วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555

เปรียบเทียบนโยบายประชานิยมพรรคเพื่อไทยและประชาธิปัตย์กับการเมืองการปกครอง รหัส แสงผ่อง



เปรียบเทียบนโยบายประชานิยมพรรคเพื่อไทยและประชาธิปัตย์กับการเมืองการปกครอง รหัส  แสงผ่อง

บทนำ


 
               การกระทำทางการเมืองจึงต้องมีความรู้  อะไรเป็นสิ่งที่ดี  อะไรเป็นสิ่งไม่ดี คำถามของ
Socrates  ที่ว่า อะไรคือความดี  อะไรคือความยุติธรรม  จึงเป็นการชี้ให้เห็น  ลักษณะสากลของความดีและความยุติธรรม  และเป็นการชี้ให้เห็นว่าความดีและความยุติธรรมมีธรรมชาติของตัวเอง  ซึ่งเป็นอิสระจากความเห็นทั้งปวง(ธีรภัทร์  เสรีรังสรรค์,2544:1-11)

 
              นโยบายทางการเมืองอันเป็นที่กล่าวขวัญกันอย่างมากในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เห็นจะไม่มีนโยบายใดที่รับการกล่าวถึงเท่ากับ
นโยบายประชานิยมซึ่งมีทั้งแง่บวกและแง่ลบ กล่าวได้ว่านโยบายประชานิยมโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตามเป็นผลงานการนำเสนอและถูก พิจารณาว่าเกิดขึ้นในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร และสร้างผลกระเทือนต่อการเมืองไทยอย่างมาก โดยเฉพาะการกำหนดนโยบายทางการเมืองที่ประชานิยมได้กลายเป็นรูปแบบที่นักการเมืองใช้ในการหาเสียงกันมากที่สุดในปัจจุบัน
                ความหมายของ  ประชานิยม" เป็นคำที่แปลมาจากคำว่า
populism ในภาษาอังกฤษ แรกเริ่มเดิมทีนั้นคำนี้เป็นศัพท์เฉพาะที่หมายถึงขบวนการเคลื่อนไหวของพรรค การเมืองที่ 3 ของสหรัฐอเมริกาในทศวรรษที่ 1890 ในช่วงนั้นมีการรวมตัวกันของเกษตรกรรายย่อยซึ่งไม่พอใจแนวทางการพัฒนาประเทศ ที่เต็มไปด้วยอิทธิพลของบริษัทใหญ่ ๆ
              พวกเขารวมตัวกันก่อตั้งพรรคการเมืองขึ้นมาในชื่อว่า "พรรคประชาชน"
(People's Party) พรรคนี้ได้ส่งนายวิลเลียม เจนนิงส์ ไบรอัน (William Jennings Bryan) เข้าสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีในการเลือกตั้ง ค.ศ.1896 แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ จากนั้นพรรคนี้ก็สลายตัวไป ในยุคที่ใกล้เคียงกันนี้ที่รัสเซีย ได้เกิดขบวนการนารอดนิก (Narodichestvo) ของนักศึกษาปัญญาชนรัสเซีย ที่ลงไปเคลื่อนไหวเพื่อปลุกระดมชาวนาในชนบทด้วย คำว่า populism จึงเป็นคำที่ใช้เรียก ขบวนการ นารอดนิก ด้วย

 
           ความหมายของประชานิยมจากการทบทวนแนวคิดที่มาของ
อเนก เหล่าธรรมทัศน์แล้วสามารถจำแนกออกเป็น 5 ความหมายด้วยกันคือ
            1) ประชานิยมในรัสเซียและอเมริกา เป็นประชานิยมในความหมายดั้งเดิมที่เกิดขึ้นในรัสเซียและอเมริกาในปลาย ศตวรรษที่ 19 โดยมีนัยว่าหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เห็นว่าประชาชนสำคัญที่สุด โดยทั้งในรัสเซียและสหรัฐอเมริกานั้นขบวนการประชานิยมที่ต้องการเปลี่ยนแปลง ทางสังคมนั้นคือชาวนาซึ่งเป็นชนส่วนใหญ่ของสังคม
            2) ประชานิยมในละตินอเมริกา เป็นขบวนการประชานิยมที่เริ่มต้นขึ้นในอาร์เจนตินาตั้งแต่ทศวรรษ 1920 โดยเป็นขบวนการที่มีผู้นำสูงสุดคือฮวนเปรองที่มีความโดดเด่น มีเสน่ห์ มีบารมีเป็นที่จับตาจับใจประชาชน และมีนโยบายสงเคราะห์คนยากจนเพื่อใช้เป็น
ฐานเสียงและฐานนโยบายทางการเมือง มุ่งเน้นการสร้างความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างผู้นำกับประชาชน
            3) ประชานิยมในประเทศตะวันตก คือการเมืองที่มี
พรรคการเมืองบางพรรคได้รับความสนับสนุนจากสามัญชนจากนโยบายที่เป็นที่ชื่นชอบหรือมีอุดมการณ์ตรงกัน
            4) ประชานิยมในฐานะแนวทางการพัฒนา ใช้เรียกแนวคิดการพัฒนาที่เน้นภาคชนบท เน้นภาคเกษตร เน้นการพัฒนาไร่นาขนาดเล็ก ขนาดกลางของเกษตรกรอิสระหรือสหกรณ์ที่ชาวไร่ชาวนามารวมกัน เป็นทางเลือกของการพัฒนาที่ไม่เน้นการพัฒนาให้เป็นเมืองแบบตะวันตกนั่นเอง
            5) ประชานิยมคือการให้ความสำคัญหรือให้คุณค่าแก่ประชาชน คือการเมืองที่ให้คุณค่าแก่ประชาชนโดยเฉพาะประชาชนทั่วไปหรือชนชั้นล่าง การเมืองที่เห็นความสำคัญของประชาชนทั่วไปจึงเป็นประชานิยมเสมอ
 
           ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าการดำเนินนโยบายทางการเมืองของรัฐบาลทักษิณ นั้นไม่อาจะจัดเข้าเป็นประชานิยมในความหมายใดได้เคร่งครัดนัก จึงต้องพิจารณาจากหลายความหมายประกอบกันแล้วแต่เงื่อนไขหรือลักษณะเน้นหนัก ของนโยบายแต่ละด้าน แต่การให้ความสำคัญกับประชาชนทั่วไปของนโยบายน่าจะเป็นลักษณะสำคัญที่ถูกมอง ว่าเป็นนโยบายประชานิยม(เอนก เหล่าธรรมทัศน์
, 2549:23-46)

 
           นโยบาย ประชานิยม คือ นโยบายที่สนับสนุนประชาชนคนยากจนเป็นหลัก เพื่อมุ่งหวังความนิยมทางการเมืองโดยไม่จำเป็นต้องมีความสมเหตุสมผลหรือเป้า หมายทางเศรษฐศาสตร์มหภาคมารองรับและไม่จำเป็นเหตุผลที่ดีที่สุดของประเทศใน ขณะนั้น
  นโยบายประชานนิยมเป็นทั้งภาพหลอนทางการคลังของรัฐบาล   นโยบาย ประชานิยมจะมีหลากหลายรูปแบบที่ปรากฏแต่จะมีลักษณะร่วมกันตรงที่การเป็น นโยบายที่มุ่งเอาอกเอาใจและสนองความต้องการของประชาชนตลอดจนการไม่แสดงถึง จำนวนเงินที่ใช้ในการดำเนินนโยบายซึ่งเป็นที่มาของภาพหลอนทางการคลังและการ ปิดบังข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณชน

เปรียบเทียบวิเคราะห์นโยบาย 2 พรรคใหญ่

            ภาพรวมจากการประชันนโยบาย จะเห็นได้ชัดเจนว่า เป็นนโยบายที่ดีมากทั้งสองพรรค   เพียงแต่บริหารจัดการกันคนละสไตล์   แต่ถ้านโยบายทางด้านสาธารณะสุขต้องยกเครดิตให้พรรคประชาธิปัตย์    เพราะจะเน้นเนื้องานและกระบวนการที่มากกว่า   ดูจากนโยบายที่ดูครอบคลุมมากกว่านโยบายพรรคเพื่อไทย ซึ่งถ้าได้ดำเนินการ จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนเป็นอย่างมาก
             ทั้งการให้การศึกษาเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพแก่ประชาชน ในคอนเซ็ป
 “เน้นการป้องกัน นำหน้าการรักษา”  ที่มุ่งลดอัตราการเกิดของโรคร้ายที่มาจากพฤติกรรมการบริโภคของประชาชนเอง นโยบาย 3 ดี บรรยากาศดี มาตรฐานดี และบริหารจัดการดี    การเพิ่มมาตรการดูแลผู้ป่วยและควบคุมโรคระบาดในกรณีฉุกเฉินอย่างมี ประสิทธิภาพ  ดูจากผลงานที่ผ่านมา  ก็ประสบความสำเร็จพอสมควร  ถ้าพรรคเพื่อไทยได้จัดตั้งรัฐบาลก็ควร น่าจะนำนโยบายดีๆ เหล่านี้ มาพิจารณาเติมเต็มนโยบายของพรรคบ้างน่าจะดีและเพอร์เฟคมาก
             ส่วนสไตล์การบริหารของพรรคเพื่อไทย  จะเป็นในรูปแบบของการบริหารการเงินและธุรกิจอย่างมืออาชีพชัดเจน ดูจากวิธีคิดส่วนใหญ่จะเป็นในเชิงตัวเลขและสถิติ    
              ซึ่งนโยบายแต่ละอย่างมีความสอดคล้องสัมพันธ์กัน  มีความกระชับ  รัดกุม  ชัดเจนในการบริหารงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด  สไตล์การบริหารของพรรคเพื่อไทย ที่โดดเด่นในด้านธุรกิจและการจัดการการเงินอยู่แล้ว ทำให้นโยบายด้านนี้มีความได้เปรียบพรรคประชาธิปัตย์มากพอสมควร   ถึงแม้ว่าผู้สมัคร ส.ส. หน้าใหม่และหน้าเก่าหลายๆ คนในพรรคประชาธิปัตย์ จะมีมืออาชีพ ที่มีความรู้ความสามารถในองค์กรมากขึ้น เมื่อเทียบกับในอดีตก็ตาม
            ต่อมาก็จะเป็นนโยบายระหว่าง  การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 25% ภายใน 2 ปี ของประชาธิปัตย์  และ 300 บาท/วัน ทั่วประเทศของเพื่อไทย   มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากเหล่านักวิชาการว่า นโยบายเหล่านี้ ล้วนแต่ทำให้หนี้สาธารณะของประเทศ และอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น   โดยเฉพาะนโยบายของเพื่อไทยที่จะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศเป็น 300 บาท/วัน ที่จะทำให้ราคาสินค้าดีดตัวสูงขึ้นตามหลักเศรษฐศาสตร์   แต่ก็ได้รับการยืนยันในภายหลังว่า สามารถทำได้ เพราะบางอย่างไม่เป็นไปตามหลักเศรษฐศาสตร์เสมอไป
               สังเกตุได้จากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และสินค้าไอที มีการปรับลดราคาตลอดเวลา
 และนโยบายทุกอย่างเป็นไปเพื่อการปฏิรูปทั้งระบบ    นอกจากนี้ยังมีการลดภาษีให้แก่ผู้ประกอบการจาก  30%  เหลือ  23%  พร้อมทั้งมีการศึกษาภาพรวม ความเป็นไปได้และสอบถามจากผู้ประกอบการโดยตรงว่ารับได้หรือไม่  และก็ได้รับคำตอบจากผู้ประกอบการว่า สามารถรับได้  เพราะมีการลดอัตราภาษีให้เหลือ  23%  จาก  30%   ก็ต้องติดตามดูกันต่อไปว่า จะทำได้มากน้อยแค่ไหนและผลกระทบจะเป็นอย่างไรบ้าง

สรุปวิเคราะห์ข้อดี ข้อเสีย ของนโยบายทั้ง 2 พรรค

            ถ้าเป็นนโยบายของพรรคประชาธิปัตย์จะมีความเสี่ยงต่ำกว่า   เนื่องจากบริหารแบบอนุรักษ์นิยม  มีระเบียบวินัยค่อนข้างดีมาก   แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อต่ำกว่า  ในขณะที่ ก็จะทำให้อัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจต่ำกว่าเช่นกัน   ส่วนการบริหารจัดการก็อยู่ในเกณฑ์ที่ดี  ภาพรวมนโยบายดี  บางนโยบายถือว่าดีมาก แต่ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร  เนื่องจากในรายละเอียดบางนโยบายจะเป็นการเพิ่มงาน ผลักภาระและงบประมาณโดยไม่จำเป็น  
            ส่วนนโยบายของพรรคเพื่อไทยโดยภาพรวมมีความเป็นมืออาชีพมากกว่า  แต่ก็มีความเสี่ยงสูงกว่าเช่นกัน  เพราะหลายๆ  นโยบายเกิดจากวิสัยทัศน์ที่จับต้องไม่ได้ในทันที ดูเพ้อฝันสำหรับหลายๆ คน  ต้องมีนักบริหารมืออาชีพที่มีประสบการณ์   มีความยืดหยุ่นในการบริหารสูง และต้องเคยผ่านการประสบความสำเร็จในชีวิต และหน้าที่การงานมาพอสมควร  มิฉะนั้นถ้ามีความผิดพลาดขึ้นมา  จะทำให้เกิดผลกระทบในวงกว้างทางเศรษฐกิจได้อย่างมหาศาลเช่นกัน
            ข้อดีของนโยบายประชานิยม คือ ได้คะเเนนเสียงไว เป็นที่ชื่้่นชอบของประชาชน จดจำนโยบายง่าย นโยบายสามารถผังเข้าไปในจิตใจประชาชนได้ง่าย
            ข้อเสียของนโยบายประชานิยม คือ ความเป็นไปได้ในการดำเนินนโยบายไปปฎิบัติเป็นไปได้ยาก ใช้งบประมาณที่สูง ต้องเป็นรัฐบาลที่จัดตั้งโดยความเข้มเเข็ง เเละเป็นปึกเเเผ่นจึงจะสามารถผลักดันนโยบายนำไปสู่การปฎิบัติได้
            นโยบายประชานิยม ก็เหมือนดาบสองคมของพรรค ที่นำมาใช้เป็นนโยบาย กล่าวคือ ถ้าทำได้ดั่งนโยบายประชานิยม ก็จะทำให้ประชาชนชื่นชอบ แต่ถ้าทำไม่ได้  ก็จะบันทอนความนิยมไปที่ละนิดที่ละหน่อย จะทำให้คนที่เลือกเข้าไปผิดหวัง เเละเกลียดชังในที่
            ข้อดีของหลักการทางประชานิยมคือ ประชาชนคนไทยจะได้รับในส่วนของรัฐได้สัญญา
ว่าจะให้ ทำให้ในระยะสั้นๆ  ประชาชนคนไทยได้หลงไหลได้ปลื้มกับความสุขสบายที่จะบังเกิดขึ้น เป็นเบื้องต้น ที่รัฐได้หยิบยื่นให้กับประชาชนคนไทย
            แต่ข้อเสียนั้นจะทำให้ประชาชนคนไทยเกิดการมอมเมา ลุ่มหลงสิ่งทีได้รับ และมีความคิดที่ อยากจะได้เพิ่มขึ้นหากมีคนหยิบยื่นให้ จนนำไปสู่ลัทธิการบริโภคนิยม ที่ในท้ายที่สุดแล้ว แหล่งที่มาของรายได้ที่รัฐต้องหามาเพื่อใช้เพื่อทำโครงการเหล่านี้นั้น ก็ต้องหาเพิ่มขึ้น ซึ่ง เป้าหมายใหญ่ๆ ที่รัฐจะต้องหาคือ ไม่กู้ ก็ผลาญทรัพยากรของชาติ เพื่อนำเงินเข้ามาใช้ในโครง การและรวมถึงการ เก็บภาษีรายได้ในรูปแบบต่างๆที่เพิ่มขึ้นเพื่อมาชดเชย รายจ่ายที่เสียไปกับ โครงการเหล่านี้ ซึ่งหากหาเงินเข้ามาโปะรายจ่ายไม่ทัน ประเทศชาติก็จะเข้าสู่ยุคหายนะทันที    
            ข้อดีและข้อเสีย ซึ่งข้อดีคือ เพิ่มรายได้ให้กับประชาชน ลดภาระค่าใช้จ่าย เพื่อให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แต่ในทางกลับกันหลายนโยบายใช้เงินจำนวนหลายหมื่นล้านบาท ซึ่งห่วงว่าหากสภาพคล่องทางการเงิน และเงินคงคลังมีไม่เพียงพอก็อาจจะส่งผลให้เกิดเงินเฟ้ออย่างรุนแรง รวมถึงปัญหาเศรษฐกิจในระยะยาวได้

            ผลเสียต่อเศรษฐกิจของนโยบายแบบประชานิยมจะมีอยู่สามด้าน ด้านแรก ก็คือผลต่ออัตราเงินเฟ้อ จากการเร่งการใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ถ้าภาคการผลิตในประเทศปรับตัวและขยายการผลิตไม่ทัน การนำเข้าก็จะสูงขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการสินค้าที่เพิ่มขึ้น ซึ่งก็อาจทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล ถ้าการขาดดุลมีมากและต่อเนื่อง ก็สามารถสร้างปัญหาดุลชำระเงินให้กับประเทศได้
            ผลเสียด้านที่สอง ก็คือฐานะการคลังของภาครัฐเองที่จะอ่อนแอ หนี้ภาครัฐจะมีมากขึ้นจากการกู้ยืม เพื่อชดเชยการเพิ่มการใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ถ้าไม่กู้ ทางการก็ต้องลดรายจ่ายประเภทอื่นแทน
            ผลเสียด้านที่สาม ก็คือผลที่จะมีต่อสถาบันการเงินของภาครัฐ จากการปล่อยสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำ ที่มาตรฐานการปล่อยสินเชื่ออาจไม่รัดกุมพอ ทำให้สถาบันการเงินที่ปล่อยกู้มีหนี้เสียมากขึ้น จนกระทบเงินกองทุน และกระทบความสามารถในการทำธุรกิจของสถาบันการเงินนั้น ในกรณีที่ปัญหาหนี้เสียมีมากและกว้างขวาง ก็อาจเป็นความเสี่ยงต่อเสถียรภาพของระบบการเงินได้
            ผลเสียทั้งสาม ด้านนี้ ถ้าเกิดขึ้นต่อเนื่องและสะสม จะเป็นจุดอ่อน หรือจุดเปราะบางของระบบเศรษฐกิจ หลายประเทศ ปัจจุบัน ปัญหาอย่างของกรีก ก็มาจากการเพิ่มการใช้จ่ายของภาคการคลังที่ขาดวินัย จนประเทศมี หนี้สาธารณะสูง และรัฐบาลไม่สามารถชำระคืนหนี้ได้ จนต้องขอรับความช่วยเหลือจากภายนอก และวิกฤตเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกาที่ปะทุขึ้นเมื่อสามปีก่อน ก็มีสาเหตุมาจากการปล่อยสินเชื่อที่ หละหลวม จนทำให้ภาคสถาบันการเงินมีปัญหา
            ดังนั้น นโยบายแบบประชานิยมที่ดูดีระยะสั้น แต่มีผลเสียต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจระยะยาว จึงเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง แต่นักวิชาการหลายคนก็สนับสนุนให้ทำ เพราะมองว่าเป็นการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำที่มีอยู่ เป็นการทำนโยบายในระบอบประชาธิปไตยตามความต้องการของประชาชน หรือตามนโยบายที่ให้ไว้กับประชาชนตอน หาเสียง ความเห็นแบบนี้ก็สะท้อนการ มองแบบนักการเมืองที่มองเฉพาะผลที่จะได้ระยะสั้น ตามประชานิยมที่ดูดีระยะสั้น ดูดีในระดับจุลภาค แต่ไม่ได้ดูในแง่ความเสียหายระดับมหภาค และความเสียหายระยะยาว
            ดัง นั้น ถ้าจะทำให้ประชาชนอยู่ดีกินดีจริง ๆ ต้องทำให้ประชาชนอยู่ดีกินดีได้ต่อเนื่อง ผลแบบนี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อนโยบายเศรษฐกิจสร้างความเข้มแข็งให้กับ เศรษฐกิจในระดับมหภาค ทำให้ประชาชนมีรายได้ มีงานทำ มีโอกาส ที่จะยกฐานะความเป็นอยู่ของตัวเองให้ ดีขึ้นได้ ถ้าเศรษฐกิจเข้มแข็งแบบนี้ ความเป็นอยู่ของประชาชนก็จะดีขึ้นตาม ไปด้วย
            ผลดีและผลเสีย  ผลดีจะเห็นได้ว่าโครงสร้างของประเทศไทยเกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำทางรายได้ โดยเฉพาะชนชั้นล่าง มีช่องว่างระหว่างชนชั้นบนถึง 12 เท่า นโยบายตรงนี้อาจช่วยบรรเทาได้เท่านั้น แต่ไม่ได้แก้ปัญหา เป็นเพียงทำให้คนชั้นล่างลำบากน้อยลง ก็เท่านั้นเอง                แต่ในแง่ที่ต้องระวัง คือการดำเนินการนโยบายในลักษณะเช่นนี้ จะกระทบต่อระบบเสถียรภาพทางเศรษฐกิจจากระยะกลางไปจนถึงระยะยาว  ต้องยอมรับว่าแนวโน้มขณะนี้จนถึงแนวโน้มข้างหน้า อัตราเงินเฟ้อจะสูงขึ้นแน่นอน
               ถ้ารัฐบาลจะทำนโยบายประชานิยม  รัฐบาลต้องกล้าตัดสินใจทางการเมือง โดยเฉพาะการเพิ่มฐานภาษีมรดกและภาษีที่ดิน ถามว่ารัฐบาลกล้าทำตรงนี้หรือไม่
               ที่ผ่านมารัฐบาลบอกจะทำ แต่ยังไม่มีความชัดเจน หรือถ้าทำแล้วมีขอบเขตแค่ไหน หรือถ้าคิดแล้วที่จะทำก็ไม่ควรผลักภาระไปยังรัฐบาลชุดใหม่  ปฏิเสธ ไม่ได้ว่าการออกนโยบายเช่นนี้เป็นการหาเสียงตามที่มีการวิพากษ์วิจารณ์กัน ทางที่ดีรัฐบาลควรแก้ปัญหาในระยะยาวดีกว่า โดยเฉพาะการเพิ่มศักยภาพในการจัดการ เพิ่มศักยภาพในการผลิต รวมถึงการแข่งขันในตลาดโลก
              ที่สำคัญการจัดการ การเบิกจ่าย เงินตรงนี้ต้องโปร่งใส อย่าให้รั่วไหล โดยเฉพาะนักการเมืองที่มีส่วนสัมพันธ์กับงบประมาณ เพราะถ้าทำได้จะเป็นสิ่งที่ถาวร  สิ่งที่ควรปรับปรุงที่เห็นชัดสุด คือมาตรการ การใช้รถเมล์ฟรี ควรกำหนดเป็นระยะยาวไปเลยว่าผู้สูงอายุ และเด็กที่เรียนหนังสือ ควรใช้รถเมล์ฟรีไปเลย เพราะบางคนเขาก็ไม่จำเป็นที่จะใช้  ไม่ใช่นำนโยบายนี้มามอมเมาเพียงชั่วครั้งชั่วคราว
                 ฝากถึงรัฐบาลว่าการใช้นโยบายประชาวิวัฒน์ มันก็เหมือนกับประชานิยม ถ้าเจตนาดีต้องการให้ประชาชนอยู่ดีมีสุข เป็นสิ่งที่ควรต้องทำ
  ที่สำคัญการใช้ประชานิยมที่ว่านี้ รัฐบาลควรใช้อย่างมีขอบเขต เพราะถ้าใช้พร่ำเพรื่อ ชนิดหว่านไป อาจมองได้ว่าเป็นเพียงยาเสพติด มอมเมาชั่วคราว   ควรทำแบบต่อยอด ให้ประชาชนคิดเอง ทำเอง สร้างงาน สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ในระยะยาว

นโยบายพรรคประชาธิปัตย์

            ครอบ ครัวต้องเดินหน้า เพิ่มรายได้และลดรายจ่ายด้วยการมอบเบี้ยยังชีพให้แก่ผู้สูงอายุทุกคน มีไฟฟ้าฟรีให้ผู้ที่ใช้น้อย ตรึงราคาน้ำมันดีเซลและก๊าซหุงต้ม เพิ่มเงินกู้ยืมดอกเบี้ยต่ำเพื่อการศึกษา

            และจัดการปัญหายาเสพติดอย่างเด็ดขาด เศรษฐกิจต้องเดินหน้ายกระดับความเป็นอยู่ด้วยการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เพิ่มเงินกำไรในการประกันรายได้เกษตรกร ปรับโครงสร้างหนี้นอกระบบ ให้เกษตรกรมีที่ทำกิน

            และมีบำเหน็จบำนาญให้ประชาชนทุกคน ประเทศต้องเดินหน้า พัฒนาศักยภาพของประเทศด้วยการเร่งจัดหาพลังงานทดแทน สร้างเขตเศรษฐกิจเพื่อยกระดับสินค้า มีรถไฟความเร็วสูงเชื่อมโยงกรุงเทพฯและภูมิภาค และจัดหาแหล่งน้ำ


นโยบายพรรคเพื่อไทย


            สาน ต่อนโยบายแก้ความยากจน ยาเสพติด ทุจริตคอร์รัปชั่น เดินหน้านโยบายใหม่ : ก้าวข้ามวิกฤตสู่สังคมสันติสุข : รับจำนำข้าวและออกบัตรเครดิตเกษตรกร : กองทุนตั้งตัวได้ คืนภาษีบ้านหลังแรก/รถคันแรก :

            พัฒนาโครงข่ายระบบราง : เพิ่มเงินเดือนปริญญาตรี/ค่าแรงขั้นต่ำ : ปรับปรุงคุณภาพการศึกษาไทย-คอมพิวเตอร์ฟรี-อินเตอร์เน็ตฟรีในที่สาธารณะ- เพิ่มกองทุน-
1 อำเภอ 1 ทุน ต่างประเทศ :

            สร้างเมกะโปรเจ็คต์กระตุ้นเศรษฐกิจ-ป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพฯ/ภาคกลาง-พัฒนา ระบบน้ำทั้งประเทศ-สะพานเชื่อมเศรษฐกิจภาคใต้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น