วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ข่าวร้ายหรือจะเป็นข่าวดี: การเมืองเรื่องสิ่งแวดล้อมและสื่อมวลชน


ข่าวร้ายหรือจะเป็นข่าวดี:
การเมืองเรื่องสิ่งแวดล้อมและสื่อมวลชน
สิ่งแวดล้อมเป็นผลผลิตของสื่อมวลชนในรอบสองทศวรรษที่ผ่านมา จากการศึกษาสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆทั้งในประเทศอเมริกา แคนาดา ญี่ปุ่นและอังกฤษพบว่ามีความคล้ายคลึงในการนำเสนอประเด็นปัญหานี้ ซึ่งสื่อให้ความสนใจตั้งแต่ราวปี 1960 จนถึงปี 1970 แม้ว่าประเด็นอื่นๆเช่นเงินเฟ้อ ประเด็นการตกงาน ได้เข้ามาแทนที่ประเด็นสิ่งแวดล้อมแต่ความเป็นจริงแล้วสิ่งแวดล้อมไม่เคยหายไปไหนและเป็นประเด็นปัญหาที่มีความสำคัญอยู่ไม่น้อย
เคยมีความพยายามที่จะกลบเกลื่อนประเด็นนี้อยู่บ้างเช่นในการศึกษาประเด็นปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมในประเทศแคนาดาแล้วมีคนพบว่าไม่มีหลักฐานที่จะมาสนับสนุนความเชื่อที่ว่าประชาชนเป็นห่วงในประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อม เหมือนการกล่าวอ้างของหนังสือพิมพ์ แต่ความจริงแล้วประชาชนรู้และเข้าใจปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างดีแต่อาจจะเป็นในบริบทที่แคบเช่น ปัญหาในท้องถิ่นเป็นต้น แต่สิ่งที่สื่อพยายามนำเสนอนั้นเป็นเรื่องของการชี้ให้เห็นถึงปัญหาในวงกว้างและทำให้กลายเป็นประเด็นปัญหาที่ต้องให้ความสนใจ
มีการจัดตั้งกลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อแก้ปัญหาสภาพแวดล้อมในสังคม ซึ่งเป็นกลุ่มนักอนุรักษ์นิยมที่มีเป้าหมายเพื่อวิพากษ์วิจารณ์การเติบโตของเศรษฐกิจและการครอบงำสังคมของระบบทุนนิยม ในขณะที่ในประเทศอังกฤษเองก็มีการจัดตั้งกลุ่มต่างๆเพื่อต่อต้านการทำลายสิ่งแวดล้อม เช่นFriends of The Earth,Conservative Society เป็นต้น ทั้งสองกลุ่มที่ปฎิเสธนโยบายทางสังคมในขณะนั้นเช่น ประสิทธิภาพของตลาด (Efficacy of the market) ความเสี่ยง และรางวัลจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ กลุ่มคนส่วนใหญ่เป็นคนชนชั้นกลางในสังคมทำให้กลายเป็นว่า การจุดประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมนี้เป็นการทิ่มแทงไปที่คุณค่าและความเชื่อในเรื่องอุตสาหกรรมในยุคทุนนิยม มันเป็นการท้าทายเทคโนโลยี และสังคมอุตสาหกรรมสมัยใหม่และบทบาทของวิทยาศาสตร์ในรูปแบบของวัฒนธรรม Habermas ได้อธิบายไว้ว่า การพัฒนาสังคมดูเหมือนว่าจะขึ้นอยู่กับตรรกะของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทำให้เห็นได้ว่าบทบาทที่สื่อกำลังเล่นอยู่นั้นเป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นท่ามกลางพัฒนาการของระบบทุนนิยม  

กรณีศึกษา:สิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมที่สร้างความหายนะให้เกิดขึ้นมักเป็นเรื่องที่สื่อให้ความสนใจเป็นพิเศษ และข่าวที่นำเสนอนั้นส่วนใหญ่ไม่เคยมีข่าวที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในทางบวกเลย มันจะเป็นเรื่องของความเสื่อมถอยมากกว่าเป็นเรื่องของการพัฒนา เช่น ความใสสะอาดของแม่น้ำเธม (Thames)ทำให้ฝูงปลาแซลมอนกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้งหนึ่ง เรื่องในทางบวกมักจะควบคู่ไปกับการเปรียบเทียบในเชิงลบ นั่นคือครั้งหนึ่งเมื่อแม่น้ำเธมใสสะอาดเช่นนี้ ในน้ำเต็มไปด้วยฝูงปลาแซลมอนแต่ก็ถูกจับโดยมนุษย์ ทำให้แม่น้ำสายหลักในสังคมอุตสาหกรรมกำลังจะถูกทำลายลงอีก ปลาแซลมอนเหล่านั้นก็จะเข้าไปอยู่ในกระป๋องเตรียมตัวเป็นอาหารไป จะเห็นได้ว่าข่าวสารโดยรวมมีแนวโน้มไปทางลบอยู่ดี
กลุ่มนิเวศวิทยาได้เข้ามามีบทบาทในเครือข่ายของสื่อมวลชนไปแล้ว สิ่งแวดล้อมดูจะเป็นเรื่องของการเมือง เมื่อนักสื่อสารมวลชนที่ถูกมอบหมายงานให้ดูแลเรื่องสาเหตุของการเกิดสิ่งแวดล้อม  แต่งานที่ได้รับมอบหมายนั้นอาจจะทำให้เกิดการโต้แย้งในบางกรณี เป้าหมายของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างสมดุลให้เกิดแก่เศรษฐกิจและพัฒนาการทางเทคโนโลยี
นักนิเวศน์วิทยาต้องหลีกเลี่ยงการมีความสัมพันธ์กับพรรคการเมือง เนื่องจากผลประโยชน์ของนักนิเวศน์วิทยานั้นเพียงเพื่อรักษาหรืออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเมืองใดๆ ส่วนพรรคอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเองที่ก่อตั้งขึ้นมาเป็นพรรคการเมืองนั้นเพื่อถ่วงดุลในระบบ 

การเผยแพร่ข่าวสาร
ความสัมพันธ์ที่ดีกับสื่อมวลชนเป็นเรื่องที่ดีถ้ากลุ่มผลประโยชน์หรือกลุ่มกดดันต้องการเสียงสนับสนุนเพราะถ้าสื่อให้ความสำคัญมันจะเป็นแรงกดดันอย่างดีต่อกลุ่มข้าราชการ นักการเมืองและในวงการอุตสาหกรรม จากผลการสำรวจของนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจาก 77 ประเทศนั้นให้ความเห็นว่าสื่อเป็นประโยชน์อย่างมากในการเป็นกระบอกเสียงที่สำคัญ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการนำเสนอกิจกรรมต่อเนื่องหรืออย่างน้อยมีการนำเสนอ 2-3 ครั้งต่อเดือน  สำหรับสื่อสิ่งพิมพ์ ในส่วนของวิทยุและโทรทัศน์จะมีการนำเสนอน้อยกว่า การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านโทรทัศน์และวิทยุนั้นส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นหลังจากการนำเสนอผ่านสื่อหนังสือพิมพ์ ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถเข้าถึงผู้มีอำนาจในการตัดสินใจได้ดีกว่าการนำเสนอผ่านสื่อทีวี เพราะว่าหนังสือพิมพ์สามารถให้รายละเอียดได้มากกว่าและอาจมีการวิเคราะห์ถึงสาเหตุปัญหาได้มากกว่า แต่ก็มีบางกลุ่มที่เชื่อว่าการนำเสนอผ่านทีวีจะเป็นโอกาสที่จะเพิ่มเสียงสนับสนุนในเรื่องสิ่งแวดล้อมได้ดีกว่า
การเข้ามามีบทบาทอย่างจริงจังของสื่อทำให้กลายเป็นเรื่องของการเมืองไป เนื่องจากว่าอิทธิพลของสื่อในการกำหนดวาระต่างๆเกี่ยวข้องหรือคล้องจองกับเป้าหมายที่กลุ่มนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมต้องการเผยแพร่ เพื่อที่จะปรับปรุงบรรยากาศต่างๆในความคิดเห็นในประเด็นสิ่งแวดล้อมโดยเน้นการศึกษาในระยะยาวและการรณรงค์ปลูกฝังต่างๆ ที่เราเห็นการณรงค์จากกลุ่มอนุรักษ์ต่างๆที่ต่างกลุ่มต่างทำนั้น เป็นการสร้างการรับรู้ในเรื่องของปัญหาของสิ่งแวดล้อมที่กำลังเป็นปัญหาในสังคมอยู่ โดยใช้บริบทที่ซึ่งความพึงพอใจของประชาชนและการตัดสินใจขององค์กรต่างๆเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ 

ฝ่ายค้านและการตอบสนองของสาธารณะ
            เราคงจำได้ว่าเคยมีการต่อสู้การใช้สารตะกั่วในน้ำมันของนักอนุรักษ์นิยมโดยใช้สื่อเป็นเครื่องมือและประสบผลสำเร็จเป็นฝ่ายเอาชนะโรงงานอุตสาหกรรมและผลประโยชน์ทางธุรกิจต่างๆ โดยสื่อมวลชนที่ให้การสนับสนุนอย่างจริงจังนั้นเป็นเรื่องของความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างแท้จริง การประท้วงเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมนั้นไม่เกี่ยวกับการขัดขวางระบบทุนนิยม แต่เป็นความไม่พอใจต่อการกระทำของแหล่งทุนและเป็นจุดเริ่มต้นในการต่อต้านระบบทุนนิยมการเคลื่อนไหวของกลุ่มรักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นด่านหน้าของความคิดในเรื่องการพัฒนามานุษยวิทยาที่คัดค้านการครอบงำจากความคิดและตรรกของกระบวนการอุตสาหกรรมขั้นสูง
            สื่อมวลชนให้ความสนใจกับเรื่องสิ่งแวดล้อมเนื่องจากสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องการเมืองที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพของชีวิตมากกว่าเรื่องของโครงสร้างหรือองค์กร รายงานสิ่งแวดล้อมตั้งคำถามถึงความสำเร็จของวิทยาศาสตร์ โดยตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับโครงสร้างอุตสาหกรรมตามหลักวิทยาศาสตร์ แต่เรื่องราวเกี่ยวกับระบบนิเวศวิทยาที่ถูกทำลาย เป็นเรื่องความหายนะของวิทยาศาสตร์ ซึ่งขึ้นอยู่กับการตีความ สุดท้ายรายงานสิ่งแวดล้อมทั้งหลายที่ปรากฏเป็นข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์นั้นเป็นการตรวจสอบในเรื่องที่คนส่วนใหญ่สิ้นหวัง เป็นการตีแผ่ข้อมูลต่างๆแนวทางปฏิบัติของภาคส่วนอุตสาหกรรมและเป็นการลดคุณค่าของตรรกะของระบบทุนนิยมในสังคมของเรา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น