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้เอง โดยรัฐธรรมนูญของเกาหลีใต้มีบทบัญญัติรองรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของ เกาหลีใต้แปรเปลี่ยนตามสถานการณ์ทางการเมืองในระดับชาติ ไม่ว่าจะเป็นช่วงสงครามเกาหลีที่ทำให้การปกครองท้องถิ่นของเกาหลีใต้ต้อง หยุดชะงักลง หรือจะเป็นการเข้าสู่อำนาจของรัฐบาลเผด็จการของปัก จูง ฮี หรือ ชุน ดู วาน ที่ยังอยู่ในคุก เพราะส่งทหารไปปราบประชาชนที่กวางจูจนผู้คนล้มตายนับพันคน  เกาหลีใต้มีกฎหมายว่าด้วยการปกครองท้องถิ่น ฉบับแรกตั้งแต่ปี 2492 (Local Autonomy Act in 1949) และได้มีการแก้ไขกฎหมายฉบับนี้หลายต่อหลายครั้ง เพื่อให้การปกครองท้องถิ่นมีความเข้มแข็งและกฎหมายที่บังคับใช้อยู่ใน ปัจจุบันมีการแก้ไขปรับปรุงเมื่อปี 2538 โดยมีเนื้อหาสาระเป็นประชาธิปไตยมากที่สุด กล่าวคือ ให้ทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับมาจาก การเลือกตั้งของประชาชนโดยตรง(ชำนาญ  จันทร์เรือง,2555)
                                สรุปการเมืองการปกครอง สาธารณรัฐ เกาหลี (เกาหลีใต้) ปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ ซึ่งมาจากการเลือกตั้งของประชาชนให้เข้ามาเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร และประธานาธิบดี จะเป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี โดยผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา (
http://www.2by4travel.com/home/Data-travel/korea/khxmul-prathes-keahliti)

การปกครองประเทศสหรัฐอเมริกา : ระบบประธานาธิบดี 
                                 รัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกาเป็นรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรฉบับที่เก่าแก่ที่ สุดในโลกปัจจุบัน โดยเริ่มต้นจากการที่ผู้แทนของรัฐต่างๆ 12 รัฐที่มาประชุมกันที่เมืองฟิลาเดลเฟีย ปี ค.ศ.1787 นั้นโดยเจตนาจะมาเพื่อแก้ไขมาตราของรัฐธรรมนูญของสมาพันธรัฐเดิม แต่เมื่อมาถึงแล้วกลับกลายมาเป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ โดยทั้ง 55 คนที่ร่างรัฐธรรมนูญใหม่นี้ส่วนมากมีพื้นเพจากชนชั้นที่มีทรัพย์ ส่วนมากจะเอียงไปทางอนุรักษ์นิยม มีความเกรงกลัวเรื่องผลของความรุนแรงจากพลังประชาธิปไตย อันที่จริงเขาเหล่านี้พื้นเพเดิม คือ มีบรรพบุรุษที่อพยพมาจากอังกฤษ จึงได้รับการศึกษาแบบอังกฤษ ความคิดทางการเมืองของนักปรัชญา เช่น จอห์น ล็อก และมองเตสกิเออร์ มีอิทธิพลต่อกลุ่มผู้นำเหล่านี้มาก นอกจากนี้ กลุ่มผู้นำเหล่านี้ยังได้ผ่านสงครามกู้อิสรภาพปลดแอกจากอังกฤษ ฉะนั้น จึงรู้คุณค่าของอิสรภาพเป็นอย่างดี และซาบซึ้งว่าการปกครองมิใช่เรื่องการให้เสรีภาพแต่เพียงอย่างเดียว แต่เป็นเรื่องของการจัดตั้งรัฐบาลที่เข้มแข็งเพื่อจะบริหารประเทศได้ รูปแบบการปกครองแบบสมาพันธรัฐขณะนั้น ไม่มีการจัดตั้งรัฐบาลกลางเลยมีแต่สภาคองเกรส ซึ่งสภาคองเกรสจะผ่านพระราชบัญญัติใดๆ ได้ ก็ต่อเมื่อได้รับเสียงสนับสนุน 9 จาก 13 เสียง และถ้าหากจะแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็ต้องได้รับความเห็นชอบเป็นเอกฉันท์จาก ทุกรัฐ  ในเมื่อระดับประเทศไม่มีรัฐบาลกลางที่จะมาจัดเก็บภาษี และไม่มีกองทัพของชาติที่จะปกป้องประเทศ สหรัฐจึงประสบปัญหาในการบริหารมากมาย เช่น ปัญหาของการใช้หนี้สงครามที่ผ่านไป ปัญหาต่างประเทศ ปัญหาการป้องกันประเทศ ปัญหาภัยจากเผ่าอินเดียนแดง ปัญหาของการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ เป็นต้น
                                ฉะนั้น กลุ่มผู้นำจาก 12 รัฐ ที่มาประชุม (ขาดผู้แทนรัฐโรด ไอซ์แลนด์ 1 รัฐ) จึงเป็นผู้มีอุดมคติและมีประสบการณ์ที่ค่อนข้างลบจากรูปแบบการปกครอง สมาพันธรัฐ เขาเหล่านั้นจึงเปลี่ยนใจจากเดิมที่มีเจตนามณ์จะมาแก้ไขรัฐธรรมนูญเดิม ก็กลายเป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ในบรรดาผู้นำ 55 คนนี้ มีนักคิด นักปรัชญาและรัฐบุรุษในอดีตและอนาคตหลายท่านเช่น ยอร์จ วอชิงตัน เบนจามิน แฟรงคลิและเจมส์ เมดิสัน เมดิสันนั้นถือกันว่าเป็นผู้สะท้อนความคิดของคนสมัยนั้นมากที่สุดจากการที่เขามี แนวความคิดก้าวหน้า ขณะเดียวกันก็ไม่หลงใหลหรือหลงละเมอกับคำว่าเสียงของประชาชนเสมอไป เขาคิดว่า มนุษย์เรามักเข้าข้างตนเอง สามารถทำความชั่วได้เสมอ ฉะนั้น จำเป็นต้องหาวิธีการที่จะเป็นสองอย่างควบคู่กันไปคือประการแรก จะต้องหาวิธีการสร้างรัฐบาลกลางให้เข็มแข็งพอที่จะปกครองคนได้ และประการที่สอง จะต้องหาวิธีการที่จะสร้างกลไกเพื่อให้รัฐบาลควบคุมตนเอง ในการสร้างรัฐบาลเพื่อให้มนุษย์ปกครองมนุษย์กันเอง ความยากลำบากจึงอยู่ที่ว่าประการแร จะต้องให้อำนาจแก่รัฐบาลกลางเพื่อที่จะสามารถควบคุมผู้อยู่ใต้ปกครองได้ กำหนดให้รัฐบาลสามารถควบคุมตนเองได้และจำเป็นจะต้องมีมาตรการที่จำเป็นไว้เพื่อป้องกันผลเสียหาย เสรีภาพและเสถียรภาพมั่นคงระหว่างการสร้างรัฐบาลชาติให้มีอำนาจปกครองประเทศได้ขณะเดียวกันธำรงรักษาสิทธิเสรีภาพของมลรัฐที่จะปกครองตนเองในระดับหนึ่ง
หลักการของรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา 
                                1.รัฐธรรมนูญสร้างระบบการปกครองแบบสมาพันธรัฐ (Federation) เป็นรูปแบบที่มีทั้งรัฐบาลกลางและรัฐบาลของมลรัฐต่างๆ ประเด็นคือ จะแบบอำนาจกันอย่างไรระหว่างสองระดับนี้
                                มาตรา 1 ส่วนที่ 8 ได้กำหนดอำนาจของสภาคองเกรสไว้อย่างชัดเจน เช่น อำนาจที่จะจัดเก็บภาษีอากร ใช้หนี้รัฐบาล จัดการป้องกันประเทศ การกู้ยืมหนี้สิน การออกระเบียบกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการค้ากับต่างประเทศและระหว่างมลรัฐต่างๆ อำนาจที่จะผลิตเงินตราและกำหนดค่าของเงินตรา จัดตั้งกองทัพ ประกาศสงคราม และออกพระราชบัญญัติ ที่จำเป็นและเหมาะสมเพื่อดำเนินการตามนโยบายและอำนาจหน้าที่ดังกล่าว    ในขณะเดียวกันใน มาตรา 1 ส่วนที่ 10 ก็ได้จำกัดอำนาจของมลรัฐในหลายๆ เรื่อง เช่น ห้ามมิให้มลรัฐทำสัญญากับต่างประเทศ ห้ามผลิตเงินตรา เป็นต้น  ต่อมาได้แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ในมาตรา 10 กำหนดว่า อำนาจที่มิได้กำหนดให้เป็นของสหรัฐ และยังมิได้เป็นข้อห้ามสำหรับมลรัฐให้เป็นอำนาจของมลรัฐ นี่คือหลักที่เรียกกันว่า อำนาจที่ยังคงเหลือของรัฐ (Residual Power ขณะเดียวกันในมาตรา 6 ส่วนที่ 2 ของรัฐธรรมนูญก็กำหนดไว้อีกว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้และกฎหมายของรัฐที่จะออกภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ จะมีความเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ผู้พิพากษาในทุกๆ มลรัฐจะต้องยึดถือกฎหมายเหล่านี้เป็นแนวปฏิบัติ เรียกกันว่า หลักของกฎหมายสูงสุด (Supremacy Clause)
                                นอกจากนั้น ยังมีการประนีประนอมที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งระหว่างมลรัฐด้วยกันอง โดยกำหนดให้สภาคองเกรสประกอบด้วย 2 สภา คือ สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา สำหรับสภาผู้แทนราษฎรจะใช้หลักการเลือกตั้งโดยตรง บนพื้นฐานของจำนวนประชากรผู้มีสิทธิ ส่วนวุฒิสภากำหนดให้แต่ละรัฐส่งสมาชิกให้รัฐละ 2 คน
                                 2.รัฐธรรมนูญสร้างระบบการแบ่งแยกอำนาจ (Separation of Powers) ผู้ร่างรัฐธรรมนูญยังไม่พอใจเพียงการแบ่งอำนาจระหว่างรัฐบาลกลางกับรัฐบาลมล รัฐเท่านั้น ยังต้องแยกอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ โดยกำหนดให้สภาคองเกรสมีอำนาจนิติบัญญัติ ประธานาธิบดีอำนาจบริหาร และศาลมีอำนาจตุลาการ   ตามหลักของมองเตสกิเออร์ ในการแบ่งแยกอำนาจนี้ยังได้แยกสถาบันฝ่ายบริหารออกจากสภานิติบัญญัติค่อน ข้างจะเด็ดขาด กล่าวคือ ทั้งสองสถาบันมีฐานอำนาจ แยกกัน ประธานาธิบดีได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน มีวาระสมัย 4 ปี แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีของท่านเอง สภาคองเกรสไม่มีอำนาจจะล้มรัฐบาล ส่วนสภาคองเกรส  ก็เช่นกัน ได้รับการเลือกตั้งมาจากประชาชน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มีวาระสมัย 2 ปี และ สำหรับวุฒิสภามีวาระสมัย 6 ปี ประธานาธิบดีไม่สามารถยุบสภา คองเกรสได้  
                                3.รัฐธรรมนูญสร้างระบบตรวจสอบและคานอำนาจ (Checks and Balance) นอกจากจะแบ่งแยกอำนาจแล้ว ผู้ร่างรัฐธรรมนูญยังกำหนดให้มีการตรวจสอบหรือคน อำนาจซึ่งกันและกันได้ เช่น สภาคองเกรสมีอำนาจในการออกพระราชบัญญัติ แต่ประธานาธิบดีมีสิทธิที่จะยับยั้งได้ (Veto)  อย่างไรก็ตาม   เมื่อประธานาธิบดีได้ใช้สิทธิยับยั้งแล้ว   หากร่างพระราชบัญญัตินั้นได้ผ่านการพิจารณาของสภาคองเกรสเป็นครั้งที่สอง โดยได้รับเสียงสนับสนุน 2 ใน 3 ก็จะออกเป็นกฎหมายได้ในทางกลับกันประธานาธิบดีเป็นผู้มีอำนาจ แต่งตั้งผู้พิพากษาในศาลสูงสุดและรัฐมนตรี แต่การเสนอเพื่อแต่งตั้งนี้จะต้องได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภาเสียก่อน ผู้พิพากษานั้นเมื่อได้รับแต่งตั้งแล้ว แต่สภาคองเกรสก็สามารถที่จะกล่าวโทษผู้พิพากษาได้เมื่อมีเหตุหรือมลทินมัว หมอง ในทำนองเดียวกันว่าศาลสูงสุดมีอำนาจที่จะประกาศว่ากฎหมายใดขัดกับรัฐธรรมนูญ
                                4.รัฐธรรมนูญยึดหลักของการจัดตั้งรัฐบาลที่ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน หลักการที่เป็นแม่บทการปกครองของรัฐธรรมนูญสหรัฐ คือ หลักของการปกครองโดยความยินยอมเห็นชอบของประชาชน หลักการนี้จะบรรลุเป้าหมายได้ต่อเมื่อจัดให้มีระบบการเลือกตั้งในทุกตำแหน่ง ที่เกี่ยวข้องกับอำนาจการปกครอง
                               ประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีได้รับการเลือกตั้งโดยคณะผู้เลือกตั้ง ซึ่งได้รับอาณัติจากประชาชนให้มาเลือกประธานาธิบดี ส่วนผู้แทนราษฎรในสภาล่างและวุฒิสมาชิกได้รับการเลือกตั้งเช่นกัน ผู้พิพากษาอาจจะไม่ได้รับการเลือกตั้ง แต่ประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งโดยความเห็นชอบของวุฒิสภา
                                ฉะนั้น จะเห็นได้ว่าผู้ร่างรัฐธรรมนูญมีศรัทธาต่อระบบการเลือกตั้งมาก และเชื่อมั่นว่า รัฐบาลที่เป็นตัวแทนของประชาชนนี้จะเป็นรัฐบาลที่เลวน้อยที่สุด เพราะทุกคนที่ได้รับการเลือกตั้งย่อมต้องมารับผิดชอบต่อผู้เลือกตนในสมัยการ เลือกตั้งครั้งต่อไป      
                                5.หลักของสิทธิเสรีภาพของมนุษยชน หลักของสิทธิเสรีภาพเป็นหลักขั้นมูลฐานที่จะอำนวยให้ระบบการปกครองแบบเลือก ตั้งได้เป็นประชาธิปไตยได้สมบูรณ์แบบ
                                 โดยสรุป รูปแบบการปกครองของสหรัฐ อาจจะเรียกได้ว่า ประชาธิปไตยพหุนิยม (Pluralist Democracy) คือ อำนาจการปกครองกระจัดกระจายอยู่หลายขั้วหลายศูนย์ นอกจากนั้นยังมีรูปแบบของระบบประธานาธิบดีซึ่งรวมบทบาทของประมุขและของนายก รัฐมนตรีไว้ในคนๆ เดียวกัน จุดเด่นของรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีคุณสมบัติตรงที่มีความเรียบง่าย (Simplicity) ไม่กำหนดรายละเอียดมากมาย แต่เปิดทางกว้างๆ ไว้เพื่อให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงในอนาคต
(http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=208.0)   
                                ระบบการเมืองการปกครองของประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศสหรัฐอเมริกาปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดี  คือ  ประธานาธิบดีเป็นผู้นำฝ่ายบริหารและประมุขของประเทศ  โดยมีฝ่ายนิติบัญญัติ  คือ  สภาครองเกรส  ประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎร  และวุฒิสภา  ซึ่งมาจากผู้แทนมลรัฐ  และมีศาลสูงทำหน้าที่ฝ่ายตุลาการ(ชาญชัย  แสวงศักดิ์,
2540:37)  พัฒนาการของระบบการเมืองการปกครองและสถาบันทางการเมืองการปกครองของประเทศสหรัฐอเมริกา  การประกาศอิสรภาพจากอังกฤษของอาณานิคม  13  แห่งในดินแดนอเมริกา  เมื่อวันที่  4  กรกฎาคม  1776  ทำให้เกิดรัฐใหม่ขึ้นในรูปแบบสมาพันธรัฐ  ชื่อว่า สมาพันธรัฐอเมริกา(ชาญชัย  แสวงศักดิ์,2552:64)
                               
รัฐใหม่นี้จำเป็นจะต้องมีการกำหนดกฎเกณฑ์แบบแผนในการจัดการปกครอง  และในขณะเดียวกันก็ยืนยันถึงเอกราชและอธิปไตยของชาติ  จึงได้จัดทำบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งสมาพันธรัฐ  (Articles  of  Confederation)  แต่ก็ต้องประสบปัญหาในการบริหารประเทศมากมาย  เพราะการที่สมาพันธรัฐอเมริกาไม่มีรัฐบาลกลางที่จะทำหน้าที่ในการบริหารประเทศ  จัดเก็บภาษี  ไม่มีกองทัพของชาติ  ทำให้เกิดปัญหาในการใช้หนี้สงคราม  ปัญหาการต่างประเทศ  ปัญหาการป้องกันประเทศจากพวกอินเดียนแดง  รวมทั้งปัญหาการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศจากปัญหาทางการเมืองการปกครองภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งสมาพันธรัฐดังกล่าว  ทำให้บรรดาผู้นำของรัฐต่าง ๆ  มาประชุมร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว  จนในที่สุดกลายเป็นการสถาปนารัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้น  และใช้มาจนถึงปัจจุบันในรูปแบบของสหพันธรัฐ (สมบัติ  ธำรงธัญวงศ์,2548:87-93)  หลักสหพันธรัฐ  (Fedaralism)  เป็นหลักการหรือทฤษฎีที่ว่าด้วยการแบ่งแยกอำนาจอย่างเด็ดขาดระหว่างรัฐบาลกลางกับรัฐบาลของมลรัฐ  และเพื่อให้การบริหารประเทศเป็นไปได้ด้วยดี  และสามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ  ของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ  จึงจำเป็นจะต้องให้อำนาจรัฐบาลกลางสามารถมีอำนาจเหนือมลรัฐทั้ง  13  แห่ง  และสามารถลงโทษผู้ที่ต่อต้านขัดขืนต่อกฎหมายที่รัฐบาลกลางวางไว้ได้  เพื่อให้เกิดความยุติธรรมจึงได้จัดแบ่งอำนาจระหว่างรัฐบาลกลางกับรัฐบาลมลรัฐออกเป็น  3  ประเภท คือ
                                1.Delegated  Power  เป็นอำนาจของรัฐบาลกลางโดยตรง  ซึ่งรัฐบาลแห่งมลรัฐมอบให้รัฐบาลกลางมีอำนาจเด็ดขาดในการดำเนินการทางด้านเศรษฐกิจและการเงิน  จัดระเบียบการค้าพาณิชย์ระหว่างมลรัฐ  และระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกากับต่างประเทศ  กำหนดระบบเงินตราและการดำเนินการกู้ยืมเงินทั้งในและนอกประเทศ  การเรียกเก็บภาษี  รวมทั้งในเรื่องที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ  และการจัดการกองทัพ  การประกาศสงคราม  และการทำสนธิสัญญาสันติภาพ
                                2.Reserved  Power  เป็นอำนาจที่รัฐบาลแห่งมลรัฐยังคงรักษาไว้  และมีอำนาจบางอย่างเต็มที่ในการดำเนินกิจการภายในของรัฐ  โดยรัฐบาลกลางจะเข้ามาก้าวล่วงไม่ได้  ได้แก่  อำนาจในการจัดการศึกษา  การจัดการจราจร  การกำหนดพิกัดอัตราภาษีภายในมลรัฐ  การตรากฎหมายว่าด้วยการสมรส  และการหย่าร้าง  เป็นต้น
                                3.Concurrent  Power  เป็นอำนาจที่ใช้ร่วมกันระหว่างรัฐบาลกลางกับรัฐบาลของมลรัฐ  เช่น  การเก็บภาษี  ซึ่งในกรณีนี้ทำให้ชาวอเมริกันต้องเสียภาษีหลายครั้ง (อภิญญา  แก้วกำเนิด,2544:62)
                                ระบบการเมืองการปกครองและสถาบันทางการเมืองการปกครองของประเทศสหรัฐอเมริกา
  ประเทศสหรัฐอเมริกาปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดี โดยมีสาระสำคัญคือ ระบบประธานาธิบดี  (President  System)  เป็นการปกครองที่มีการแบ่งแยกอำนาจเด็ดขาด  โดยอำนาจหน้าที่ต่าง ๆ  ของรัฐถูกมอบหมายให้แต่ละองค์กร  คือ  ฝ่ายบริหาร  ฝ่ายนิติบัญญัติ  และฝ่ายตุลาการ  นำไปปฏิบัติโดยเป็นอิสระ  ซึ่งแต่ละองค์กรจะทำหน้าที่ของแต่ละฝ่ายโดยไม่ก้าวก่ายตรวจสอบหรือควบคุมซึ่งกันและกัน (ชาญชัย  แสวงศักดิ์,2552:35)  เช่น  ฝ่ายบริหารไม่มีอำนาจในการยุบสภา  ขณะเดียวกันฝ่ายนิติบัญญัติก็ไม่มีอำนาจในการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ  และแต่ละฝ่ายก็จะมีที่มาเป็นอิสระต่อกัน  ซึ่งลักษณะสำคัญของการปกครองระบบดังกล่าว  ได้แก่  การที่ประมุขของรัฐและประมุขฝ่ายบริหารเป็นบุคคลคนเดียวกันซึ่งก็คือประธานาธิบดี  และมาจากการเลือกตั้งของประชาชน  โดยมีอำนาจในการตั้งรัฐมนตรีได้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร  แต่ไม่มีอำนาจริเริ่มเสนอกฎหมาย  ไม่มีอำนาจยุบสภา  ส่วนฝ่ายนิติบัญญัติก็ไม่มีอำนาจในการอภิปรายไม่ไว้วางใจหรือตั้งกระทู้ถามฝ่ายบริหาร  ซึ่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของสหรัฐมีการแยกอำนาจของฝ่ายต่างๆดังนี้ (อภิญญา  แก้วกำเนิด,2544:102)
                                1.สถาบันนิติบัญญัติ  สภาครองเกรส  (Congress)  ประกอบด้วย  สภาผู้แทนราษฎร  หรือ  สภาล่าง  (House  of  Representatives)  มาจากการเลือกตั้งแบ่งตามเขตเลือกตั้งต่าง ๆ  ทั่วประเทศ  และวุฒิสภา  หรือ  สภาสูง  (Senate)  มาจากผู้แทนมลรัฐ  รัฐละ  2  คน  โดยสภาครองเกรสมีอำนาจหน้าที่ที่สำคัญ (ชาญชัย  แสวงศักดิ์,2540:61) ได้แก่การออกกฎหมายและการแก้ไขรัฐธรรมนูญ  การตรวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหาร  นอกจากนี้  สภาสูงยังมีอำนาจหน้าที่ให้สัตยาบันสนธิสัญญา  และการรับรองแต่งตั้งข้าราชการระดับสูงและรัฐมนตรี  ส่วนสภาล่างก็มีอำนาจในการกล่าวโทษ  (Impeachment)  ข้าราชการฝ่ายพลเรือนหรือตุลาการให้พ้นจากตำแหน่ง  โดยต้องใช้คะแนนเสียงสองในสามของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการกล่าวโทษประธานาธิบดี  และวุฒิสภาจะเป็นผู้สืบสวนข้อเท็จจริงหรือเป็นลูกขุนในการพิจารณาคดี  การปลดต้องใช้คะแนนเสียงสองในสามของสมาชิกวุฒิสภา  สำหรับในกรณีของประธานาธิบดีจะต้องให้ประธานศาลสูงเป็นประธานของคณะลูกขุนในการพิจารณา
                                2.สถาบันฝ่ายบริหาร  ประธานาธิบดีเป็นผู้นำฝ่ายบริหารและประมุขของประเทศ  ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง  อยู่ในตำแหน่งคราวละ  4  ปี  และอยู่ได้ไม่เกิน  2  วาระ  โดยมีรองประธานาธิบดีอีกหนึ่งคนซึ่งมาจากระบบของการเลือกตั้งโดยอ้อมผ่านทางคณะผู้เลือกตั้งตามวิธีการที่กำหนดในกฎหมาย  ซึ่งประธานาธิบดีจะเป็นผู้เลือกคณะบริหารหรือคณะรัฐมนตรีเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยของประธานาธิบดี  (ภูริชญา  วัฒนรุ่ง,2550:48)โดยประธานาธิบดีมีอำนาจหน้าที่ที่สำคัญ  ได้แก่  การควบคุมให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย  การแต่งตั้ง  โยกย้าย  ถอดถอนข้าราชการ  ฝ่ายบริหารทั่วไป  เว้นแต่บางตำแหน่งที่มีความสำคัญระดับนโยบาย  เช่น  รัฐมนตรี  และเอกอัครราชทูตต้องได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภานอกจากนี้ยังมีอำนาจในการให้ความเห็นชอบหรือยับยั้งกฎหมาย  (Veto)  แต่หากรัฐสภาลงมติด้วยคะแนนเสียงสองในสาม  อำนาจยับยั้งนั้นตกไป  ซึ่งประธานาธิบดีจะต้องลงนามเพื่อประกาศใช้กฎหมาย  อำนาจในการลดโทษ  อภัยโทษ  หรือนิรโทษกรรมให้แก่ผู้ต้องโทษในคดีต่าง ๆ  ตามข้อจำกัดของรัฐธรรมนูญ  อำนาจในการทำสนธิสัญญาที่จะต้องผ่านการให้สัตยาบันจากวุฒิสภา  และอำนาจสูงสุดในการบังคับบัญชากองทัพทั้งหมดของประเทศ  ทั้งนี้  แม้สภาจะไม่สามารถเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจได้  แต่ประธานาธิบดีก็ไม่สามารถยุบสภาได้เช่นกัน
                                3.สถาบันตุลาการ  ระบบศาลของประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นระบบศาลเดี่ยว  คือ  มีศาลสูง  (Supreme  Court)  เป็นศาลที่มีอำนาจสูงสุดเพียงศาลเดียว  โดยการวินิจฉัยคดีของศาลสูงถือว่าเป็นที่สุด  ไม่สามารถจะอุทธรณ์ต่อไปยังศาลอื่น ๆ  ได้  ผู้พิพากษาของศาลสูงมีทั้งหมด  9  คน  มาจากการแต่งตั้งของประธานาธิบดีซึ่งต้องได้รับความเห็นชอบของวุฒิสภาเสียก่อน  โดยอยู่ในตำแหน่งตลอดชีวิตเว้นแต่จะลาออก ทั้งนี้ ศาลสูงมีอำนาจหน้าที่ในการตีความกฎหมายโดยเฉพาะรัฐธรรมนูญ  และมีอำนาจในการลงมติขับไล่ประธานาธิบดีออกจากตำแหน่ง  แต่ก็อาจถูกปลดออกจากตำแหน่งโดยวุฒิสภาด้วยคะแนนเสียงสองในสาม(ชาญชัย  แสวงศักดิ์,2552:57)
                                เมดิสันนั้นถือกันว่า เป็นผู้สะท้อนความคิดของคนสมัยนั้นมากที่สุด จากการที่เขามีแนวความคิดก้าวหน้า ขณะเดียวกันก็ไม่หลงใหลหรือหลงละเมอกับคำว่า
เสียงของประชาชนเสมอไป เขาคิดว่า มนุษย์เรามักเข้าข้างตนเอง สามารถทำความชั่วได้เสมอ ฉะนั้น จำเป็นต้องหาวิธีการที่จะเป็นสองอย่างควบคู่กันไป คือ ประการแรก จะต้องหาวิธีการสร้างรัฐบาลกลางให้เข็มแข็งพอที่จะปกครองคนได้ และประการที่สอง จะต้องหาวิธีการที่จะสร้างกลไกเพื่อให้รัฐบาลควบคุมตนเอง ในการสร้างรัฐบาลเพื่อให้มนุษย์ปกครองมนุษย์กันเอง ความยากลำบากจึงอยู่ที่ว่า ประการแรก จะต้องให้อำนาจแก่รัฐบาลกลางเพื่อที่จะสามารถควบคุมผู้อยู่ใต้ปกครองได้ กำหนดให้รัฐบาลสามารถควบคุมตนเองได้ และจำเป็นจะต้องมีมาตรการที่จำเป็นไว้เพื่อป้องกันผลเสียหาย เสรีภาพและเสถียรภาพมั่นคงระหว่างการสร้างรัฐบาลชาติให้มีอำนาจ ปกครองประเทศได้ ขณะเดียวกันธำรงรักษาสิทธิเสรีภาพของมลรัฐที่จะปกครองตนเองในระดับหนึ่ง(http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-1/comparative_politics/07.html)
                                ข้อดีและข้อเสียของ ระบอบประชาธิปไตยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข ได้แก่ ฝรั่งเศส อินเดีย สหรัฐอเมริกา เป็นต้น
 1. ข้อดีของระบอบประชาธิปไตย ที่ควรกล่าวถึงมีดังนี้
               1.1 เปิด โอกาสให้ประชาชน ส่วนข้างมากดำเนินการปกครองประเทศ โดยประชาชนส่วนข้างน้อยมีสิทธิที่จะดำรงอยู่และทำการคัดค้านการปกครองของ ฝ่ายข้างมากได้ ข้อดีข้อนี้มีส่วนทำให้เกิดผลดีต่อประเทศชาติโดยส่วนรวม เนื่องจากการตัดสินใจทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยฝ่ายเสียงข้างมากนั้นย่อมจะมีความถูกต้องมากและผิดพลาดน้อย ขณะเดียวกันฝ่ายเสียงข้างน้อยจะคอยเป็นกระจกเงา และท้วงติดผลเสียที่จะต้องป้องกันมิให้เกิดขึ้นตลอดเวลา
               1.2 เปิดโอกาสให้ประชาชนทุกคนใช้สิทธิเสรีภาพได้อย่างเสมอหน้ากัน ตัวอย่างเช่น ไม่ว่าจะเป็นคนมั่งมีหรือยากจน มีสิทธิที่จะรวมตัวกันเป็นพรรคการเมืองและสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรและประธานาธิบดี ซึ่งทำให้ประชาชนมีโอกาสเลือกคนดีและมีความสามารถเข้าดำรงตำแหน่งดังกล่าว
                1.3 ถือกฎหมายเป็นมาตรฐานในการดำเนินการปกครอง โดยใช้กฎหมายบังคับแก่ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นคนมั่งมีหรือยากจน ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการหรือประชาชน ยังผลให้ทุกคนเสมอกันโดยกฎหมาย 
               1.4 ช่วยระงับความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับประชาชน และระหว่างประชาชนด้วยกันเองโดยสันติวิธี โดยมีศาลเป็นผู้พิจารณาพิพากษาคดีต่าง ๆ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ซึ่งช่วยทำให้ประชาชนอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ โดยมีกฎหมายเป็นกรอบของความประพฤติของทุกคน
                                2. ข้อเสียของระบอบประชาธิปไตย ที่ควรกล่าวถึงมีดังนี้
               2.1 มีความล่าช้าในการตัดสินใจทำการต่าง ๆ เนื่องจากต้องมีการปรึกษาหารือและผ่านขั้นตอนมาก เช่นการตรา กฎหมายแต่ละฉบับต้องใช้เวลาบางครั้งหลายวัน หลายสัปดาห์ หรือหลายเดือน เนื่องจากต้องมีการอภิปรายกันในสภา และแก้ไขปรับปรุงกันมากกว่าจะประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมาย ด้วยเหตุนี้ผู้นำของประเทศที่กำลังพัฒนาซึ่งมีปัญหาที่จะต้องแก้ไขโดยรีบ ด่วน จึงมักจะคิดว่าระบอบประชาธิปไตยไม่เหมาะกับประเทศของตน
               2.2 ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการปกครองมาก ตัวอย่างเช่น ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วประเทศ หรือเลือกตั้งประธานาธิบดีแต่ละครั้ง ต้องใช้เงินทองเป็นจำนวนมาก ซึ่งผู้นำประเทศที่กำลังพัฒนามักคิดว่าประเทศของตนยากจนเกินไปที่จะใช้ระบอบ ประชาธิปไตยได้
               2.3 อาจนำไปสู่ ความสับสนวุ่นวายได้ ถ้าประชาชนส่วนมากในประเทศที่ใช้ระบอบประชาธิปไตย ไม่รู้จักใช้สิทธิเสรีภาพให้อยู่ภายในกรอบของกฎหมาย ซึ่งอาจทำให้ประเทศชาติเจริญช้าลงอีก ด้วยเหตุนี้ผู้นำของประเทศที่กำลังพัฒนาบางประเทศ จึงคิดว่าระบอบประชาธิปไตยไม่เหมาะสมกับประเทศของตน เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่พร้อมที่จะปกครองในระบอบประชาธิปไตย
                                โดยสรุป รูปแบบการปกครองของสหรัฐ อาจจะเรียกได้ว่า ประชาธิปไตยพหุนิยม
(Pluralist Democracy) คือ อำนาจการปกครองกระจัดกระจายอยู่หลายขั้วหลายศูนย์ นอกจากนั้นยังมีรูปแบบของระบบประธานาธิบดีซึ่งรวมบทบาทของประมุขและของนายก รัฐมนตรีไว้ในคนๆ เดียวกัน จุดเด่นของรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีคุณสมบัติตรงที่มีความเรียบง่าย (Simplicity) ไม่กำหนดรายละเอียดมากมาย แต่เปิดทางกว้างๆ ไว้เพื่อให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงในอนาคต(http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-1/comparative_politics/08.html)  
การปกครองฝรั่งเศส : ระบบสาธารณรัฐที่ 5     
                                จากยุคสมัยการปฏิวัติ ค.ศ.1789 ได้มีการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ไม่น้อยกว่า 9 ฉบับ ในรอบ 200 ปี เนื่องด้วยอุปนิสัยของชาวฝรั่งเศสที่ชอบลัทธิอุดมการณ์ และชอบความแตกต่างระหว่างบุคคล ในสมัยสาธารณรัฐที่ 4 ซึ่งใช้รัฐธรรมนูญฉบับหนึ่ง เสถียรภาพของคณะรัฐบาลมีปัญหามากที่ ในช่วงเวลา 12 ปี ของสาธารณรัฐนี้ (1946-1958) มีรัฐบาลถึง 13 ชุด แต่ในรัฐธรรมนูญของสาธารณรัฐที่ 5 รัฐบาลแต่ละชุดอยู่ได้ยั่งยืนมาก และนี่ก็ปกครองกันมาถึง 32 ปี แล้วยังมีเถียรภาพดีอยู่ ฉะนั้น ทั่วโลกจึงสนใจรัฐธรรมนูญฉบับที่นายพลเดอโกลได้จัดตั้งขึ้นมากว่า มีเคล็ดลับที่ทำให้ชนชาติฝรั่งเศสที่มีอารมณ์ผันแปรง่าย เดินขบวนง่าย กบฏก็ง่าย  ปฏิวัติก็ง่าย แต่บัดนี้กลับสงบเงียบ และยังไม่มีทีท่าอยากจะเปลี่ยนไปเป็นระบบอื่น ประเทศฝรั่งเศสในสมัยเริ่มแรกก็มีระบบการปกครองคล้ายคลึงกับของอังกฤษในสมัย ยุคศักดินา คือ อำนาจการปกครองกระจัดกระจายไปอยู่ที่ขุนนางต่างๆ กษัตริย์ฝรั่งเศสในสมัยกลางมีความอ่อนแอกว่าของอังกฤษมาก บางยุคสมัยปกครองได้เพียงครึ่งหนึ่งของประเทศในปัจจุบัน อาจจะเป็นเพราะสภาพการณ์เช่นนั้น จึงทำให้กษัตริย์ฝรั่งเศสมุ่งสร้างอำนาจส่วนกลางมากจนกระทั่งในสมัยพระเจ้า หลุยส์ที่14 กษัตริย์ฝรั่งเศสที่ชาวยุโรปถือกันว่าเป็นตัวอย่างที่ดีของผู้ปกครอง คือ มีอำนาจมาก ได้จัดระเบียบการคลัง
                                 การปกครองทำให้การบริหารราชการแผ่นดินมีประสิทธิภาพสูง ถือกับทรงกล่าวเกี่ยวกับพระองค์เองว่า
รัฐคือตัวข้าพเจ้าหรือตัวข้าพเจ้าคือรัฐและเพราะความเข้มแข็งของพระมหากษัตริย์ ความเป็นอยู่ของขุนนางก็เริ่มเหินห่างจากประชาชนในชนบท หลังจากในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ก็ไม่มีกษัตริย์ที่ทรงเข้มแข็งและอัจฉริยะ และเกิดปัญหารายจ่ายสูงกว่ารายได้ เพราะการสงครามนอกประเทศ ระบบการคลังเริ่มล้มเหลว ขณะเดียวกัน ขุนนางไม่ได้เอาใจใส่ต่อการปรับปรุงที่ดินของตน คอยแต่จะรีดภาษีและส่วยของราษฎร ทำให้เกิดระบบการกดขี่และระบบอภิสิทธิ์มากมาย ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจลดน้อยลง ประจวบกับการตื่นตัวทางความคิด นักปรัชญาเมธีเริ่มเผยแพร่ลัทธิ และแนวคิดใหม่ในเรื่องสิทธิเสรีภาพของประชาชน แต่ระบบการปกครองก็ไม่สามารถจะปรับตัวให้ทันกับปัญหาและการเปลี่ยนแปลงเหล่า นี้ ในที่สุดได้เกิดการปฏิวัติครั้งยิ่งใหญ่ในปี ค.ศ.1789 และเกิดการต่อสู้และความรุนแรงทางความคิดระหว่างกลุ่มการเมืองต่างๆ
                                 ในช่วง
1789-1795 ทำให้ชาวฝรั่งเศสแตกแยกทางความคิด และด้วยความเป็นชนชาติเชื้อสายละตินซึ่งมีอารมณ์ศรัทธาในแนวคิดของตน เองอย่างมาก จึงไม่มีการประนีประนอมกัน  ความขัดแย้งกันและปัญหาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ จะข้อนำมาเป็นประเด็นในการพิจารณา โดยจะเปรียบเทียบร่างรัฐธรรมนูญปี 1946 ซึ่งพรรคการเมืองฝ่ายซ้ายมีอิทธิพลในการร่าง กับรัฐธรรมนูญ ปี ค.ศ.1958 ซึ่งนายพลชาร์ล เดอ โกล และนักการเมืองฝ่ายขวามีอิทธิพลในการร่าง  ประการแรก ควรจะตั้งเป็นข้อสังเกตเบื้องต้นว่า เนื่องจากรัฐธรรมนูญฉบับแรกของฝรั่งเศสเกิดจากการปฏิวัติครั้งสำคัญที่สุดใน ประวัติศาสตร์อุดมการณ์ของนักปฏิวัติจึงมีอิทธิพลต่อรัฐธรรมนูญนี้ และฉบับอื่นๆ ที่ตามมา อุดมการณ์เหล่านี้ สรุปเป็นคำขวัญได้ 3 วลี คือ ความเสมอภาค เสรีภาพ และภราดรภาพ ซึ่งจะปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญของสาธารณรัฐที่ 4 และที่ 5
                                  นอกจากนั้น ยังกล่าวถึงหลักอธิปไตยเป็นของปวงชนและเจตนาที่จะสร้างระบบการปกครองแบบ ประชาธิปไตย ซึ่งหมายถึง การปกครองของประชาชน เพื่อประชาชน อุดมการณ์ทางการเมืองเหล่านี้ไม่ปรากฏในรัฐธรรมนูญอังกฤษหรืออเมริกา
  ประการที่สอง  เนื่องจากฝรั่งเศสเริ่มประวัติศาสตร์สมัยใหม่โดยการล้มระบบกษัตริย์ ฉะนั้นระบบสาธารณรัฐจึงเป็นทางเลือกที่ต้องเลือก ในระบบของฝรั่งเศส จะแยกอำนาจหน้าที่ของประธานาธิบดีออกจากอำนาจหน้าที่ของ นายกรัฐมนตรี เมื่อได้แยกบทบาทเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนของประธานาธิบดีซึ่งจะทำหน้าที่คล้ายๆ กษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ และส่วนของนายกรัฐมนตรีจึงมีประเด็นปัญหาเกิดขึ้นในเรื่องความสัมพันธ์ ระหว่างประธานาธิบดีกับนายกรัฐมนตรี
                                การร่างรัฐธรรมนูญฉบับต่างๆ เพื่อแบ่งแยกบทบาทหน้าที่และความสัมพันธ์ของสองตำแหน่งนี้ จึงมีปัญหาอยู่เสมอในรัฐธรรมนูญปี 1946 ของสาธารณรัฐที่ 4 อำนาจของประธานาธิบดีจะน้อยกว่าในรัฐธรรมนูญปี 1958 ของสาธารณรัฐที่ 5  ประการแรก ในฉบับ 1946 รัฐสภาเป็นผู้เลือกตั้งประธานาธิบดี แต่ในฉบับ 1958 ผู้เลือกตั้งคือ สมาชิกของรัฐสภา นายกเทศมนตรี และสมาชิกสภาท้องถิ่น ซึ่งทำให้ฐานอำนาจของประธานาธิบดีของสาธารณรัฐที่ 5 กว้างกว่าในสมัยสาธารณรัฐที่ 4 ต่อมาในปี ค.ศ.1962 ได้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยให้ประชาชนผู้มีคุณสมบัติเลือกตั้งเป็นผู้เลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรง ซึ่งทำให้ฐานอำนาจของประธานาธิบดีเป็นอิสระจากรัฐสภา ประการที่สอง ในรัฐธรรมนูญ 1946 ประธานาธิบดีมีอำนาจเสนอตัวนายกรัฐมนตรีเท่านั้น แต่การแต่งตั้งจะเกิดขึ้นเมื่อสมาชิกรัฐสภาเห็นชอบด้วยเสียก่อน
                                 แต่ในรัฐธรรมนูญ
1958 ประธานาธิบดีแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรง นอกจากนั้นประธานาธิบดีจะมีบทบาทที่เด่นชัดในเรื่องการต่างประเทศและมีอำนาจ ประกาศสภาวะฉุกเฉิน อำนาจที่จะขอประชามติทั่วประเทศในเรื่องที่สำคัญของชาติ เรื่องเกี่ยวกับประชาคมยุโรป สนธิสัญญาระหว่างประเทศ และการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ประการที่สาม  ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติในรัฐธรรมนูญ 1946 ยังเป็นความสัมพันธ์ที่คล้ายกับรัฐธรรมนูญอังกฤษ กล่าวคือ รัฐสภาจะเป็นผู้เลือกตั้งประธานาธิบดีและตัวรัฐมนตรีก็มาจากสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรหรือวุฒิสภา แต่ได้ฉบับ 1958 ได้แบ่งแยกฝ่ายบริหารออกจากฝ่ายนิติบัญญัติคล้ายกับของสหรัฐ ซึ่งก็คือ ผู้ที่เป็นรัฐมนตรีต้องลาออกจากสมาชิกภาพของสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภา ในฉบับปี 1946 ให้อำนาจสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้นที่จะอภิปรายไม่ไว้วางใจได้ แต่ในฉบับ 1958 ได้ให้อำนาจทั้งสองสภาที่จะอภิปรายไม่วางใจ ทั้งนี้ทั้งสองฉบับกำหนดไว้เหมือนกันว่าก่อนลงคะแนนเสียงต้องใช้เวลา 24 ชั่วโมง หลังจากยุติการอภิปรายไปแล้ว เพื่อให้สมาชิกได้มีโอกาสทบทวนความรู้สึกต่างๆ
                                 ในรัฐธรรมนูญฉบับ
1946 ได้ให้อำนาจแก่นายกรัฐมนตรีที่จะเสนอให้ประธานาธิบดียุบสภาได้ แต่จะกระทำไม่ได้ในช่วง 18 เดือนแรก ยกเว้นแต่สภาผู้แทนฯ ได้เสนอญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ 2 ครั้ง ในช่วง 18 เดือนนี้ แต่ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ได้ลดช่วงเวลา 18 เดือน เหลือเพียง 1 ปี  ประการที่สี่ ได้มีการแก้ไขจากแต่เดิมที่มีสภาเดียว คือ สภาผู้แทน ให้มีสองสภา แต่ก็ยังกำหนดให้วุฒิสภามีอำนาจน้อยลงให้เป็นเพียงกลั่นกรองงานเท่านั้น โดยสรุป รัฐธรรมนูญทั้งสองฉบับของฝรั่งเศสแตกต่างกันในแง่การมอบอำนาจให้แก่ ประธานาธิบดีซึ่งมีมากขึ้นในปัจจุบัน เช่น อำนาจในการยุบสภา อำนาจการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี อำนาจในการประกาศสภาวะฉุกเฉิน และอำนาจในการควบคุมนโยบายการต่างประเทศและการป้องกันประเทศ  ประกอบกับฐานอำนาจของสาธารณรัฐที่ 5 มีบทบาทในฐานะผู้นำของประเทศเด่นชัดมากขึ้น ความแตกต่างที่สำคัญอีกอย่าง ก็คือ การแบ่งแยกอำนาจบริหารกับอำนาจนิติบัญญัติ ทำให้รัฐบาลเป็นอิสระจากแรงกดดันของรัฐสภามากขึ้น วุฒิสภาก็มีความเป็นอิสระจากสภาผู้แทนฯ มากขึ้น (ซึ่งแต่เดิม สภาผู้แทนฯ สามารถเลือกสมาชิกวุฒิสภา 1 ใน 6 ของจำนวนทั้งหมด) เพราะมีฐานอำนาจจากการเลือกตั้งจากภูมิภาค จังหวัด และเทศบาล 
                                  
การกำหนดรัฐธรรมนูญที่เน้นอำนาจบริหารมากขึ้น และวุฒิสภาก็ถ่วงดุลกับสภาผู้แทนราษฎรเช่นนี้เป็นผลงานของนายพลเดอ โกล และพรรคการเมืองฝ่ายขวา และฝ่ายกลางซึ่งมีส่วนสำคัญที่ทำให้การเมืองฝรั่งเศสมีเสถียรภาพมากขึ้นกว่า ครั้งใดๆ ในประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส ในสาธารณรัฐที่
4 ใช้ระบบการเลือกตั้งแบบอัตราส่วน ทำให้เกิดพรรคการเมืองมากมาย แต่ในสาธารณรัฐที่ 5 ใช้ระบบแบ่งเขต เขตละ 1 คน ให้มีการลงคะแนนเสียงได้ 2 ครั้ง ระบบนี้ทำให้จำนวนพรรคน้อยลง และยังทำให้ระบบการเมืองของฝรั่งเศสพัฒนาขึ้นไปมากกว่าภายหลังสงคราม จำนวนพรรคการเมืองลดลงจากเดิมในปี ค.ศ.1956 ซึ่งมีพรรคการเมือง 16 พรรค ได้ลดลงเหลือ 5 พรรค ใน คศ.1967 จากแต่เดิมที่พรรคมุ่งหาอิทธิพลให้แก่พรรคตนเอง โดยไม่สามารถจะจัดตั้งรัฐบาลได้ แต่ในระบบใหม่พรรคเริ่มรวมตัวกันเป็นกลุ่มใหญ่ขึ้น และมุ่งจะจัดตั้งรัฐบาล(
http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=208.0)
                               
ระบบการเมืองการปกครองของประเทศฝรั่งเศส  สาธารณรัฐฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย  แบบสาธารณรัฐเดี่ยวกึ่งประธานาธิบดี  รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสได้ประกาศใช้เมื่อวันที่  28  กันยายน  2501  โดยผ่านการลงประชามติ  สาระสำคัญในรัฐธรรมนูญนั้นคือการเพิ่มอำนาจประธานาธิบดี  อำนาจฝ่ายบริหารนั้นถูกแบ่งออกและมีหัวหน้า  2  คน  ซึ่งก็คือประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐ  ผ่านการเลือกตั้งโดยตรงแบบสากล  มีวาระ  5  ปี  มีตำแหน่งประมุขแห่งรัฐอีกด้วย  และมีนายกรัฐมนตรีทำหน้าที่เป็นหัวหน้าคณะรัฐบาล ซึ่งถูกแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี(บวรศักดิ์  อุวรรณโณ,2540:89)  รัฐสภาฝรั่งเศสแบ่งออกเป็น  2  สภา  ได้แก่  สภาผู้แทนราษฎร  และวุฒิสภา  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นตัวแทนในเขตเลือกตั้ง  มาจากการเลือกตั้งโดยตรง  มีวาระการดำรงตำแหน่ง  5  ปี  สภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจในการอภิปรายไม่ไว้วางใจคณะรัฐมนตรี  และเสียงข้างมากในสภาสามารถกำหนดการตัดสินใจของรัฐบาลอีกด้วย  สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกของคณะผู้เลือกตั้ง  มีวาระการดำรงตำแหน่ง  6  ปี  ซึ่งระบบการเมืองการปกครองของฝรั่งเศสแบ่งออกเป็น  3  ฝ่ายได้แก่(ชาญชัย  แสวงศักดิ์,2540:102)  ฝ่ายบริหาร  ประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐ  มาจากการเลือกตั้งทั่วไป  มีวาระการดำรงตำแหน่ง  5  ปี  ประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีตามการเสนอแนะของนายกรัฐมนตรี  นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล  โดยการเสนอชื่อจากเสียงข้างมากในสภาแห่งชาติ  (National  Assembly)  และแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี(บวรศักดิ์  อุวรรณโณและชาญชัย  แสวงศักดิ์,2540:64)  ฝ่ายนิติบัญญัติรัฐสภาฝรั่งเศส ประกอบด้วย 2 สภาคือ
                                1.สภาผู้แทนราษฎร(Assemblée  Nationale)ได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนทั่วประเทศโดยระบบเลือกตั้งเสียงข้างมากเขตละคน(single-member  majority  system) มีวาระการดำรงตำแหน่ง  5  ปี  มีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 577 คน  การเลือกตั้งครั้งต่อไปจะมีขึ้นในเดือนมิถุนายน พ.. 2555  (..  2012)
                                2.วุฒิสภา(Sénat) มีจำนวนสมาชิกวุฒิสภา 343 คน มาจากการเลือกตั้งทางอ้อมผ่านคณะผู้เลือกตั้ง(Electoral  College) มีวาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี แต่ระหว่างปี พ.. 2549 - 2554(..  2006 - 2011) จะมีการเพิ่มจำนวนวุฒิสมาชิกอีก15 คน รวมเป็น 348  ที่นั่ง และนับจากปี พ.. 2551(..  2008)  จะมีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาใหม่ครึ่งหนึ่งทุก 3  ปีการเลือกตั้งครั้งต่อไปจะมีขึ้นในเดือนกันยายน พ..  2557(..2014)(อภิญญา  แก้วกำเนิด,2544:64) ฝ่ายตุลาการ ระบบศาลประกอบด้วย
                                1.Supreme Court of Appeals หรือ Cour de Cassation
                                2.Constitutional Council  หรือConseil Constitutionnel
                                3.Council of State หรือConseil d'Etat

                                ประเทศฝรั่งเศสถือเป็นต้นแบบของการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภากึ่งประธานาธิบดีโดยระบบการเมืองการปกครองและสถาบันการเมืองการปกครองของฝรั่งเศสได้มีพัฒนาการมายาวนาน  ดังจะเห็นได้จากรัฐธรรมนูญฉบับวันที่ 4 ตุลาคม 1958  ซึ่งได้ระบุบทบาทหน้าที่ของสถาบันต่างๆไว้  โดยได้มีการแก้ไขรายละเอียดบางส่วนของรัฐธรรมนูญดังกล่าวหลายครั้ง(บวรศักดิ์  อุวรรณโณและชาญชัย  แสวงศักดิ์,2540:93-95)  เช่น  การให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรง  ในปี  ค.ศ.1962  การเพิ่มเติมรายละเอียดเกี่ยวกับการรับโทษทางอาญาของรัฐมนตรี  ในปี  ค.ศ.1993  การให้มีการประชุมสภาเพียงสมัยเดียว  การขยายขอบข่ายที่จะให้มีการออกเสียงประชามติ ในปี  ค.ศ.1995  การจัดตั้งสหภาพเศรษฐกิจและเงินตรา  การให้หญิงและชายมีสิทธิเท่าเทียมกันสำหรับการอยู่ในวาระเลือกตั้ง และการดำรงตำแหน่งที่มาจากการเลือกตั้ง การยอมรับขอบข่ายอำนาจของศาลอาญาระหว่างประเทศ ในปี  ค.ศ.1999  และการลดระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดี  ในปี ค.ศ.2000 (ชาญชัย  แสวงศักดิ์,2552:101)ระบบกึ่งรัฐสภากึ่งประธานาธิบดี(Semi - Parliamentary  Semi - Presidential  System) เป็นการปกครองที่รวมหลักการสำคัญของระบบรัฐสภาและระบบประธานาธิบดีเข้าด้วยกัน  เพื่อให้อำนาจฝ่ายบริหารมากขึ้นกว่ารัฐสภา ซึ่งลักษณะสำคัญของการปกครองระบบดังกล่าว ได้แก่ การที่มีประธานาธิบดีซึ่งเป็นประมุขของประเทศมาจากการเลือกตั้งจากประชาชนโดยไม่ผ่านทางรัฐสภา  มีอำนาจในการยุบสภาผู้แทนราษฎรโดยไม่ต้องมีรัฐมนตรีลงนามกำกับ  มีอำนาจในการตั้งนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร  และร่วมบริหารประเทศกับนายกรัฐมนตรี  โดยฝ่ายนิติบัญญัติมีอำนาจบังคับให้รัฐมนตรีเป็นรายบุคคลหรือทั้งคณะต้องออกจากตำแหน่งได้โดยการเปิดอภิปรายลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลหรือทั้งคณะ  แต่ไม่มีอำนาจในการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจประธานาธิบดี(อภิญญา  แก้วกำเนิด,2544:72)  ซึ่งระบบกึ่งรัฐสภากึ่งประธานาธิบดีแบ่งออกเป็นฝ่ายต่างๆ
                               
1.สถาบันนิติบัญญัติ  รัฐสภาประกอบไปด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา โดยสภาผู้แทนราษฎรมาจากการเลือกตั้งทั่วไปโดยตรง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ  5  ปี  ส่วนวุฒิสภาจะมาจากการเลือกตั้งโดยทางอ้อม  กล่าวคือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  สมาชิกสภาจังหวัด  และผู้แทนสภาเทศบาลจะเป็นผู้เลือกแทนประชาชน  ซึ่งรัฐสภามีอำนาจหน้าที่ที่สำคัญได้แก่  การออกกฎหมาย  การควบคุมและตรวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหาร กล่าวคือ นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีต้องแถลงนโยบายต่อสภาโดยต้องได้รับเสียงข้างมาก ถ้าสภาลงมติไม่รับนโยบาย นายกรัฐมนตรีต้องรับผิดชอบโดยการลาออก  สภาสามารถอภิปรายไม่ไว้วางใจได้ นอกจากนี้  สภามีอำนาจแต่งตั้งคณะผู้บริหารศาลยุติธรรมสูงสุด และสามารถยื่นฟ้องประธานาธิบดีและคณะรัฐมนตรีต่อศาลได้
                                2.สถาบันฝ่ายบริหาร ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน เป็นทั้งผู้นำสูงสุดและผู้นำฝ่ายบริหาร เป็นผู้นำของทุกเหล่าทัพ มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี(บวรศักดิ์  อุวรรณโณและชาญชัย  แสวงศักดิ์,2540:64) 
                                ประธานาธิบดีเป็นประธานในการประชุมคณะรัฐมนตรี มีอำนาจในการอนุมัติ ตัดสินใจ และลงนามกฎหมาย และสามารถประกาศยุบสภา ประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐบาลซึ่งนายกรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอรายชื่อ  ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีมาจากพรรคเสียงข้างมากในสภาซึ่งไม่จำเป็นต้องมาจากพรรคเดียวกับประธานาธิบดีก็ได้

                                ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี รัฐบาลเป็นผู้กำหนดนโยบายของประเทศและเป็นผู้บริหารราชการแผ่นดินตามแนวนโยบายดังกล่าว นายกรัฐมนตรีจะต้องรับผิดชอบต่อรัฐสภา นายกรัฐมนตรีเป็นผู้กำกับดูแลกิจการต่างๆ ของรัฐบาล และดูแลการบังคับใช้กฎหมายต่างๆ  ซึ่งคณะรัฐมนตรีสามารถเสนอร่างกฎหมายผ่านสภาได้
                                3.สถาบันตุลาการ ระบบศาลของประเทศฝรั่งเศสเป็นระบบศาลคู่ คือมีศาลฎีกา(Tribunal  de  Cassation) เป็นกระบวนการยุติธรรมชั้นสูงสุด รับผิดชอบการพิจารณาตรวจสอบข้อกฎหมายของอรรถคดีที่ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ซึ่งเป็นพิพาทระหว่างประชาชนด้วยกันเอง  และมีสภาแห่งรัฐหรือศาลปกครองสูงสุด  (Conseil  d’Etat)  ทำหน้าที่พิจารณาข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐและประชาชน(ชาญชัย  แสวงศักดิ์,2552:133)
                                นอกจากนี้สภาแห่งรัฐยังเป็นผู้พิจารณาร่างกฎหมายหรือกฤษฎีกาบางฉบับที่รัฐบาลส่งเรื่องมาเพื่อขอทราบความเห็น  ทั้งนี้ ศาลอยู่ภายใต้ระบบราชการประจำ ศาลทางการเมืองได้แก่  ศาลยุติธรรมสูงสุด  ใช้พิจารณาคดีความผิดของบุคคลสำคัญ เช่น ประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี หรือคดีทางการเมืองที่มีความสำคัญ มาจากการเลือกตั้งโดยสภาล่างและสภาสูงจำนวนเท่าๆกัน  ตุลาการรัฐธรรมนูญทำหน้าที่ชี้ขาดข้อพิพาทอันเกี่ยวข้องกับการใช้รัฐธรรมนูญ(บวรศักดิ์  อุวรรณโณและชาญชัย  แสวงศักดิ์
,2540:48)                   โดยสรุป รัฐธรรมนูญทั้งสองฉบับของฝรั่งเศสแตกต่างกันในแง่การมอบอำนาจให้แก่ ประธานาธิบดีซึ่งมีมากขึ้นในปัจจุบัน เช่น อำนาจในการยุบสภา อำนาจการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี อำนาจในการประกาศสภาวะฉุกเฉิน และอำนาจในการควบคุมนโยบายการต่างประเทศและการป้องกันประเทศ ประกอบกับฐานอำนาจของสาธารณรัฐที่ 5 มีบทบาทในฐานะผู้นำของประเทศเด่นชัดมากขึ้น
                                ความแตกต่างที่สำคัญอีกอย่าง ก็คือ การแบ่งแยกอำนาจบริหารกับอำนาจนิติบัญญัติ ทำให้รัฐบาลเป็นอิสระจากแรงกดดันของรัฐสภามากขึ้น วุฒิสภาก็มีความเป็นอิสระจากสภาผู้แทนฯ มากขึ้น (ซึ่งแต่เดิม สภาผู้แทนฯ สามารถเลือกสมาชิกวุฒิสภา 1 ใน 6 ของจำนวนทั้งหมด) เพราะมีฐานอำนาจจากการเลือกตั้งจากภูมิภาค จังหวัด และเทศบาล           การกำหนดรัฐธรรมนูญที่เน้นอำนาจบริหารมากขึ้น และวุฒิสภาก็ถ่วงดุลกับสภาผู้แทนราษฎรเช่นนี้เป็นผลงานของนายพลเดอ โกล และพรรคการเมืองฝ่ายขวา และฝ่ายกลางซึ่งมีส่วนสำคัญที่ทำให้การเมืองฝรั่งเศสมีเสถียรภาพมากขึ้นกว่า ครั้งใดๆ ในประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส
                                ในสาธารณรัฐที่ 4 ใช้ระบบ
การเลือกตั้งแบบอัตราส่วน ทำให้เกิดพรรคการเมืองมากมาย แต่ในสาธารณรัฐที่ 5 ใช้ระบบแบ่งเขต เขตละ 1 คน ให้มีการลงคะแนนเสียงได้ 2 ครั้ง ระบบนี้ทำให้จำนวนพรรคน้อยลง และยังทำให้ระบบการเมืองของฝรั่งเศสพัฒนาขึ้นไปมากกว่าภายหลังสงคราม จำนวนพรรคการเมืองลดลงจากเดิมในปี ค.ศ.1956 ซึ่งมีพรรคการเมือง 16 พรรค ได้ลดลงเหลือ 5 พรรค ใน ค.ศ.1967 จากแต่เดิมที่พรรคมุ่งหาอิทธิพลให้แก่พรรคตนเอง โดยไม่สามารถจะจัดตั้งรัฐบาลได้ แต่ในระบบใหม่พรรคเริ่มรวมตัวกันเป็นกลุ่มใหญ่ขึ้น และมุ่งจะจัดตั้งรัฐบาล (http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-1/comparative_politics/09.html)